(0)
พระพุทธนราวันตบพิธ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปี 2542 พระราชทานมวลสาร เส้นพระเจ้า พระจีวร และผงจิตรลดา ((เห็นเส้นพระเกศาในหลวง ชัดเจน)) จมูกโด่งๆ เนื้อน้ำตาลนิยม พร้อมกล่อง สภาพเดิมเดิม /1








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระพุทธนราวันตบพิธ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปี 2542 พระราชทานมวลสาร เส้นพระเจ้า พระจีวร และผงจิตรลดา ((เห็นเส้นพระเกศาในหลวง ชัดเจน)) จมูกโด่งๆ เนื้อน้ำตาลนิยม พร้อมกล่อง สภาพเดิมเดิม /1
รายละเอียดสภาพเดิมเดิม ผิวเดิมเดิม พร้อมกล่อง สุดยอดแห่งมวลสาร ที่ควรคู่บูชา เนื้อพระแก่มวลสาร กดพิมพ์ติดชัดเจน ไม่มีอุด ไม่มีซ่อม พระดีน่าเก็บ สวยเดิม แท้ๆ ราคาไม่แพงครับ สุดยอดประสบการณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานมวลสาร เส้นพระเจ้า(เส้นพระเกศา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) พระจีวร และผงจิตรลดา (((((เห็นเส้นพระเกศาในหลวง ชัดเจน)))))

เหมาะกับ คนชอบ พระดี ติดตัว อุ่นใจครับ รับประกันทุกกรณี

พระดี อนาคต สดใส

ขอนำประวัติ การจัดสร้างมาลงให้อ่านครับ

พระพุทธนราวันตบพิธ เป็นพระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้ประชาชนซึ่งเป็นพสกนิกรของพระองค์ได้มีไว้เป็น สายใยกับพระองค์ท่าน เพราะ มีมวลสารสำคัญ คือ เส้นพระเจ้า (พระเกศา) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในมวลสารพระด้วย

ในวาระอันเป็นมิ่งมงคลสมัยอย่างยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระ ชนมพรรษา 72 พรรษา ปี 2542 ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระพุทธนราวันตบพิธขึ้น เนื่องจากพระองค์ทรงทราบว่า สมเด็จจิตรดาที่ทรงสร้างด้วยพระองค์เอง มีผู้ต้องการและเสาะแสวงหากันมาก เมื่อมีโอกาสที่เหมาะสมจึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างพระสำหรับ พสกนิกรผู้จงรักภักดีของพระองค์ท่าน โดยให้เป็นพระที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวที่ใครๆ ก็สามารถบูชาได้

เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเมื่อปี พ.ศ.2499 ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และเสด็จมาประทับ ณ พระปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงสถาปนาพระพุทธปฏิมาประจำพระองค์ไว้ในพระบวรพระพุทธศาสนา

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ถวายพระนามพระพุทธปฏิมานี้ว่า "พระพุทธนราวันตบพิธ" ได้เชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ.พระปั้นหยา เป็นพระราชกุศลสืบไป

องค์พระพุทธนราวันตบพิธ เป็นพระยืนยกพระหัตถ์ทั้งสอง ปางห้ามสมุทร อันเป็นพระประจำพระชนมวาร คือ วันจันทร์ ประทับยืนบนฐานกลมบัวคว่ำบัวหงายบนตั่งแข้งสิงห์เหนือหน้ากระดาน และมีฐานภัทรบิฐ สัญลักษณ์ประจำพระองค์รองอีกชั้นหนึ่ง ความสูงถึงสุดพระรัศมี 36.5 เซนติเมตร ลงรักปิดทองตลอดทั้งองค์พระและฐาน

คณะกรรมการจัดสร้างขณะนั้น คือ พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ องค์มนตรี เป็นประธานกรรมการอำนวยการ และนายวัลลภ เจียรวนนท์ กรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นกรรมการดำเนินงาน เพื่อเป็นอนุสรณ์ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระ ชนมพรรษา 72 พรรษา และเพื่อให้พสกนิกรชาวไทยได้ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา เมื่อนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระพิมพ์เป็นพระเนื้อผง จากต้นแบบพระพุทธนราวันตบพิธพระพุทธรูปฉลองพระองค์

ประการสำคัญที่สุดได้พระราชทานมวลสารส่วนพระองค์ โดยเฉพาะเส้นพระเจ้า (เส้นพระเกศาของพระองค์) ให้นำมาผสมในเนื้อพระ เพื่อให้พสกนิกรได้อยู่ใกล้ชิดพระองค์ตลอดไป

พระเนื้อผงที่จัดสร้างเป็นพระประทับยืนยกพระหัตถ์สองข้างบนพื้นที่ทำเป็นรูป ซุ้มโค้งแหลม สูง 3.2 เซนติเมตร ด้านหลังประดิษฐานตราสัญลักษณ์เฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา

เนื้อหามวลสาร นอกจากเส้นพระเจ้าและมวลสารส่วนพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังพระราชทานมวลสารมหามงคลอีกประการหนึ่งคือ พระจีวรที่องค์ครองคราวเสด็จออกผนวชเมื่อปี พ.ศ.2499 นอกจากนั้น คณะกรรมการยังได้รวบรวมมวลสารจากพระธาตุสำคัญทุกปีเกิด จากวัดสำคัญ 143 วัดทั่วประเทศ สถานที่สำคัญอันได้แก่ ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ในอินเดียและศรีลังกา นอกจากนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ก็ได้ทรงพระราชทานมวลสารพุทธมงคลสำคัญมาร่วมสร้างพระพิมพ์พระพุทธนราวันตบ พิธ อีกจำนวนมาก

สำหรับการผสมมวลสารมหามงคลพระราชทานนั้น อาจารย์อนันต์ สวัสดิ์สวนีย์ ซึ่งเป็นนายช่างแห่งกองช่างสิบหมู่ กรมศิลปกร ได้นำมวลสารมหามงคลทั้ง 3 ประการ มาซอยและย่อยให้เป็นผงละเอียดยิบ เพื่อจะได้ผสมมวลสารอย่างอื่นอย่างทั่วถึง เพราะฉะนั้นประชาชนทุกท่านมีสิทธิ์ได้รับมวลสารมหามงคลอย่างถ้วนทั่วกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธีมหาพุทธาภิเศก เมื่อวันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2542 โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงมอบให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์และจุดเทียนชัย มีพระเถระและพระคณาจารย์ รวม 72 รูปทั่วประเทศ อาทิ

1. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร

2. หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต จ.หนองคาย

3. หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน จ.เลย

4. หลวงพ่อพวง สุวีโร วัดป่าปูลู จ.สกลนคร

5. หลวงพ่อบุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม จ.ขอนแก่น

6.หลวงปู่หงส์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี จ.สุรินทร์

7. หลวงพ่อม่วง วัดยางงาม จ.ราชบุรี

8. หลวงปู่ทิม วัดพระขาว พระนครศรีอยุธยา และ ฯลฯ

.......................... ขอนำประวัติ พระพุทธนาราวันตบพิตร อนุสรณ์ในหลวงทรงผนวช .........................

พระพุทธรูปซึ่งไม่ได้รับการเรียกขานว่า "พระพุทธรูปทรงผนวช" เหมือนเช่น "เหรียญทรงผนวช" แต่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพระราชพิธีทรงพระผนวชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ พระพุทธนาราวันตบพิตร

พระพุทธนาราวันตบพิตร เป็นพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางห้ามสมุทร ประดิษฐานบนฐานรูปกลีบบัวคว่ำบัวหงาย ซึ่งประดับอยู่เหนือฐานสิงห์ทรงกลม ฐานส่วนล่างสุดเป็นฐานปัทม์แปดเหลี่ยม จารึกประวัติการสร้างไว้ที่ท้องไม้ เนื้อพระพุทธรูปและฐานทั้งสามชั้นทำด้วยโลหะผสมทอง สูงจากพระรัศมีถึงพระบาท 15.5 นิ้ว ฐานกลีบบัวและฐานสิงห์สูงรวม 4 นิ้ว ฐานปัทม์สูง 3.5 นิ้ว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างตามพระราชประเพณีซึ่งเริ่มมาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ โปรดให้สร้างพระพุทธรูปเป็นพุทธบูชาเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการที่ได้ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา ดังนั้น ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นพระภิกษุระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 เมื่อทรงลาผนวชแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ประติมากรของกรมศิลปากรปั้นหุ่นและหล่อพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อพระพุทธรูปเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ณ พระที่นั่งราชฤดี ในพระบรมมหาราชวัง และโปรดให้จารึกที่ส่วนท้องไม้ของฐานชั้นล่างว่า

"พระพุทธนาราวันตบพิตร ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลล่วงแล้ว ๒๔๙๙ พรรษา วันที่ ๒๒ ตุลาคมมาส พระบาทสมเด็จพระประมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชศรัทธาในพระบวรพระพุทธศาสนา ได้เสด็จออกทรงผนวชเป็พระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จมาประทับบำเพ็ญสมณปฏิบัติ ณ พระปั้นหยาวัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงสถาปนาพระพุทธปฏิมาพระองค์นี้ขึ้นไว้ในพระบวรพุทธศาสนา เมื่อ ณ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ถวายพระนามว่า พระพุทธนาราวันตบพิตร เชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ พระปั้นหยาเป็นพระราชกุศลสืบไป"

พระพุทธนาราวันตบพิตรประดิษฐานอยู่ที่พระตำหนักปั้นหย่า จนถึง พ.ศ.2507 ได้หายไป ทางวัดฯ ได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท แต่ต่อมาด้วยเดชะพระบารมีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระพุทธนาราวันตบพิตรได้กลับมาสู่วัดบวรนิเวศวิหารดังปาฏิหาริย์ กล่าวคือ ในคืนวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 ได้มีเด็กผู้ชายคนหนึ่งนำห่อของสองห่อมาฝากพระภิกษุในวัด ขอให้ถวายเจ้าอาวาส เมื่อเจ้าอาวาสแก้ห่อออกมา ปรากฏว่าเป็นพระพุทธนาราวันตบพิตรและฐานที่หายไป จึงเป็นที่ยินดีและเป็นที่ประหลาดใจของวัดและผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ทั่วกัน ฉะนั้น ทางวัดจึงได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตฉลองพระพุทธนาราวันตบพิตร ในคราวเดียวกับการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507

ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน760 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 20 พ.ย. 2559 - 18:09:15 น.
วันปิดประมูล - 21 พ.ย. 2559 - 19:28:58 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลพิศรุษ (6.4K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 20 พ.ย. 2559 - 18:09:54 น.



1


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 20 พ.ย. 2559 - 18:10:41 น.



1


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 20 พ.ย. 2559 - 18:11:03 น.



1


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 20 พ.ย. 2559 - 18:11:28 น.



กล่องเดิมครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 20 พ.ย. 2559 - 18:11:56 น.



เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการจัดส่ง โอนเงินเสร็จแล้วกรุณาแจ้งทาง mailbox หรือโทรบอกครับ ผมส่ง EMS ให้ทุกรายการครับ ขอบพระคุณครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     760 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    charnru (408)

 

Copyright ©G-PRA.COM