(0)
วัว ธนู ถักเชือก ไม่ทราบที่








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัว ธนู ถักเชือก ไม่ทราบที่
รายละเอียดได้มา สองตัว ตัวนี้ตัวสุดท้าย สภาพอาจเป็นรักหรือยางไม้เคลือบเชือกไว้แต่สภาพอาจใช้มาหลุดไปบ้าง ขนาด ลำตัวยาว 2 เซน สูง 1.5 เซน กว้าง 1 เซน โดยประมาณ รวมเชือกที่ถัก ส่วนตัววัวข้างใน จากการเอ็กซ์เรย์ น่าจะเป็น วัสดุจำพวกทึบรังสี เช่นกระดูก หรือเขา ลองนึกภาพเอ็กซ์เรย์ของกระดูกหรือกระโหลกของคน เอาเป็นว่าไม่ยัดวัด แต่ขายที่ความแท้และความเก่าของเชือกรักแดงไม่น่าต่ำกว่า 50 ปี วัวธนูของวัดศรีษะทองของหลวงพ่อน้อยนั้น นอกจากจะมีครั่งพุดทราแล้ว ยังมีวัวธนูที่ทำจากเขากระทิง ดังข้อความต่อไปนี้ หลวงพ่อน้อย คนฺธโต อดีตเจ้าอาวาสวัดศีรษะทอง จ.นครปฐม นอกจากท่านจะสร้างกะลาแกะราหูอมจันทร์อันลือลั่นสะท้านแผ่นดินแล้ว หลวงพ่อน้อยท่านยังได้สร้าง ? วัวธนู ? ซึ่งเป็นเครื่องรางของขลังอีกชนิดหนึ่งที่มีความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
โดยตามตำนานที่แท้จริง หลวงพ่อน้อยท่านได้สร้างวัวธนูขึ้นตามตำราที่ได้ตกทอดกันมาโดยเชื่อกันว่าสมเด็จพระวันรัตน์ วัดป่าแก้ว ( เดิมชื่อวัดพระยาไทย ) หรือในปัจจุบันก็คือวัดใหญ่ชัยมงคลนั่นเอง เป็นเจ้าของต้นตำรับในการสร้างวัวธนู ซึ่งวิธีการสร้างวัวธนูของหลวงพ่อน้อยนั้น ท่านจะสร้างในโบสถ์ โดยมีการจัดเตรียมโรงพิธีซึ่งใช้ผ้าขาวขลิบทองขึงปิดทั่วห้องพิธี รวมทั้งเพดานฝ้าด้วย มีเครื่องเซ่นบัดพลีเป็นหัวหมู พร้อมทั้งอาหารคาวหวาน ผลไม้นานาชนิด ล้อมวงด้วยด้ายสายสิญจน์รอบโบสถ์ พอถึงฤกษ์สิทธิโชคที่หลวงพ่อได้กำหนดไว้ ก็เริ่มพิธีด้วยการจุดธูปเทียนชัย
ในสมัยนั้น ผู้ที่จะเข้าพิธีปลุกเสกวัวธนู ต้องเป็นผู้ชายล้วนที่บำเพ็ญเพียรถือศีลห้าก่อนพิธีเจ็ดวัน อีกทั้ง ต้องนุ่งขาวห่มขาว ทั้งนี้ ซึ่งการสร้างวัวธนูนั้น จะต้องสร้างให้เสร็จภายในเวลา ๒ ชั่วโมง ๒๗ นาที และต้องสร้างในวันมาฆบูชาหรือในวันวิสาขบูชาเท่านั้น จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมไว้แต่เนิ่น ๆ
การสร้างวัวธนูนั้น สิ่งที่ต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้าก่อนเข้าพิธีก็มี....
๑.ผูกโครงสร้างของวัวธนูด้วยเส้นลวด
๒.เตรียมแผ่นโลหะสำหรับทำตะกรุดดอกเล็ก ๆ
๓.ชันโรงจากต้นพุทรา ซึ่งมีทั้งหลวงพ่อน้อยท่านเก็บไว้และผู้ให้สร้างวัวธนูนำมาเองโดยนำ ไปใส่ในภาชนะตั้งไฟ แล้วทำการเคี่ยวเตรียมไว้
การสร้างวัวธนูของหลวงพ่อน้อยนั้น ก่อนอื่นต้องสร้างโครงสร้างให้เป็นรูปร่างวัวธนูขึ้นมาก่อนด้วยเส้นลวดที่ทำจากเนื้อโลหะ ซึ่งโลหะที่นำมาทำเส้นลวดนั้น มักได้แก่โลหะจำพวกทองแดง เงิน นาค ทองคำ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้ว มักจะเป็นพวกทองแดงเสียมากกว่า
ส่วนแผ่นโลหะที่นำมาทำเป็นตะกรุดดอกเล็กก็เช่นกัน มีทั้งโลหะเนื้อทองแดง เงิน นาคและทองคำ
พอถึงฤกษ์ที่กำหนดไว้ หลวงพ่อน้อยจะลงจารอักขระขอมในแผ่นโลหะพร้อมกับม้วนเป็นตะกรุด ท่านลงจารด้วยคาถาหัวใจพระฉิม ? นะชาลิติ ? บางแผ่นอาจมีลงจารคำว่า ? นะ ๑๒ ? และ ? โม ๒๑ ? เข้าไว้ด้วย ซึ่งหมายถึงพระคุณบิดามารดาผู้ให้กำเนิด )
เสร็จแล้วท่านจะส่งต่อให้ผู้เข้าร่วมพิธีนำไปใส่บรรจุในโครงลวดที่จะสร้างวัวธนู แล้วให้เอาชันโรงที่เคี่ยวไว้พอกทับโครง แล้วจึงปั้นเป็นวัวธนูต่อไป
วัวธนูที่ปั้นเสร็จแล้ว ท่านจะนำมาเจิมเขาด้วยน้ำมันจันทน์ทุกตัว พร้อมทั้งภาวนาพระคาถากำกับซ้ำอีกครั้ง
นอกจากสร้างด้วยโครงลวดแล้ว วัวธนูของหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทองที่สร้างด้วยชันโรงล้วน ๆ ก็มี แต่ไม่มากนัก โดยเกิดจากการที่ว่าในขณะที่ทำพิธีนั้น ชันโรงที่เคี่ยวเตรียมไว้เกิดมีเหลือ และผู้เข้าร่วมพิธีต้องการวัวธนูเพิ่มอีก หลวงพ่อท่านก็จะปั้นให้โดยไม่ต้องมีลวดเป็นโครงร่าง
วัวธนูของหลวงพ่อน้อยนั้น จะมีรูปลักษณ์ขนาดเล็กและใหญ่ต่างกันไป แล้วแต่ผู้สร้างจะออกรูปแบบโครงสร้างของลวดเป็นแบบไหน วัวธนูตัวที่ใหญ่ที่สุด มีการสร้างตัวยาวขนาด ๖ นิ้วก็มี แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก
ส่วนวัวธนูที่สร้างด้วย ? เขากระทิง ? นั้น จะมีการสร้างไว้ไม่มาก ส่วนใหญ่ผู้สร้างแกะเขาเป็นรูปวัวมาแล้วเอาเข้าร่วมในพิธี ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายฝีมือทีเดียว

ลักษณะที่พึงสังเกตวัวธนูของหลวงพ่อน้อย:
๑.วัวธนูที่แท้จริง จะมีโครงลวดและแผ่นตะกรุด จึงทำให้มีน้ำหนัก หากวัวธนูตัวใดมีน้ำ หนักเบา ต้องถามที่มาที่ไปให้ละเอียดถี่ถ้วนแน่ชัด
๒.วัวธนูที่สร้างจากชันโรง เนื้อชันโรงจะมีความแห้งและแน่นตัวมาก เมื่อใช้กล้องส่องดู จะเห็นเนื้อชันโรงเหมือนผสมผงอยู่ด้วย แต่แท้ที่จริงแล้ว มันคือเปลือกต้นพุทราผุที่เอามาเคี่ยวรวมกันนั่นเอง
๓.ชันโรงที่ปั้นเป็นวัวธนู จะต้องมีสีแดงดำอมน้ำตาล สีจะไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผิวกายของวัวธนู จะมีลักษณะหยาบ ไม่เรียบร้อย
๔.ไม่มีการลงอักขระใด ๆ ที่ตัววัวธนูทั้งสิ้น หากมีนั่นย่อมแสดงว่าเอามาลงในภายหลัง นอกจากนี้ ไม่มีการปิดทองที่ตัววัว ถ้ามีปิดก็ปิดเป็นบางจุดเท่านั้น ถ้าปิดทั้งตัวเป็นการปิดทีหลังแน่นอน ทั้งนี้ เพราะการสร้างวัวธนูนั้น มีกำหนดเวลาในการทำพิธีน้อยและต้องเสร็จให้ทันภายในพิธีด้วย

วิธีบูชาวัวธนู:
ในการบูชาวัวธนูของหลวงพ่อน้อย จะเหนื่อยหน่อยก็ตรงครั้งแรกเท่านั้น กล่าวคือจะต้องไปหาน้ำจากสระถึง๕แห่ง สระละนิดสระละหน่อยมาใส่แก้วไว้บูชา ต่อจากนั้นให้หาใบพุทรา ๕ ใบ หาใบหญ้าคา ๕ ใบ แล้วนำมารวมเป็นขอดไว้ใบละเปาะ แต่ละขอดให้ภาวนาพระคาถา ? อุปคุตมัดมาร ? ที่ว่า ? อิมํ อฺงคพนฺธนํ อธิฎฐามิ ?
เสร็จแล้วให้จุดเทียน ๑ คู่ ธูป ๔ ดอกบูชา แล้วให้น้อมรำลึกถึงปรมาจารย์ผู้ริเริ่มการสร้างวัวธนู ซึ่งก็คือสมเด็จพระวันรัตน์ วัดป่าแก้วเป็นท่านแรก และองค์สุดท้ายให้น้อมรำลึกถึงหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง เสร็จแล้วให้ภาวนาพระคาถากำกับวัวธนู ซึ่งมีข้อความดังนี้....
? เวทาสากุกุ ทาสาเวทา ยัสสะตะถะสาสา ทิกุกุทิสาสา กุตะกุ ภูตะภุโค โหตุเต ชัยยะมังคลานิ ?

พุทธคุณและคุณประโยชน์ของวัวธนู : เชื่อกันว่าวัวธนูของหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทองนั้น มีพุทธคุณแบบที่เรียกว่าครอบจักรวาลเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเมตตามหานิยม มีเสน่ห์ การค้าการขายดีเยี่ยม ทั้งปกป้องคุ้มครองตนเองและบ้านพักอาศัย ทำให้ศัตรูกลับมารัก ทำน้ำมนต์ก็ดีเลิศ กล่าวคือใช้น้ำที่อาบวัวธนูนั้นมาอาบตัวเรา เชื่อว่าจะไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยอยู่ ก็จะหายวันหายคืน ถ้าอาบประจำ ก็จะทำให้เกิดมีโชคลาภทั้งปี
รับประกันตามกฎ
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน2,100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 30 มี.ค. 2559 - 12:52:04 น.
วันปิดประมูล - 31 มี.ค. 2559 - 15:15:18 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลaongkaloy20 (4.2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 30 มี.ค. 2559 - 12:52:53 น.



1


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 30 มี.ค. 2559 - 12:53:28 น.



2


 
ราคาปัจจุบัน :     2,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Shang (1.8K)

 

Copyright ©G-PRA.COM