(0)
พระกรุวัดอัมพวา พิมพ์พระคู่ ครับ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกรุวัดอัมพวา พิมพ์พระคู่ ครับ
รายละเอียดพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) นี้ ท่านมีชื่อเสียงมากทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน เชี่ยวชาญด้านสูตรลบผง ตะกรุด เวทม์มนต์ โดยเฉพาะด้านเมตตามหานิยมและ สูตรการทำผง 108 ท่านเรียนมาจากสมเด็จพุฒาจารย์(โต) โดยตรง เล่าสืบกันมาว่า แม้นแต่ หลวงปู่ไข่วัดเชิงเลน ยังเคยไปขอเรียนวิชานี้จากท่าน

โดยในสมัยนั้นท่านมีชื่อเสียง และมี พระคุณเจ้า ต่างๆมาเรียนจากท่าน มากมาย อาทิ เช่น พระเทพเทวี (น่วม ) หลวงปู่ไข่ วัดบพิตรภิมุข (เจ้าของพระปิดตา สุดยอด ชุด เบญจภาคี อันโด่งดัง ) สมัยที่ท่านครองวัดอรุณ ก็มี พระปัญญาคัมภีร์เถระ (ชุ่ม) และพระครูภาวนาวิจารย์ (พระครูลืม ) และแม้นแต่ พระครูโสภณ กัลยาณวัตร ( หลวงพ่อ เส่ง ) วัดกัลยาณมิตร ก็ยังเป็นศิษย์ รุ่นท้ายๆของท่าน ท่านเจ้าคุณ นาค ( พระพิมลธรรม วัดอรุณ ) และหลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม ก็เคยมาเรียนวิชาจากท่าน

ผู้อาวุโสฯ เคยเล่าถ่ายทอดกันมาว่า ในพิธีสร้างพะรเครื่องชุดนี้ ได้นิมนต์ พระเกจิในยุคนั้น มากมายมาร่วมพิธี โดยหลังพิธี ได้บรรจุกรุไว้ในพระเจดีย์ใหญ่หลังอุโบสถ ต่อมาในปี พ.ศ.2484 บ้านเมืองกำลังอยู่ในห้วงสงคราม ทางวัดอัมพวาโดยพระครูแป้น รชโฏ เจ้าอาวาสรูปที่ 6 ของวัด ซึ่งครองวัดอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2456-2501 ได้ทำการเปิดกรุเพื่อนำพระเครื่องแจกจ่ายแก่บรรดาทหาร ตำรวจ และประชาชน

ประวัติของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) กล่าวว่า เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีระกา ตรงกับวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2380 เมื่ออายุได้ 10 ปี บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์พระมหาพลาย เปรียญ 4 ประโยค วัดนาคกลาง ผู้เป็นญาตินับชั้นเป็นลูกผู้พี่ ได้เล่าเรียนพระคัมภีร์ปริยัติธรรมในสำนักพระมหาพลายมาแต่ครั้งนั้น ครั้นอายุได้ 13 ปี โกนจุกแล้วบวชเป็นสามเณร ย้ายไปอยู่วัดราชบุรณะฯ ได้เล่าเรียนในสำนักพระมหาเกษ เปรียญ 4 ประโยคบ้าง ในสำนักนายแก้ว อาจารย์ที่วัดสุทัศน์ฯ บ้าง

พออายุได้ 14 ปี เข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวงวัดพระเชตุพนฯ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ครั้น ครั้งทรงผนวชเสด็จประทับเป็นผู้ไล่การสอบ ทั้งทรงเป็นพระธุระแก่สามเณรฤทธิ์ ด้วยทรงพระเมตตาว่าเป็นสามเณรเล็ก แปลได้ 3 ประโยค ได้รับพระราชทานรางวัลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเงิน 1 ชั่ง (80 บาท) พร้อมกับมีพระราชดำรัสชมเชยว่า "เด็กขนาดนี้กำลังจับเป็ดจับไก่ แต่สามเณรฤทธิ์แปลหนังสือได้เป็นเปรียญ นับว่าดีมาก" ในรัชกาลที่ 4 มีอายุได้ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ วัดราชบุรณะฯ เมื่อปี พ.ศ.2400 สมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) ครั้งยังเป็นที่พระธรรมวโรดม วัดราชบุรณะฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอมรโมลี (นพ) วัดบุปผาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณคณิศร (เสม) วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

อุปสมบทได้แล้ว 7 พรรษา ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้ง ได้เปรียญ 5 ประโยค ในรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ให้เป็นที่ พระอมรโมลี พร้อมโปรดให้ไปครองวัดบพิตรภิมุข ถึงปี พ.ศ.2422 โปรดฯ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ.2428 โปรดฯ เลื่อนเป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ พ.ศ.2437 โปรดฯ เลื่อนเป็นพระธรรมวโรดม พ.ศ.2441 โปรดให้อาราธนาไปครองวัดอรุณฯ พร้อมโปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ และในปี พ.ศ.2448 ทรงเลื่อนเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มรณภาพเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2456

พุทธคุณของพระผงน้ำมันวัดอัมพวา นับว่าดีเด่นเหลือคณานับ โดยเฉพาะด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดจากภยันตราย กลับร้ายกลายเป็นดี กลับศัตรูให้กลายเป็นมิตร เป็นที่ยกย่องนับถือของคนยุคเก่าก่อนมาแสนนาน แม้แต่ "อาจารย์เซีย บุษปบุตร" นักนิยมพระเครื่องระดับอาวุโสผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็ยังเคยเช่าบูชาพระผงน้ำมันวัดอัมพวา ถึงองค์ละ ๘๐ บาท และเช่าตะกรุดกลับศัตรูเป็นมิตร ซึ่งทำจากทองคำ ของยายเมี้ยน หมอตำแย ผู้ได้รับมอบตะกรุดมาจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ถึงดอกละ ๕๐๐ บาท เมื่อปี ๒๕๐๕ ในขณะที่ราคาซื้อขายทองคำเพียงบาทละ ๓๘๐ บาทเท่านั้น

นอกจากนี้ยังเล่าลือกันว่า เจ้าสัวคนหนึ่ง นับจากข้ามน้ำข้ามทะเลมาตั้งรกรากในเมืองไทย มีเพียงพระผงน้ำมันวัดอัมพวาติดตัวอยู่เพียงองค์เดียวเท่านั้น ท่านได้พึ่งพาพระพุทธคุณมาตลอด จนกระทั่งตั้งตัวได้ กลายเป็นมหาเศรษฐี เจ้าของห้างสรรพสินค้าชื่อดังมูลค่าหลายพันล้าน และมีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของเมืองไทยในปัจจุบัน

พิมพ์หายากครับ ชมพิจารณาชอบเชิญครับ
ราคาเปิดประมูล20 บาท
ราคาปัจจุบัน460 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 22 ธ.ค. 2559 - 03:28:51 น.
วันปิดประมูล - 23 ธ.ค. 2559 - 05:19:30 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลหลานตาจวบ (23.2K)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     460 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Akepol (33)

 

Copyright ©G-PRA.COM