(0)
พระสมเด็จนางพญา สก. วัดบวร ปี19 ในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเจิม มวลสารวิเศษมากมาย พระเกจิอาจารย์ดังร่วมกันปลุกเสก พระสภาพสวย กล่องเดิมครับ ไม่ค่อยได้พบแล้วครับ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระสมเด็จนางพญา สก. วัดบวร ปี19 ในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเจิม มวลสารวิเศษมากมาย พระเกจิอาจารย์ดังร่วมกันปลุกเสก พระสภาพสวย กล่องเดิมครับ ไม่ค่อยได้พบแล้วครับ
รายละเอียดพระสมเด็จนางพญา สก. วัดบวร ปี19 ในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเจิม มวลสารวิเศษมากมาย พระเกจิอาจารย์ดังร่วมกันปลุกเสก พระสภาพสวย กล่องเดิมครับ ไม่ค่อยได้พบแล้วครับ

ประวัติความเป็นมาของพระสมเด็จอุณาโลม และพระสมเด็จนางพญา ส.ก.

เมื่อ พ.ศ. 2518 วัดบวรนิเวศวิหารรื้อกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถทั้งของวัดบวรฯ เอง และของคณะรังษี (ซึ่งเดิมก็คือวัดบวรรังษี หากภายหลังได้ยุบรวมมาเป็นส่วนหนึ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร) แล้วนำกระเบื้องลงมากองไว้ วันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีที่วัดบวรฯ ทอดพระเนตรเห็นกระเบื้องเก่าอายุนับร้อยปี ผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยมาเนิ่นนาน อบอวนด้วยกระแสพุทธมนต์ที่พระภิกษุทำวัตรเช้า-เย็น ซึมซับพิธีพุทธาภิเษกมาไม่รู้กี่ร้อยกี่พันพิธี ที่สำคัญ คือพระองค์ก็ทรงผนวชภายใต้ร่มเงาของกระเบื้องชุดนี้ก่อนที่จะถูกรื้อลงมา จึงมีพระราชดำรัสว่า “กระเบื้องมุงหลังคาพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้นน่าจะทำประโยชน์ได้บ้าง เนื่องจากเป็นของเก่า และสมเด็จพระสังฆราชเคยประทับอยู่วัดนี้ถึง 3 พระองค์ หากนำไปทำพระผงคงจะดีไม่น้อย”

ด้วยพระราชดำรัสนี้เอง ทำให้คณะพระภิกษุและกรรมการวัดบวรฯ จึงได้คิดสร้างพระผงสมเด็จนางพญาขึ้นรับสนองเสมือนหนึ่งเป็นพระบรมราชโองการ แล้วดำเนินการจัดสร้างทันที ด้วยการนำผงพระราชทานและผงศักดิ์สิทธิ์ 199 ชนิด มาผสมกับกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถดังกล่าว และยังได้ขอพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระปรมาภิไธย “ส.ก.” มาประดิษฐานไว้ด้านหลังของพระสมเด็จนางพญา ส.ก.

ได้ทราบจากคนเก่าแก่ในวัดมกุฏกษัตริยารามว่า เมื่อสร้างพระสมเด็จนางพญา ส.ก.สำเร็จทั้ง 2 พิมพ์คือพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีพุทธาภิเษก เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วมีพระราชดำริว่าควรจะมีพระเครื่องอีกพิมพ์หนึ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบพิมพ์พระสมเด็จอุณาโลมพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก ให้นำไปจัดสร้างเพิ่มเติม คณะกรรมการจึงได้นำมวลสารส่วนที่เหลืออยู่ผสมเข้ากับผงกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถทั้งสองของวัดบวรฯ สร้างเป็นพระสมเด็จอุณาโลมขึ้น

เมื่อพระสมเด็จนางพญา ส.ก. และพระสมเด็จอุณาโลมสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกขึ้นอีก 7 วัน ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 5 – 11 ก.ค. 2519 ในวันที่ 12 กค. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิมสมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม ในเวลา 16.00 น. ณ พระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรฯ

พุทธลักษณะพระนางพญา ส.ก.
ได้จำลองแบบมาจากพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ของกรุตาเถรขึงหนังสุโขทัย ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งมารวิชัย ด้านล่างมีอักษรนูนเป็นอักขระขอมว่า “เอ ตัง สะ ติง” อันเป็นหัวใจของกรณียเมตตาสูตร ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยว่า ส.ก.อยู่ใต้พระมหามงกุฎ ขนาดพระมีสองพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ สูง 2.7 ซม. กว้าง 2.2 ซม. หนา 0.4 ซม. ส่วนพิมพ์เล็กสูง 2 ซม. กว้าง 1.6 ซม. หนา 0.4 ซม. พระเครื่องพิมพ์นี้เป็นพระเครื่องเนื้อผงพุทธคุณ สีจางออกเป็นแดงอมขาว
พิธีพุทธาภิเษก 7 วัน 7 คืน ตั้งแต่วันที่ 5 - 12 ก.ค. 2519 มีพระเกจิคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกหลายท่านเช่น
1. พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
2. พระเทพวราลังการ วัดป่าสุทธาวาส จ.เลย
3. พระญาณสิทธาจารย์ หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา
4. พระอาจารย์อ่อน วัดโพธาราม จ.อุดรธานี
5. พระสุทธสารโสภณ วัดศรีโพนแท่น จ.เลย
6. พระอาจารย์เปลื่อง วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง (อธิษฐาน 5 คืน )
7. พระสังวรวิมลเถร (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ (อธิษฐาน 5 คืน )
8. พระโพธิสังวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิต กรุงเทพฯ
9. พระครูสารธรรมนิเทศ (มา) วัดวิเวกอาศรม จ.ร้อยเอ็ด (อธิษฐาน 2 คืน)
10. พระอาจารย์สี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม (อธิษฐาน 2 คืน)
11. พระราชธรรมานุวัตร (อ่อน) วัดประชานิคม จ.กาฬสินธุ์
12. พระครูศีลขันธสังวร (อ่อนสี) วัดพระงาม จ.หนองคาย
13. พระครูทัศนปรีชา (ขม) วัดป่าบ้านบัวค่อม (อธิษฐาน 3 คืน)
14. พระอาจารย์สาม อกิญจโน วัดไตรวิเวการาม จ.สุรินทร์
15. พระครูญาณปรีชา (เหรียญ) วัดป่าอรัญญบรรพต จ.หนองคาย
16. หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี
17. พระอาจารย์หัวพา วัดป่าพระพนิต จ.หนองคาย
18. พระชินวงศาจารย์ (พุธ) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา เป็นต้น

ขอรับประกันตามกฎทุกประการครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 27 พ.ย. 2559 - 14:43:15 น.
วันปิดประมูล - 04 ธ.ค. 2559 - 20:24:18 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเชิญชล (1.9K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Ting_sathu (8.9K)

 

Copyright ©G-PRA.COM