(0)
เต่าเรือนเลี่ยมเก่า ครูบาวงศ์






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเต่าเรือนเลี่ยมเก่า ครูบาวงศ์
รายละเอียดเต่าเรือนเก่าเลี่ยมเดิม พุทธคุณเมตตา คุ้มครองเยี่ยม
พญาเต่าเลือน (พญาเต่าเรือน) ดีทางเมตตามหานิยม โชคลาภ

เมื่อพูดถึงเครื่องรางที่คนไทยเรารู้จักกันมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายาย ซึ่งมีหลายประเภท บางอย่างก็มีมานานแล้วแต่บางอย่างก็เพิ่งจะเกิดขึ้นตามสถานที่ต่าง ๆ จะสังเกตได้ว่าเมื่อมีสิ่งแปลกประหลาดผิดจากธรรมชาติปรากฎขึ้นที่ใด จะมีผู้คนหลั่งไหลไปกราบไว้บูขาขอโชคขอลาภกันอย่างงมงาย ไม่ว่าสถานที่นั้นจะใกล้หรือไกลแค่ไหนก็จะดั้นด้น ไปจนถึงไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นต้นไม้หรือก้อนหินกระทั่งสัตว์ คนเราก็กราบไหว้เพราะอะไรหรือ ก็เพราะมันเป็นสิ่งที่พึ่งอันสุดท้าย

เครื่องรางของขลัง ที่เรียกกันว่า “พญาเต่าเลือน” แห่งโชคลาภ ดังนั้นคนไทยจึงนิยมนับถือสัตว์หลายชนิด ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์สมัยเมื่อเป็นพระโพธิสัตว์เสวยชาติต่าง ๆ เช่น ช้าง (พญาฉัททันต์) นกคุ่ม (ลูกนกคุ่ม) นกยูง (พญานกยูงทอง) เต่าหรือพญาเต่าเลือนอันกลายมาเป็นเครื่องรางชนิดหนึ่งของคนไทย แม้กระทั่งคนจีนก็ยังถือว่าเต่าเป็นสัตว์นำโชคลาภและสัตว์ที่มีอายุยืนยาวจะไม่นิยมกินเป็นอาหารเพราะถือว่าเป็นการบั่นทอนอายุของตนเอง เต่านี่เแหละครับยังถูกนำมาเป็นหมอดู เรียกกันว่า “หมอดูเต่าทอง”

แต่สำหรับคนไทยนั้นเชื่อกันว่าเต่าเลือน คือ พระโพธิสัตว์ผู้ช่วยมนุษย์ให้รอดจากอันตราย ซึ่งมีปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกตอนหนึ่งว่า “ครั้งนั้นสมเด็จพระทศพลเสวยพระชาติเป็นพญาเต่า มีร่ายกายอันใหญ่โตกินแต่ใบไม้และพลาหารต่าง ๆ บนยอดเขาบนเกาะร้างกลางทะเลและร่างกายของพระองค์ใหญ่เท่ากับเรือนหลังใหญ่ ๆ เรียกกันว่า เต่าเรือน ท่านเสวยสุขอยู่จนกระทั่งวันหนึ่งมีสำเภาของพ่อค้ามาอับปางลงที่หน้าเกาะ ส่วนลูกเรือและพ่อค้ารอดชีวิต จากความตายในทะเลได้แต่ก็ต้องมาผจญกับความอดยาก เพราะบนเกาะไม่มีอาหารการกินแม้แต่สัตว์ใด ๆ ก็ไม่มียกเว้นพญาเต่าเรือน จึงได้แต่นอนรอคอยความตาย บ้างก็ร่ำ ๆ จะเข้ากินกันเป็นอาหาร

ดังนั้นพระโพธิสัตว์เจ้าเห็นพ่อค้าและลูกเรือทั้งหลายจะพากันมาอดตายกันหมดก็เกิดความสลดใจและเห็นว่าตัวเราก็มีเนื้อมาก อีกทั้งอายุก็มากแล้วหากต้องตายไปตามอายุร่างกายก็จะเน่าเปื่อยหาประโยชน์ไม่ได้ ซึ่งชีวิตนั้นก็เกิดแก่เจ็บตายก็เลยอธิฐานเอาร่างกายตนเป็นทานจึงคลานมาที่หน้าผาแล้วทิ้งตัวลงไปทำให้กระดองกระแทกกับแง่หินแตกกระจาย เนื้อก็ไหลออกมากองอยู่ที่พื้นเบื้องล่าง และทำให้พ่อค้ากับลูกเรือทั้งหลายได้อาศัยเนื้อเต่ากินเป็นอาหาร จึงรอดตาย จนกระทั่งมีเรือผ่านมารับไปและจากการกระทำของพระโพธิสัตว์ในการอุทิศร่างโดยการเลื่อนลงมาจากหน้าผานั้นเลยเรียกกันว่า “พญาเต่าเลือน”

คำว่า “เต่าเรือน” จึงเป็นนามของพระโพธิสัตวืที่มีรูปร่างใหญ่และคำว่า “เต่าเลื่อน” จึงเป็นนามของพระโพธิสัตว์ขณะเลื่อนตัวเองลงมาจนกระดองแตกถึงแก่ความตายเพื่อเอาเนื้อเป็นทาน มิใช่เต่าเลือนที่เลอะเลือนจนมองไม่เห็นชัดเหมือนกับที่เขามั่วกันส่งเดชอยู่ในเวลานี้ ส่วนเต่าเลือนนั้นเป็นชื่อยันต์ที่ผูกขึ้นเป็นรูปเต่าเพื่อใช้ในการทำการสู้คดีความที่เป็นอยู่ให้หายไป มิใช่นามของพระโพธิสัตว์ก็หาไม่ และการทำยันต์เต่าเลือนนั้น เขาจะใช้การลบผงยันต์เต่าเรือนโดยซักยันต์คำว่า “นาสังสิโม” อันเป็นหัวใจเต่าเรือนแล้วลบเอาผงมาใช้ในการปั้นรูปเต่าแล้วเอาชื่อของคู่คดีที่มาให้ทำเขียนใส่กระดาษมายัดเข้าไปในอกเต่าแล้วปิดทับให้สนิท เมื่อปลุกเสกแล้วเอาไปฝังดินเอาอิฐทับ และกล่าวกันว่าคดีความนั้นฝ่ายโจทย์จะให้การขัดแย้งกันเอง จนเลอะเลือนจับต้นชนปลายไม่ถูกกับแพ้คดีไปในที่สุด การทำต้องทำให้กับผู้ที่ไม่มีความผิดแต่กลับถูกใส่ร้ายป้ายความผิดเท่านั้น หากทำให้กับฝ่ายผู้ผิดเป็นการละเมิดครูผู้ที่ทำจะวิบัติต่าง ๆ จึงไม่ค่อยมีใครกล้ากระทำให้ผู้ผิดยกเว้นจำพวกที่เป็นแก่ได้หรือมีความโลภซึ่งผลจากการกระทำก็ลงเอยด้วยคือ ความพินาศนั่นเอง

สำหรับพระเกจิอาจารย์ทั่วไปนั้นท่านได้ผูกยันต์เต่าเรือนไว้เพื่อเป็นเครื่องรางสำหรับป้องกันตัวให้แคล้วคลาดจากภัยอันตราย โดยผูกเป็นยันต์รูปเต่ามีหัวมีหางบรรจะอักขระจากหัวว่า “นา” แล้วมาทางไหล่ว่า “สัง” และมาตรงปลายกระดองหลังว่า “สิ” ส่วนหางเรียกว่า “โม” รวมเป็นสี่คำ บางท่านก็ผูกยันต์เป็นกระดองด้วยลวดลายเป็นตาตารางแล้วบรรจุลงด้วยหัวใจเต่าเรือนที่คำสลับไปมาเรียกว่า เดินหน้าถอยหลังแล้วปลุกเสกกำกับเอาติดตัวไปไหนมาไหนไม่ต้องกลัวอันตราย จะทำการค้าขายก็ใช้ได้ผลดี

ของดีตามธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งให้กับท่านผู้อ่านนั่นก็คือ “เต่าคงกระพัน” หรือเต่าตายซาก (ไม่ใช่เต่าที่เอาไปฆ่าแล้วฝังเหลือแต่ซากนะครับ อันนั้นมันบาปกรรมนะจะบอกให้) ผมขอเข้าเรื่องต่อนะ อันเต่านี้เวลาจะตายแล้วเนื้อหนังของมันไม่เน่ากลับจะแห้งกรอบคงรูป มันจะไปตายซุกตายซ่อนอยู่ในป่าหรือตามโพรงไม้ หากท่านผู้อ่านไปพบเห็นเข้าที่ไหน จงเอาไปเก็บไว้ที่บ้าน แต่ก่อนจะเอาไปไว้ให้พลีเสียก่อน การพลีก็ไม่มีอะไรมาก เพียงเด็ดดอกไม้อะไรก็ได้ที่อยู่แถวนั้น (อย่าเอาดอกไม้ที่ไม่พึงประสงค์ล่ะ) เอามาบูชาเต่าแล้วก็พูดเองเออเองว่า “พ่อเต่าทอง แม่เต่าเงิน ขออัญเชิญไปกับตัวข้า มามะแม่มามามะพ่อมา มาอยู่กับข้าเถอะเอย” แล้วก็เออเองว่า “จ๊ะ! ฉันจะไปอยู่ด้วย จะทำให้รวยดังใจ”

หลังจากที่ได้เต่ามาแล้วก็เอามาเช็ดล้างให้สะอาด เอาของหอมประพรมแล้วก็เอาไปให้พระเกจิอาจารย์ที่ท่าน พอมีความรู้ทางด้านคาถาอาคมให้ท่านลงอักขระหัวใจเต่าเลือนว่า “นาสังสิโม” ที่อกเต่า แล้วปลุกเสกกำกับและพรมน้ำมนต์แล้วเจิมให้ เมื่อเสร็จพิธีจึงนำกลับมาเข้าที่บูชา แล้วก็ให้หาภาชนะปากกว้างไม่ต้องลึกมาก เอาน้ำเติมลงไป แล้วเอาเสาหินจำลองหรือเสาที่เป็นแก้วหรือวัสดุใดก็ได้มาวางไว้ตรงกลางให้พ้นผิวน้ำแล้วค่อย ๆ บรรจงเอาเต่ามาวางไว้ข้างบนวัสดุให้มั่นคงและหมั่นบูชาด้วยดอกมะลิลอยลงไปในน้ำแล้วอย่าปล่อยให้น้ำเหม็นสกปรก เมื่อน้ำพร่องก็หมั่นเติมอย่าให้แห้งเหือดไปได้ถือกันว่า ถ้าน้ำแห้งลาภก็จะแห้งตามไปด้วยแหละครับ เท่าที่ได้เคยสอบถามผู้ที่บูชา
เต่าอย่างถูกวิธีมักจะมีผลในด้านโชคลาภ และเป็นศิริมงคลแทบจะทุกราย

มาถึงเครื่องรางของขลังที่เป็นรูปเต่ากันบ้าง โดยมากพระเกจิอาจารย์ท่านจะสร้างเครื่องรางเป็นรูปเต่า แต่เดิมมาใช้ไม้ชัยพฤกษมาแกะเป็นรูปเต่า แล้วลงอักขระที่ท้องลงรักปิดทองเรียกว่า “เต่าทอง” บ้างก็ทำด้วยเนื้อผงคลุกรัก บ้างก็ใช้ตะกั่วหรืองาแกะหรือสัมฤทธิ์หล่อหลอมแล้วเทลงไปแบบแม่พิมพ์เป็นรูปเต่าต่าง ๆ แล้วแต่จะสรรค์สร้าง
มาเอง ทว่าต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นการปั๊มด้วยแผ่นทองแดง, นวโลหะเป็นเหรียญเต่าก็ใช้ได้ดุจเดียวกัน

แต่ที่นครนายกนั้นมาแปลกกว่าที่อื่น ๆ กล่าวคือหลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย จังหวัดนครนายก ท่านสร้างเต่าของท่านด้วยหินโดยใช้ให้ช่างแกะเป็นรูปเต่าอย่างสวยงามมีหลายขนาด มีที่บรรจุสำหรับวางเต่าและมีน้ำล้อมรอบอย่างดี และของขลังดีไม่น้อยขนาดเล็กสามารถพกติดตัวก็มี สำหรับเต่าสำนักนี้หลวงพ่อท่านสำเร็จวิชาในด้านนี้มา
จากเขมรโน่น ขอผ่านมาถึงหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเต่า ท่านก็เคยสร้างเต่าถวายสมเด็จเตี่ย (พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์) และยังมีอีกหลายสำนักที่สร้างเต่าในรูปแบบแตกต่างกันออกไป

ถ้าพูดถึงในยุคปัจจุบันก็มีวัดสนามแย้เรียกว่า “เหรียญเต่า” หรือ “เหรียญเต่าหลวงปู่เลี้ยง” วัดบ้านหมี่และหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรียกว่า “พญาเต่าเลือน” เป็นต้น

เต่าเรือนหรือเต่าเลือนนั้นเป็นของขลังอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ได้ครบทุกทางสมควรแก่การสะสม หากท่านผู้อ่านไปเห็นแต่โลหะอื่น เช่น เหรียญเต่า เต่าผล เต่าหิน เต่าตายซาก หรือแม้แต่เต่าหับก็จงบูชาเถิดครับ ซึ่งถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง และตามะรรมเนียมขอมอบคาถาพญาเต่าเรือนหรือเต่าเลื่อนให้ไว้กราบไว้บูชา เพราะใช้ทางเมตตา ทางแคล้วคลาดและค้าขายได้ดี

วิธีอาราธนาให้พร้อมคาถาภาวนาหนุนพญาเต่าเรือนทุกชนิด โดยการตั้งนะโมสามจบและสวดบูชาระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ และเจ้าของพญาเต่าเรือนขอบารมีมาช่วยอำนวยพรให้ แคล้วคลาดจากอันตรายจากนั้นมีภาวนาว่า

“นาสังสิโม สิโมนาสัง โมนาสังสิ สังสิโมนา”

เมื่อจะเข้าหาเจ้านายหรือจะให้มีเมตตาลืมความโกรธไปชั่วขณะ ก็ให้อารธนาพญาเต่าเรือน ที่ติดตัวแล้วภาวนาในใจทุกขณะจิต เมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ที่จะติดต่อด้วยให้เพียงหัวใจกลับหน้ากลับหลังว่าดังนี้

“นาสังสิโม สิโมนาสัง ภะคะวาจิตตัง นาสังสิโม”
ราคาเปิดประมูล290 บาท
ราคาปัจจุบัน300 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 27 ม.ค. 2561 - 21:28:57 น.
วันปิดประมูล - 07 ก.พ. 2561 - 15:13:34 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลพญาวัน (504)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     300 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    likit_kumcha (88)

 

Copyright ©G-PRA.COM