(0)
สุดยอด! ตำนานพระกรุกรุงเก่า หลวงพ่อโต กรุวัดตะไกร เนื้อดิน จ.พระนครศรีอยุธยา สุดยอดแห่งความหายาก เนื้อผ่านดำ สวยๆ + บัตรรับรอง GPra







ชื่อพระเครื่องสุดยอด! ตำนานพระกรุกรุงเก่า หลวงพ่อโต กรุวัดตะไกร เนื้อดิน จ.พระนครศรีอยุธยา สุดยอดแห่งความหายาก เนื้อผ่านดำ สวยๆ + บัตรรับรอง GPra
รายละเอียดตำนานพระกรุ หลวงพ่อโต กรุวัดตะไกร เนื้อดิน จ.พระนครศรีอยุธยา สุดยอดแห่งความหายาก สวยๆ + บัตรรับรอง GPra
องค์นี้หายากมากๆ สวยดูง่ายสบายตา ใต้ฐานมีรูหญ้าคาเสียบ กรุเก่าแท้จริง เนื้อจัด หายากมากๆครับโดยเฉพาะพิมพ์หลวงพ่อโตนี้
พระเครื่องที่พบแตกกรุมานี้มีทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน เนื้อชินสนิมแดง แต่ที่ได้พบเห็นกันและนิยมโดยทั่วไปอย่างแพร่หลายได้แก่ พระเนื้อดิน และ เนื้อชิน น่าบูชาและสะสมครับ

พระกรุวัดตะไกร เป็นพระที่มีชื่อเสียงเลื่องลือกันมานาน ถึงพุทธคุณที่โดดเด่นทางด้านคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดได้อย่างวิเศษ วัดตะไกรปัจจุบันเป็นวัดร้าง สร้างตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองสระบัว อำเภอพระนคร ศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรี อยุธยา ซึ่งอยู่บริเวณนอกคูเมือง ออกไปไม่ไกลนัก ชาวบ้านเรียกขานกันว่า "วัดตะไกร" มาตั้งแต่เดิมแล้ว



การขุดค้นพบพระกรุวัดตะไกรนั้น เมื่อประมาณหกสิบกว่าปีก่อน เป็นช่วงที่มีการลักลอบขุดกรุสมบัติต่างๆ ตามบรรดาซากปรักหักพังของพระเจดีย์ต่างๆ ในพระนคร ศรีอยุธยากันมาก โดยครั้งแรกๆ ก็ตั้งใจจะหาทรัพย์สมบัติกันมากกว่าพระเครื่อง เมื่อพบพระเครื่องเข้าก็ขนเอามาให้เช่ากันในตลาด วัดตะไกรเป็นวัดร้างมานมนานแล้ว ก็มีพวกลักลอบเข้ามาขุด และพบพระเครื่องของวัดตะไกรเป็นจำนวนมาก ครั้งแรกๆ พบพระวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑและพิมพ์หน้ามงคล กับพระพิมพ์หลวง พ่อโต พระที่พบจะเป็นพระเนื้อดินเผาเป็นส่วนมาก และพบที่เป็นเนื้อชินก็มีบ้าง ปรากฏว่าผู้ที่เช่าพระวัดตะไกรติดตัวต่างก็มีประสบการณ์กันมากในด้านอยู่ยงคงกระพัน จนลือกัน ไปทั่ว ทำให้บรรดานักขุดต่างก็แห่กันไป ขุดพระที่กรุวัดตะไกรกันมาก
พระกรุวัดตะไกรนี้ บางองค์จะมีการลงรักปิดทองไว้ด้วย เข้าใจว่าน่าจะเป็นพระคะแนนไว้นับจำนวนพระที่สร้างทั้งหมด
พุทธคุณนั้นเด่นดังทางด้านอยู่ยงคงกระพัน และแคล้วคลาด ขนาด หลวงพ่อกลั่น ยังออกปากชม และท่านได้บอกว่าเคยเห็นมากับตา พิมพ์ที่มี พิมพ์หน้าครุฑ ลองลงมาก็พิมพ์หน้ามงคล พิมพ์หลวงพ่อโต และพิมพ์หน้าฤๅษี เนื้อที่มีก็คือเนื้อดินเผา ลองลงมาก็เนื้อชินและส่วนมากที่พบเป็นเนื้อชินจะเป็นพิมพ์หน้ามงคลเป็นส่วนมากและพบน้อยกว่าเนื้อดินเผาครับ พระวัดตะไกรนิยมกันมาแต่โบราณเลยทีเดียว
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน10,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 17 เม.ย. 2561 - 11:35:08 น.
วันปิดประมูล - 18 เม.ย. 2561 - 19:24:38 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmidori (5.7K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 17 เม.ย. 2561 - 11:35:26 น.



เลี่ยมตลับแบบพุกอย่างดี พร้อมแขวนบูชาอารธนาพกติดตัวครับ..
พบน้อยหายากครับ!!!!
พุทธคุณนั้นนอกจากจะเด่นในทางแคล้วคลาด เสริมยศศักดิ์ ป้องกันเขี้ยวงาแล้วยังดีทางเมตตามหานิยมสูงอีกด้วย
โดยสรุป...พระวัดตะไกร จัดว่าเป็นพระเนื้อดินยอดนิยมของจังหวัดอยุธยา แตกกรุมาจากเจดีย์ที่เก่าแก่ทรุดโทรม โดยพวกคนร้ายนักขุดค้นหาสมบัติจากวัดตะไกรที่ร้างมาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และกลายเป็นป่ารกครึ้ม

เล่ากันว่าชาวบ้านเจอพระเนื้อดินวัดตะไกรนี้มาราว 100 ปีกว่า แต่ไม่มีผู้ใดสนใจ กระทั่งพบแตกกรุออกมาครั้งแรก เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2470 หลังจากนั้นก็พบทยอยขึ้นจากกรุเรื่อยมา กระทั่งมาในยุคสงครามโลกครั้งที่สองจึงได้มีการนำมาขึ้นคอเพราะกลัวภัยสงคราม จากนั้นกลายเป็นความต้องการของนักสะสมพระเครื่องจึงเริ่มมีราคาขึ้นมา


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 17 เม.ย. 2561 - 11:35:45 น.



***หายากกว่ากรุ บางกระทิงเยอะครับ ด้วยจำนวนที่ขึ้นจากกรุน้อยมาก จึงเป็นที่ใฝ่ปองของนักเลงกรุงเก่ามาช้านาน องค์นี้สภาพเดิม ๆ ไม่มีอุดซ่อมครับ***


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 17 เม.ย. 2561 - 11:36:01 น.



บัตรรับรอง GPra เก็บสบายใจไม่ต้องลุ้นครับ
หลวงพ่อโต กรุวัดตะไกร
องค์นี้หายากมากๆ นานๆจะได้พบเห็น และส่วนใหญ่ หลวงพ่อโตกรุวัดตะไกรนี้ มีราคาสูง เนื่องจากหายาก ครับ
หลวงพ่อโต วัดตะไกร" อยุธยา นั่นเอง จะหายากกว่าที่แตกกรุจากวัดบางกระทิงมาก พระวัดตะไกรนั้นศิลปะจะคล้ายๆกรุบางกระทิง แต่จะมีรอยเสียบหญ้าคา และ หน้าตาจะออกดุๆกว่า คล้ายๆหน้ายักษ์ครับ เป็นพระลพโตเมืองอยุธยา ที่ราคาแพงที่สุดของเมืองนี้


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 17 เม.ย. 2561 - 11:36:29 น.



พระกรุวัดตะไกร เป็นพระกรุเก่าแก่อีกหนึ่งพิมพ์ของเมืองกรุงเก่า หรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่นิยมสะสมอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสม พระเครื่องพระบูชามาแต่โบราณ โดดเด่นมาพร้อมกับ "พระกริ่งคลองตะเคียน" โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าหาดูของแท้ๆ กันค่อนข้างยากเช่นกัน

วัดตะไกร ตั้งอยู่ที่คลองสระบัว อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นวัดร้าง ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง แม้แต่ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าก็ไม่พบชื่อวัด มีเพียงสิ่งก่อสร้างที่หลงเหลือไว้ เช่น เจดีย์ และพระอุโบสถ ทำให้พอสันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ประมาณในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และคงมีการบูรณะกันเรื่อยมาตามลำดับ ที่ปรากฏชัดคือ ในราวสมัยพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากปรากฏพระปรางค์ร้างอยู่องค์หนึ่งเป็นพุทธศิลปะในสมัยพระเจ้าปราสาททอง

การค้นพบพระกรุวัดตะไกรนั้น เล่ากันว่า ชาวบ้านได้พบเจอพระเนื้อดินที่วัดตะไกรมาราว 100 ปีกว่าแล้ว แต่ไม่มีผู้ใดสนใจ กระทั่งมีการแตกกรุครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2470 หลังจากนั้นก็พบทยอยขึ้นจากกรุเรื่อยมาพระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดินเผา ต่อมาปรากฏว่า ผู้ที่บูชา พระติดตัวต่างมีประสบการณ์กันโดยถ้วนทั่วในด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด จึงต่างนำมาบูชาขึ้นคอ จากนั้นมาผู้คนจึงเริ่มแสวงหาและกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบมาถึงปัจจุบัน

พระกรุวัดตะไกร ที่พบมีทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน และเนื้อชินสนิมแดง แต่เนื้อชินและเนื้อชินสนิมแดงมีจำนวนน้อยมาก "พระเนื้อดิน" จึงเป็นที่นิยมมากกว่า องค์พระบางองค์ยังปรากฏมีการลงรักปิดทองมาจากกรุก็มี

พระกรุวัดตะไกร มีพุทธลักษณะองค์ พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย องค์ที่ติดชัด พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ นอกจากนี้ เส้นสังฆาฏิยังปรากฏชัดเจน

พุทธลักษณะโดยรวมของพระกรุวัดตะไกรจะคล้ายคลึงกันทุกองค์ แต่เพียงในส่วนพระพักตร์ที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้เกิดการแบ่งแยกออกเป็นพิมพ์ย่อยได้ทั้งหมด 3 พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าครุฑ, พิมพ์หน้าฤๅษี และพิมพ์หน้ามงคล โดย "พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ" ถือเป็นพิมพ์นิยม ด้วยเชื่อกันว่า นอกจากจะอยู่ยงคงกระพันแล้ว ยังสามารถป้องกันงูเงี้ยวเขี้ยวขอได้อีกด้วย

พระกรุวัดตะไกร เนื้อดินเผา จะมีเอกลักษณ์เฉพาะสำคัญ คือ ที่ใต้ฐานจะมีรูรอยไม้เสียบทุกองค์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการใช้ไม้เสียบเพื่อนำองค์พระออกจากแม่พิมพ์ แต่สำหรับพระเนื้อชินและเนื้อชินสนิมแดงจะไม่มีรูดังกล่าว จุดสังเกตที่ใช้ในการพิจารณา มีดังนี้

- รูใต้ฐานขององค์พระจะมีรูปร่างไม่แน่นอน

- ขอบหรือปีกขององค์พระค่อนข้างบาง ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ จะสังเกตได้ว่าองค์พระที่พบเห็นส่วนใหญ่มักขอบบิ่น

- ด้านหลังจะมีรอยนิ้วมือจากการกดพิมพ์พระ

นอกจากนี้ ให้พิจารณาความเก่าของเนื้อองค์พระของพระกรุเก่า และสีสันวรรณะจากการเผาตามหลักการพิจารณาพระเนื้อดินเผาทั่วไป

สำหรับ พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ ซึ่งเป็นพิมพ์นิยมนั้น มีจุดตำหนิเพิ่มเติมดังนี้

- พระกรรณข้างขวาขององค์พระเป็นเส้นใหญ่หนา

- ปลายสังฆาฏิด้านล่างมีเส้นน้ำตก

- เหนือพระหัตถ์ซ้ายจะมีเนื้อนูนเป็นเส้นวิ่งขนานกับพระหัตถ์

- ชายจีวรบริเวณพระอุระมีเส้นขนาน

- บริเวณพระเพลาของบางองค์ปรากฏรอยเขยื้อนของพิมพ์

พระกรุวัดตะไกร นับเป็นพระกรุเก่าที่เป็นที่เลื่องลือมาแต่โบร่ำโบราณว่าเป็นเลิศยิ่งนักในด้านแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี นอกจากนี้ยังช่วยเสริมยศศักดิ์ ป้องกันเขี้ยวงา และเมตตามหานิยม

ปัจจุบันแทบไม่ค่อยพบเจอพระแท้ เพราะผู้บูชาต่างเก็บไว้สืบทอดสู่ลูกหลานครับผม

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 17 เม.ย. 2561 - 11:36:48 น.



พบน้อยหายากครับ!!!!
พุทธคุณนั้นนอกจากจะเด่นในทางแคล้วคลาด เสริมยศศักดิ์ ป้องกันเขี้ยวงาแล้วยังดีทางเมตตามหานิยมสูงอีกด้วย
โดยสรุป...พระวัดตะไกร จัดว่าเป็นพระเนื้อดินยอดนิยมของจังหวัดอยุธยา แตกกรุมาจากเจดีย์ที่เก่าแก่ทรุดโทรม โดยพวกคนร้ายนักขุดค้นหาสมบัติจากวัดตะไกรที่ร้างมาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และกลายเป็นป่ารกครึ้ม

เล่ากันว่าชาวบ้านเจอพระเนื้อดินวัดตะไกรนี้มาราว 100 ปีกว่า แต่ไม่มีผู้ใดสนใจ กระทั่งพบแตกกรุออกมาครั้งแรก เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2470 หลังจากนั้นก็พบทยอยขึ้นจากกรุเรื่อยมา กระทั่งมาในยุคสงครามโลกครั้งที่สองจึงได้มีการนำมาขึ้นคอเพราะกลัวภัยสงคราม จากนั้นกลายเป็นความต้องการของนักสะสมพระเครื่องจึงเริ่มมีราคาขึ้นมา

***หายากกว่าบางกระทิงเยอะครับ ด้วยจำนวนที่ขึ้นจากกรุน้อย จึงเป็นที่ไฝ่ปองของนักเลงกรุงเก่ามาช้านาน องค์นี้สภาพเดิม ๆ ไม่มีอุดซ่อมครับ***


 
ราคาปัจจุบัน :     10,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    shogun (1.1K)

 

Copyright ©G-PRA.COM