(0)
วัดใจ 200 บาท +++ เหรียญพระแก้วทรงครุฑ ...2468...หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี เนื้อฝาบาตร








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ 200 บาท +++ เหรียญพระแก้วทรงครุฑ ...2468...หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี เนื้อฝาบาตร
รายละเอียดเหรียญเก่าแก่เมืองสิงห์ .... แท้ดูง่ายแจ่มใสครับ ... ยินดีส่งออกบัตรรับรองจีพระครับฯ


ประวัติหลวงพ่อเชย วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ (ท่าควาย)

วัด เสฐียรวัฒนดิษฐ์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออก เขตตำบลบางพุทรา อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี อยู่เหนือปากคลองลำน้ำลพบุรีมีเนื้อที่ประมาณ 31 ไร่เศษ โดยทิศเหนือจรดบ้านและถนน ทิศใต้จรดบ้านไม่มีถนน ทิศตะวันตกจรดแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัดมีถนนลาดยาง ทิศตะวันออกจรดถนนและที่นาชาวบ้าน ถนนด้านทิศตะวันออกเรียกว่าถนนธรรมเสฐียร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างมาแต่เมื่อใด แต่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2482 ปัจจุบันวัดนี้เป็นวัดมหานิกาย บรรดาโบสถ์วิหารเสนาสนะ และถาวรวัตถุต่าง ๆ ของวัดเป็นของที่สร้างขึ้นใหม่ สมัยหลวงพ่ออ่อน พระครูวิจิตรสังวรคุณ และเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันทั้งสิ้น เพราะของเดิมได้หักพังสิ้นสภาพไปตามกาลเวลา

แต่ก่อนวัดนี้มีชื่อเดิมว่า “วัดท่าควาย” เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งสร้างในปลายสมัยอยุธยาเนื่องจากที่ตั้งของวัดเป็นทาง ผ่านของผู้ใช้เกวียนและล้อเลื่อนต่าง ๆ มักจะมาพักและหยุด ณ บริเวณนี้เพราะเป็นที่ร่มรื่น มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมทำให้บรรยากาศรอบ ๆ วัดเย็นสบาย ประกอบกับชาวบ้านแถบนั้นทั้งหมดมีอาชีพในการทำนา หลังจากไถนาเสร็จและถึงเวลาให้ควายกินน้ำ เจ้าของมักจะพาควายของตนมาที่วัด นานวันไปกลายเป็นแหล่งชุมนุมของชาวนาในพื้นที่ไปในตัวอันเป็นที่มาของชื่อ “วัดท่าควาย” แต่ผ่านมาอีกช่วงระยะเวลาหนึ่งชาวบ้านพร้อมใจกันเรียกชื่อวัดท่าควายเสีย ใหม่ว่า "วัดท่ากระบือ" ให้ไพเราะและดูสุภาพ หลังจากนั้นได้มีผู้ตั้งชื่อวัดใหม่ให้เป็นมงคลสืบไปว่า “วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์” แต่ชาวบ้านและนักศึกษาสะสมพระเครื่องจะนิยมเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดท่าควาย”

มากล่าวถึงประวัติของหลวงพ่อเชยกันต่อ หลวงพ่อท่านเป็นชาวเมืองสิงห์บุรี เกิดเมื่อ พ.ศ. 2412 ปีมะเส็ง พออายุได้ 2 ขวบ โยมบิดา มารดา ได้เสียชีวิตลง ลุงของหลวงพ่อจึงนำไปอุปการะเลี้ยงดู จนกระทั่งอายุของหลวงพ่อได้ 13 ปี จึงได้นำไปฝากเป็นบุตรบุญธรรมของหลวงพ่อแตง ที่วัดท่าควาย ครั้นอายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ หลวงพ่อแตงและญาติโยมที่ยังมีชีวิตอยู่ขณะนั้นได้ทำการอุปสมบท ณ วัดท่าควาย โดยมีหลวงพ่อแตงเป็นพระอุปัชฌาย์หลวงพ่อเชยอุปสมบทแล้วก็จำวัดอยู่ที่นี่จวบ จนมรณภาพ จากนั้นชาวบ้านได้นิมนต์ให้หลวงพ่อเชยรับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมาเพื่อ ปกครองพระและดูแลวัดจนกระทั่งหลวงพ่อมรณภาพลงเมื่อ พ.ศ.2469 ปีขาล ด้วยโรคลมปัจจุบันทันด่วน สิริรวมอายุได้ 57 ปี พรรษาที่ 35 พรรษา

ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นหลวงพ่อได้รับการศึกษาและออกธุดงควัตร หลายแห่ง และเรียนวิทยาการหลายแขนงจากหลวงพ่อแตง โดยศึกษาภาษาไทยบาลีกับหลวงพ่อแตงตั้งแต่อายุ 13 ปี เมื่อบรรพชาเป็นพระภิกษุแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย พระปริยัติธรรม และวิปัสสนาธุระ รวมตลอดถึงพุทธาคมกับหลวงพ่อแตงมาโดยตลอด หลวงพ่อแตงเป็นพระที่เชี่ยวชาญ ในด้านวิทยาการหลายแขนง ในฐานะที่หลวงพ่อเป็นศิษย์ได้ถ่ายทอดวิทยาการแขนงต่าง ๆ จากหลวงพ่อแตง หลวงพ่อจึงดำเนินรอยตาม หลวงพ่อแตงทุกอย่าง ออกธุดงควัตรทุกปีรุกขมูลไปทั่วประเทศ เคยไปถึงประเทศ ลาว เขมร และพม่า การออกเดินธุดงควัตรของหลวงพ่อ ทำให้หลวงพ่อได้พบปะพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคุณตามภาคต่างๆ และได้มีโอกาส ร่ำเรียนวิทยาคมเพิ่มเติมรวมทั้งการแลกเปลี่ยนวิทยาคมซึ่งกันและกันกับพระ อาจารย์นั้นๆ ซึ่งในจำนวนนี้ก็มี หลวงปู่ศุข ( พระครูวิมลคุณากร ) วัดปากคลองมะขามเฒ่า และ หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ เป็นต้น สำหรับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือนั้น มีอายุอานามไล่เลี่ยกัน ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอถึงกับหลวงพ่อเชยเคยให้ พระควัมบดีหรือพระปิดตาของท่านไปแจกจ่ายที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ก็เคยมี และเพราะเหตุนี้เองพระปิดตาที่มีปัญหานี้มีคนเข้าใจว่าเป็นของหลวงพ่อรุ่ง อันที่จริงนั้น หลวงพ่อเชยท่านให้หลวงพ่อรุ่งเพื่อนำไปแจกจ่ายเป็นของขวัญให้กับญาติโยม และผู้ที่เคารพนับถือหลวงพ่อรุ่ง จึงมีคนเข้าใจว่าเป็นพระของหลวงพ่อรุ่งสร้างขึ้น ที่จริงแล้วเป็นพระเครื่องของหลวงพ่อเชยที่ให้หลวงพ่อรุ่งไปแจก

หลวงพ่อเชยขึ้นชื่อลือเลื่องในทางสมถะ เป็นพระมักน้อยตลอดชีวิตของหลวงพ่อได้ถือปฏิบัติตลอดมา อย่างเคร่งครัด หลวงพ่อฉันอาหารวันละมื้อ ปฏิเสธการแต่งตั้งสมณศักดิ์หลายครั้ง ยินดีรับกิจนิมนต์ โดยเฉพาะกิจนิมนต์ที่เกี่ยวกับการตาย แม้หนทางจะไกลแสนไกลสักเพียงใด หลวงพ่อจะต้องไปเสมอ ข้อยืนยันว่าหลวงพ่อเป็นพระสมถะเพียงใดนั้นจะเห็นได้จากข้อความด้านหลังของ เหรียญเสมาพระภควัมบดี พ.ศ. 2468 โดยหลวงพ่อให้ใช้คำว่า" ที่รฤกอาจารย์เชย ที่สร้างศาลาโรงธรรม" เท่านั้น โดยไม่ยอมให้ใช้คำว่า "พระอาจารย์เชย" และท่านก็ไม่เคยจัดสร้างพระเครื่องที่เป็นรูปของท่านเลยเพราะท่าน ไม่ต้องการโอ้อวดใด ๆ

การปกครองดูแลพระลูกวัดท่านมุ่งให้พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้ได้รับการศึกษาและมุ่งการศึกษาให้มีแก่พระภิกษุ สามเณร โดยมิได้ย่อท้อต่อความเหนื่อยยาก ท่านมองเห็นการณ์ไกลเพื่อประโยชน์ของสังคมทั้งทางพุทธจักรและอาณาจักร หลวงพ่อเชยเคยอบรมสืบสวนพระภิกษุ สามเณร ในปกครองของท่านตลอดเวลาว่า “เป็นพระเป็นเณรต้องหมั่นสวดมนต์ไหว้พระเจริญเมตตาภาวนาศึกษาเล่าเรียนพระ ธรรมวินัยบาลี จะได้มากน้อยอย่างไร ก็ให้พยายามไปช่วยกันทำกิจของสงฆ์ภายในวัดให้มีความสามัคคี แบ่งปันส่วนเฉลี่ยเจือจุนกัน ถ้าองค์ไหนขี้เกียจขี้คร้านก็หอบเสื่อหอบหมอนไปนอนที่อื่นอย่ามาอยู่ให้หนัก วัดเขา” นอกจากนั้นแล้วหลวงพ่อเชยยังมีความสามารถด้านช่างฝีมือ อาทิ เสนาสนะหลายอย่างในวัด ท่านก็เป็นผู้ลงมือก่อสร้างและออกแบบเองทั้งสิ้น รวมไปถึงพระเครื่อง นอกจากนั้นแล้วหลวงพ่อเชยท่านยังมีโอกาสได้พบปะแลกเปลี่ยนวิทยาคมกับหลวงปู่ ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อยู่เนือง ๆ ทำให้เสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์เกิดความศรัทธาในตัวหลวงพ่อเชย เช่นกัน จึงทรงพระดำริให้ช่างทางกรุงเทพฯ แกะแม่พิมพ์พระเครื่องถวายให้กับหลวงพ่อเชยด้วย อาทิ แม่พิมพ์พระโคนสมอ แม่พิมพ์พระภควัมบดีหรือพระปิดตา เป็นต้น

หลวงพ่อเชยได้สร้างวัตถุมงคลประเภทพระเนื้อดิน และเหรียญเสมาพระภควัมบดี มีอยู่หลายชนิด หลายพิมพ์ทรงและมีแบบต่าง ๆ กันเมื่อก่อนปี พ.ศ.2469 ซึ่งหลวงพ่อสร้างไว้แจกแก่บรรดาญาติโยมและศิษยานุศิษย์ที่เคารพนับถือในตัว ท่านปรากฏว่าพระเครื่อง ของหลวงพ่อมีอยู่ประมาณ 75 พิมพ์ทรง ในจำนวนนี้มีทั้งแบบพิมพ์ที่เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ถวายกับพิมพ์ ที่หลวงพ่อเชยแกะเอง ส่วนการสร้างนั้น หลวงพ่อสร้างอยู่เรื่อย ๆ ครั้งละไม่มาก เมื่อสร้างเสร็จหลวงพ่อจะปลุกเสกองค์เดียว และแจกแก่ศิษย์ที่เลื่อมใส เช่น พระภควัมบดีหรือพระพิมพ์ปิดตาพิมพ์ 2 หน้าและหน้าเดียวหลังยันต์ พระรอดทรงครุฑ พระพิมพ์สิวลี พระโคนสมอ พระนาคปรก พระสามพี่น้อง พระสังกัจจายน์ พระพิมพ์พระพุทธสาวก พระพิมพ์ฤษี พิมพ์ขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว พิมพ์พระแม่โพสพ เนื้อดินเผาและเนื้อสีดำ พระพิมพ์ฤษีสร้างด้วยเนื้อตะกั่ว เหรียญพระแม่โพสพ เหรียญรูปเสมารูปพระภควัมบดีหรือพระปิดตา เป็นต้น คนจังหวัดสิงห์บุรีและคนถิ่นอื่นอีกจำนวนไม่น้อย ชื่นชอบพระเครื่องของหลวงพ่อเชยมาก เพราะพระเครื่องของท่านมีปรากฏการณ์คุณวิเศษทางเมตตามหานิยม และมหาอุตม์เป็นยอด

คุณวิเศษของพระเครื่องเนื้อดินเผาและสีดำที่หลวงพ่อเชยสร้างต้องบอกว่า ครบเครื่องมีตั้งแต่เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน และยังมีการบอกเล่ากันอีกว่า พระเครื่องที่หลวงพ่อเชยสร้างนั้นสามารถอาราธนาทำน้ำมนต์รักษาคนถูกของเข้า หรือโดนคุณไสยและป้องกันภูตผีได้ดีอีกด้วย คุณวิเศษอีกประการหนึ่งที่ชาวสิงห์บุรีทราบกันดี คือพระปิดตาเนื้อดำของท่าน สามารถอาราธนาเป็นยาแก้พิษจากสัตว์มีพิษกัดต่อยและยังรวมไปถึงยาพิษอีกด้วย ในสมัยก่อนก็มีการอาราธนาพระพิมพ์โคนสมอ ทำน้ำมนต์เพื่อรักษาโรคในวัวควายได้ผลนักแล จึงทำให้พระเครื่องของหลวงพ่อเชยเป็นที่หวงแหนของคนในท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ดังคำกล่าวที่ว่า “พระท่านชื่อเชย แต่พุทธคุณไม่เชย นะครับฯ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน8,600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 06 ธ.ค. 2559 - 19:33:55 น.
วันปิดประมูล - 07 ธ.ค. 2559 - 19:36:04 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเขารัง (7.1K)(3)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     8,600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Thehulk (2.6K)

 

Copyright ©G-PRA.COM