(0)
@222฿เหรียญพระพุทธชินสีห์.วัดบวรฯ.กรุงเทพฯปี๒๕๑๖#เนื้อทองแดง#<พิมพ์เล็ก>#พิธีหลวง.ปลุกเสกดีมาก#<สภาพสวย>มาพร้อมบัตรรับรองพระแท้จากเวป(ดี~ดีพระ)อีก1ใบ(เอื้ออนันต์)รับประกันตามกฎเวปทุกอย่างครับ.








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง@222฿เหรียญพระพุทธชินสีห์.วัดบวรฯ.กรุงเทพฯปี๒๕๑๖#เนื้อทองแดง#<พิมพ์เล็ก>#พิธีหลวง.ปลุกเสกดีมาก#<สภาพสวย>มาพร้อมบัตรรับรองพระแท้จากเวป(ดี~ดีพระ)อีก1ใบ(เอื้ออนันต์)รับประกันตามกฎเวปทุกอย่างครับ.
รายละเอียด@222฿เหรียญพระพุทธชินสีห์.วัดบวรฯ.กรุงเทพฯปี๒๕๑๖#เนื้อทองแดง#<พิมพ์เล็ก>#พิธีหลวง.ปลุกเสกดีมาก#<สภาพสวย>มาพร้อมบัตรรับรองพระแท้จากเวป(ดี~ดีพระ)อีก1ใบ(เอื้ออนันต์)รับประกันตามกฎเวปทุกอย่างครับ.
ราคาเปิดประมูล22 บาท
ราคาปัจจุบัน232 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 23 มิ.ย. 2560 - 21:06:08 น.
วันปิดประมูล - 26 มิ.ย. 2560 - 07:25:57 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเอื้ออนันต์ (1.6K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 23 มิ.ย. 2560 - 22:25:08 น.



"พระพุทธชินสีห์" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งในหัวเมืองฝ่ายเหนือที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๔) ทรงเคารพนับถือมาก

ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า สร้างขึ้นโดยพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เจ้านครเชียงแสน ในคราวเดียวกับที่ทรงสร้าง "พระพุทธชินราช" และ "พระศาสดา" เมื่อคราวที่พระองค์เสด็จลงมาตั้งเมืองที่พิษณุโลก

สมัยรัตนโกสินทร์ ในราว พ.ศ.๒๓๗๒ ได้อัญเชิญลงมาประดิษฐาน ณ มุขหลังของพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชและครองวัดบวรฯ จึงทูลขอพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๓) อัญเชิญ "พระพุทธชินสีห์" มาประดิษฐานยังมุขหน้า หน้าพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

ประวัติการจัดสร้างเหรียญพระพุทธชินสีห์นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกและพระราชทานในงานสมโภชพระพุทธชินสีห์ ในวโรกาสที่เสด็จกลับจากยุโรป เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ เป็นเหรียญพระพุทธที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์และหมู่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป

สืบเนื่องด้วยเหรียญนี้สามารถรวบรวมความทรงคุณค่าอันเป็นที่เคารพรักและศรัทธาสูงสุดของคนไทยทั้งประเทศมารวมไว้ได้ถึง ๓ ประการ คือ

๑.เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับการสมโภชองค์ "พระพุทธชินสีห์" ที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย

๒.โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโดย "พระปิยมหาราช" กษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของชาวไทย ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกที่ได้เสด็จเยือนประเทศในทวีปยุโรป

และ ๓.สร้างเมื่อครั้งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนและคนไทยทั่วทั้งประเทศ ครองวัดบวรนิเวศวิหารอยู่

เหรียญพระพุทธชินสีห์มีลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงใบโพธิ์ ไม่มีก้าน ไม่มีรูคล้องเหรียญ ขอบข้างเลื่อย ด้านหน้าปรากฏลายเส้นใบของใบโพธิ์ กึ่งกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธชินสีห์ ใต้ฐานมีอักษรไทยว่า "พระพุทธชินสีห์" ส่วนด้านหลังปรากฏลายเส้นใบ ปลายใบด้านบนเป็น "อุณาโลม" ถัดลงมาเป็นข้อความภาษาไทยว่า "งารสมโภชเมื่อเสดจกลับจากยุโรป ๒๔๔๐"

การจัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ มี ๒ เนื้อ คือ เนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง โดยมีการจัดสร้าง ๒ ลักษณะ คือ ๑.เหรียญกลมไม่ตัดปีก หูเชื่อม มีรูปใบโพธิ์อยู่ตรงกลาง ถ้าเป็นเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ค่านิยมอยูในหลัก ๒-๓ แสนบาท ส่วนเนื้อทองแดงทั่วไปค่านิยมอยู่ในหลักแสนบาท

๒. เหรียญรูปใบโพธิ์ ค่านิยมอยู่ในหลัก ๒-๓ แสนบาท ส่วนการทำปลอมนั้นเหรียญที่ฉลุตามรูปใบโพธิ์มีการปลอมเยอะมาก ส่วนเหรียญกลมยังไม่ปรากฏของปลอม เข้าใจว่าเนื่องจากมีจำนวนการสร้างค่อนข้างน้อย จึงไม่มีของแท้ไปถอดพิมพ์

ส่วนเหรียญพระพุทธอีกเหรียญที่ขึ้นชื่อว่าเก่ารองลงมา คือ เหรียญพระพุทธชินราช หลังแสดงกสิกรรม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ค่านิยมอยู่ในหลักแสนต้นๆ เป็นเหรียญที่สร้างสมัย พระวรญาณมุณี (พร้อม พุทธสรโณ นิลพงศ์ ป.ท.๗) เป็นเจ้าอาวาส (พ.ศ.๒๔๕๓-๒๔๙๑) จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก ในวาระที่จังหวัดจัดงานแสดงกสิกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๖ ตอนต้น

ด้านเหรียญพระสงฆ์ที่ขึ้นชื่อว่าเก่าแก่ที่สุด คือ เหรียญหลวงพ่อแก้ว พรหมสโร หรือพระครูวินัยธรรม เจ้าอาวาสรูปแรก วัดพวงมาลัย ต.บ้านปรก อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม หลวงพ่อแก้ว เป็นพระธุดงค์ที่มีความเชี่ยวชาญหลักสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีคนนับถือมาก เชื่อกันว่าท่านสำเร็จญาณวิเศษ สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ต่างๆ ได้ ชื่อเสียงของท่านเป็นที่เลื่องลือมากในสมัยนั้น ทั้งนี้ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้จัดสร้างเหรียญเป็นรูปของท่านด้วยเนื้อทองแดงเพียงอย่างเดียว ค่านิยมของเหรียญในสภาพที่สวยสมบูรณ์อยู่ในหลักล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในปีเดียวกันนี้ ยังมีอีกวัดหนึ่งใน จ.สมุทรสงคราม จัดสร้างเหรียญเช่นกัน คือ หลวงพ่ออยู่ บุญยฆัง วัดบางน้อย อ.บางคณที จ.สมุทรสงคราม อดีตอมตเถระยุคเก่าผู้เข้มขลังแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง เหรียญนี้สร้างในคราวที่ท่านมีอายุครบ ๗๐ ปี และถือเป็นเหรียญพระคณาจารย์เหรียญแรกที่มีการใช้ศิลปะโดยนำเอาอักขระตัวขอมมาชักยันต์เป็นเส้นสายประทับไว้ที่ด้านหลังเหรียญ
แม้จะเป็นเหรียญที่สร้างในปีเดียวกับเหรียญหลวงพ่อแก้ว แต่ค่านิยมต่างกันมาก กล่าวคือเหรียญหลวงพ่ออยู่ เนื้อเงินราคาหลักแสนบาทเท่านั้น ในขณะที่เหรียญหลวงพ่ออยู่เนื้อทองแดงค่านิยมอยู่ในหลัก ๓-๔ หมื่นบาทเท่านั้น

ประวัติแห่งการสร้างพระพุทธชินสีห์

พระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญพระองค์หนึ่งของหัวเมืองฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นคราวเดียวกันกับพระพุทธชินราช และพระศาสดา ได้ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารด้านเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก มาแต่ต้น

ต่อมาพระวิหารชำรุดทรุดโทรมลง ขาดการปฏิสังขรณ์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒

การสร้างพระพุทธรูปทั้ง ๓ พระองค์ของเมืองพิษณุโลกนั้น มีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อ พ.ศ.๑๕๐๐ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้ จึงทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า เมืองพิษณุโลก ทำนองว่าเป็นเมืองอันพระวิษณุกรรมเสด็จลงมาสร้าง

ครั้นสร้างพระนครเสร็จแล้ว มีพระราชศรัทธาสร้างวัดวาอาราม มีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง แล้วทรงหล่อพระพุทธรูป ๓ องค์ ได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา

พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินราช ณ พระวิหารใหญ่ ทิศตะวันตกของพระมหาธาตุประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ณ พระวิหารใหญ่ทิศตะวันออก ทางทิศเหนือองค์หนึ่ง ทิศใต้องค์หนึ่ง พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา จึงประดิษฐานอยู่ในวิหารเดียวกันตลอดมากว่า ๙๐๐ ปี จนกระทั่งมีการอัญเชิญลงมากรุงเทพฯ ทั้งสององค์ คือ พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 25 มิ.ย. 2560 - 08:07:57 น.



ขอขอบพระคุณทุกเสียงเคาะ.ขอให้รวยยิ่งขึ้นไปอีกสิบเท่าร้อยเท่าพันเท่าครับ.


 
ราคาปัจจุบัน :     232 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    pokpok89 (443)

 

Copyright ©G-PRA.COM