(0)
พระกริ่งพระชัยวัฒน์ ภปร. จุฬาลงกรณ์ (ฉลอง 80 พรรษา รัชกาลที่ 9 )(กริ่งปวเรศ3) ปี 2550 โค๊ต ภปร และตราพระเกี้้ยว เนื้อนวโลหะแก่ทองคำ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่งพระชัยวัฒน์ ภปร. จุฬาลงกรณ์ (ฉลอง 80 พรรษา รัชกาลที่ 9 )(กริ่งปวเรศ3) ปี 2550 โค๊ต ภปร และตราพระเกี้้ยว เนื้อนวโลหะแก่ทองคำ
รายละเอียดปีพ.ศ.2550 นี้ นับเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กอปรกับเป็นโอกาสครบปีที่ 90 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทางมหาวิทยาลัยจึงจัดสร้าง "พระกริ่งพระชัยวัฒน์ ภ.ป.ร." ขึ้น ตามตำรับการสร้างแต่โบราณ เพื่อจัดหารายได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อสมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนาและสมทบกองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พระกริ่ง" วัตถุมงคลที่เป็นที่นิยมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเชื่อตามคติมหายานว่า พระกริ่งคือ พระพุทธปฏิมากรรมรูปพระพุทธเจ้านามว่า "พระไภษัชคุรุ" ผู้บูชาพระกริ่งสามารถขอพรจากพระไภษัชคุรุ โดยตั้งจิตอธิษฐานพร้อมเขย่าองค์พระกริ่งให้เกิดเสียงดังกังวาล พระองค์ก็จะทรงได้ยินและประทานความรุ่งโรจน์และปกป้องภยันตรายให้แก่บุคคล ผู้นั้นตามที่ปรารถนาทุกประการ พระกริ่ง พระชัยวัฒน์

การจัดสร้าง "พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ภ.ป.ร." ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ใช้หลักการจัดสร้างตาม "ตำราการสร้างพระกริ่งโบราณ" ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว พระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และตกทอดมาจนถึงสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร ผู้สร้าง "พระกริ่งปวเรศฯ" สุดยอดของพระกริ่งของไทย โดยใช้ธาตุ 9 ชนิด เป็นมวลสาร ที่เรียกว่า "นวโลหะ" อันประกอบด้วย ชิน 1, จ้าวน้ำเงิน 1, เหล็กละลายตัว 1, บริสุทธิ์ 1, ปรอท 1, สังกะสี 1, ทองแดง 1, เงิน 1 และทองคำ 1 ซึ่งตามตำราโบราณาจารย์ เชื่อกันว่ามีพุทธคุณเป็นเลิศในด้านมหาอำนาจ และความเจริญด้วยลาภ ยศ สักการะ

นอกจากนี้ ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "ภ.ป.ร." ประดิษฐานที่ด้านหลังพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ทุกองค์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2550 ที่ผ่านมา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดต้นกำเนิดสุดยอดพระกริ่งของไทย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้กำหนดจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่อีก 2 ครั้ง ครั้งแรกจัดที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันอังคารที่ 30 ตุลาคม ที่ผ่านมานี้ ส่วนครั้งที่ 2 กำหนดวันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2550 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เวลา 15.15 น.

ใจ้ฐานองค์พระเป็นยันต์ดวง ยันต์เดียวกับที่อยู่ในครอบน้ำพระพุทธมนต์ของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์
ราคาเปิดประมูล4,450 บาท
ราคาปัจจุบัน4,550 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 15 ต.ค. 2559 - 22:36:28 น.
วันปิดประมูล - 19 ต.ค. 2559 - 15:03:04 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลpippinnu (8.9K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 15 ต.ค. 2559 - 22:37:07 น.



องค์พระเนื้อนวโลหะแก่ทองคำ สวยมากครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 15 ต.ค. 2559 - 22:38:34 น.



โค๊ตองค์พระกริ่ง


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 15 ต.ค. 2559 - 22:39:24 น.



พระชัยวัฒน์


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 15 ต.ค. 2559 - 22:40:33 น.



ใต้ฐานองค์พระ


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 15 ต.ค. 2559 - 22:42:23 น.



องค์พระแก่ทองคำสวยมากครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     4,550 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    brutus (214)

 

Copyright ©G-PRA.COM