(0)
เริ่มต้นที่ 220 จบเท่าไหนเท่านั้น พระพุทธชินราช(ก้ามปู) หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม เนื้อเมฆพัตร รับประกันตลอดชีพ




รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเริ่มต้นที่ 220 จบเท่าไหนเท่านั้น พระพุทธชินราช(ก้ามปู) หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม เนื้อเมฆพัตร รับประกันตลอดชีพ
รายละเอียดพระพุทธชินราช(ก้ามปู) หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม เนื้อเมฆพัตร
สภาพขององค์พระผ่านการใช้มาเล็กน้อยทำให้ แท้ดูง่าย มีคราบไรฝุ่นบางๆทั่วองค์พระครับ ชินราชรุ่นนี้สร้างขึ้นหลายเนื้อด้วยกันคือ 1.เนื้อเมฆพัด 2.เนื้อตะกั่ว 3.เนื้อผงใบลาน 4.เนื้อทองผสม เป็นต้น พุทธคุณเด่นด้าน เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย โชคลาภค้านาย กันภยันตรายต่างๆ ประสบการณ์มากมาย มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากหมูลูกศิษย์สายนี้มาอย่างยาวนานครับ...............ประวัติ หลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ เทพเจ้าแห่งดอนยายหอม อดีตพระคณาจารย์นักพัฒนา พระเครื่อง และวัตถุมงคลของท่านยอดเยี่ยมด้านคงกระพันชาตรี เปี่ยมด้วยเมตตามหานิยมยิ่งนัก ในอดีตนั้น วัด คือจุดศูนย์รวมของชุมชน โดยเฉพาะในชนบทห่างไกลความเจริญ เป็นทั้งแหล่งให้วิชาความรู้เป็นแหล่งอบรมศีลธรรม เป็นแหล่งสถานพยาบาลในยามเจ็บไข้ได้ป่วย รวมถึงเป็นแหล่งที่พึ่งทางจิตใจ โดยพระสงฆ์ผู้มีความรู้ความสามารถ และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน เป็นผู้ทำหน้าที่ดังกล่าวนี้ นอกจากนั้นแล้ว พระสงฆ์ยังมีฐานะเป็นแกนนำสำคัญของชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น ให้มีความเจริญด้านต่าง ๆ ดังจะเห็นได้จาก อัตชีวประวัติของพระคณาจารย์ดังในอดีตทุกท่านทุกองค์ ต่างประพฤติปฏิบัติเช่นนี้มาโดยตลอด อันเนื่องจากว่าท่านเหล่านั้นเป็นพระคณาจารย์ที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธาจากบรรดาลูกศิษย์ลูกหา และพุทธศาสนิกชน เมื่อทำการสิ่งใดจึงสำเร็จได้โดยง่าย ด้วยความร่วมมือร่วมใจจากชาวบ้านในชุมชนนั้น พระสงฆ์จึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อชุมชนในทุก ๆ ด้าน หลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ หรือ สมณศักดิ์ที่ พระราชธรรมาภรณ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม ท่านเป็นพระคณาจารย์ที่ได้รับการยกย่อง และเคารพนับถือเลื่อมใสศรัทธาจากชาวบ้านดอนยายหอม รวมถึงพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปเป็นอย่างมาก จนได้รับสมญานามว่า เทพเจ้าแห่งดอนยายหอม ท่านเป็นพระสงฆ์ผู้มีวัตรปฏิบัติงดงาม เป็นเสาหลักที่พึ่งพักพิงผู้เดือดร้อน อบรมบ่มนิสัยให้พุทธศาสนิกชนเป็นคนดีมีศีลธรรม เป็นแกนนำสำคัญในการพัฒนาพระอาราม และชุมชน ให้มีความเจริญในทุก ๆ ด้าน ไม่จะเป็นเสนาสนะ ถาวรวัตถุ การศึกษาทั้งทางโลก และทางธรรม รวมถึงสิ่งสาธารณูปโภคต่าง ๆ สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น สำเร็จลงได้ด้วยความร่วมมือร่วมไม้ของชาวบ้าน ที่ร่วมแรงร่วมใจกันทำเพื่อบุคคลอันเป็นที่รัก เคารพนับถือ และศรัทธาของตนเอง คือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม งานทุกอย่างจึงสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ติดขัด กล่าวได้ว่า ท่านหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม คือ เทพเจ้าแห่งดอนยายหอม โดยแท้ แม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้วก็ตาม แต่สิ่งต่าง ๆ ยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา โดยเฉพาะชาวดอนยายหอมอย่างไม่มีวันลืม ต่างยังรำลึกถึงท่านอย่างไม่มีวันเลือนหายไปจากความทรงจำ และเป็นเช่นนี้ชั่วกาลนาน หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เป็นคนบ้านดอนยายหอมโดยกำเนิด เกิดในครอบครัวเกษตรกรรมที่มีฐานะมั่งคั่งครอบครัวหนึ่งของบ้านดอนยายหอม เกิดเมื่อวันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2433 (ร.ศ. 109, จ.ศ. 1252) ตรงกับขึ้น 3 ค่ำ เดือน 10 ปีขาล ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นบุตรของ พ่อพรม-แม่กรอง นามสกุล ด้วงพูลเกิด มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 4 คือ 1.นายอยู่ 2.นายแพ 3.นายทอง 4.ท่านหลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ 5.นายแจ้ง 6.นายเนียม 7.นางสายเพ็ญ 8.นางเมือง ในจำนวนบุตรทั้งหมด 7 คนนี้ ท่านเป็นคนที่ได้รับการโปรดปรานจากบิดา-มารดามากที่สุด เพราะอุปนิสัยของท่านเป็นคนอ่อนโยนสุภาพเรียบร้อย มีสติปัญญาเฉียบแหลม ทั้งยังได้ยึดถือตัวอย่างจากบิดาที่ประพฤติดีประพฤติชอบ ขยันขันแข็ง ไม่เป็นนักเลงอันธพาล หรือปล่อยเวลาว่างไปโดยเปล่าประโยชน์ วัยเยาว์ของท่าน ได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่บ้าน มีพ่อพรมเป็นผู้สอน ด้วยเหตุว่าพ่อพรมนั้นเป็นผู้คงแก่เรียนทั้งหนังสือไทย อักขระขอม และวิชาอาคมต่าง ๆ จึงได้ถ่ายทอดให้กับลูกทุกคน ควบคู่ไปกับการสอนศีลธรรม ไหว้พระ สวดมนต์ เป็นประจำ เป็นการปลูกฝังพื้นฐานที่ดีงามแก่ลูก ๆ ทั้งชายหญิง ให้มั่นคงในพระศาสนา ดังนั้น เมื่อบุตรชายคนใดอายุครบอุปสมบท พ่อพรมจะจัดงานให้อย่างยิ่งใหญ่ครึกครื้น มีมโหรี แตรวง กลองยาว แห่แหนกันอย่างสนุกสนาน ลูกชายคนโต ไม่ว่าจะเป็น นายอยู่ นายแพ นายทอง ต่างอุปสมบทบวชเรียนจนได้ลาสิกขาบทออกมาแต่งงาน แยกเรือนออกไปเป็นฝั่งเป็นฝาแล้ว เมื่อถึงคราวท่านหลวงพ่อเงินอุปสมบท พ่อพรมได้จัดงานให้อย่างเรียบง่าย ด้วยรู้ใจของบุตรชายดีว่า เป็นคนไม่ชอบความครึกครื้นเหมือนคนอื่น ถึงเวลาก็แห่รอบพระอุโบสถสามรอบ และทำพิธีบรรพชา-อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดดอนยายหอม โดยมีพระปลัดฮวย เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม เป็นพระอุปัชฌาย์ สำเร็จเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา เวลา 18.15 น. ตรงกับวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ได้รับฉายาว่า จนฺทสุวณฺโณ ภายหลังการอุปสมบท ได้พำนักจำพรรษา ณ วัดดอนยายหอมตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัย รวมถึงบทสวดมนต์ต่าง ๆ ท่านก็สามารถทำได้โดยง่าย เนื่องจากมีพื้นฐานที่ดีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และเพียงชั่วพรรษาแรก ก็สามารถสวดพระปาฏิโมกข์จนจบได้อย่างแคล่วคล่อง สิ่งที่ท่านทำควบคู่กันโดยตลอด คือ การฟื้นฟูทบทวนคาถาอาคมต่าง ๆ ที่ได้ร่ำเรียนศึกษามาจากผู้เป็นบิดาอย่างไม่เคยขาด ในพรรษาต่อมา ได้เริ่มศึกษาฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามที่บิดาได้แนะนำ ใช้เวลาและฝึกฝนปฏิบัติอยู่นานถึง 5 ปี จนมีความเชี่ยวชาญชำนาญ พรรษาที่ 6 เริ่มออกเดินธุดงค์ เพื่อแสวงหาความสงบวิเวก เป็นการฝึกจิตสมาธิให้กล้าแข็ง ตามแบบของพระคณาจารย์ยุคเก่าที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา อันเป็นการกำจัดเอาอาสวกิเลสให้บรรเทาเบาบาง ทั้งยังเป็นการเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาไปในตัว ท่านเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ หลายแห่งทั่วทุกภูมิภาค รวมถึงได้ไปกราบหลวงพ่อพระพุทธชินราช ที่พิษณุโลก ซึ่งต่อมาภายหลังท่านได้นำแบบอย่างมาจำลอง สร้างเป็นวัตถุมงคลชนิดต่าง ๆ ดังปรากฏพบเห็น และเล่นหาสะสมกันอยู่ในปัจจุบัน ในพรรษาที่ 6 นี่เอง ภายหลังที่ท่านกลับจากการออกเดินธุดงค์ ไม่นานนักก็ได้รับการแต่งตั้งจากท่านเจ้าคุณพุทธรักขิต เจ้าคณะจังหวัดให้เป็นรองเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ตรงกับวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม เนื่องจาก พระปลัดฮวย อดีตเจ้าอาวาสมรณภาพ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2472 เป็นพระปลัด ฐานานุกรมของเจ้าคณะเมืองนครปฐม วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2473 เป็นพระอุปัชฌาย์ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูทักษิณานุกิจ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2504 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชธรรมาภรณ์ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม พระเถระผู้เข้มขลังในพระเวทย์วิทยาคม ดังจะเห็นได้จากวัตถุมงคลต่าง ๆ ที่ท่านสร้าง และปลุกเสกเอาไว้ มีผู้นำไปใช้อาราธนาติดตัว แล้วเกิดประสบการณ์มาอย่างมากมายจนนับไม่ถ้วน นอกจากนั้นแล้ว ท่านยังมีเมตตาต่อบรรดาลูกศิษย์อย่างเสมอภาค ไม่แบ่งแยกมั่งมี หรือยากจน ทุกคนเท่าเทียมกัน นอกจากท่านจะเป็นที่พึ่งทางจิตใจแล้ว ท่านยังเป็นพระนักพัฒนาที่นำความเจริญมาสู่ท้องถิ่นอย่างมากมาย นับเริ่มต้นจากปี พ.ศ. 2459 ซึ่งเป็นปีที่ท่านรับตำแหน่งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ขณะนั้นวัดกำลังทรุดโทรม เสนาสนะต่าง ๆ หรือ แม้กระทั่งกุฏิ ชำรุด ผุพังเกือบทั้งหมด ท่านได้เริ่มทำการบูรณปฏิสังขรณ์เป็นการใหญ่ เพื่อให้เสนาสนะกลับฟื้นคืนสภาพดีดังเดิม นอกจากการบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว ท่านยังได้ก่อสร้างถาวรวัตถุอีกหลายอย่าง เช่น ปี พ.ศ. 2465 สร้างหอสวดมนต์ ปี พ.ศ. 2470 สร้างศาลาการเปรียญ ปี พ.ศ. 2480 สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เมื่อแล้วเสร็จจัดงานปิดทองฝังลูกนิมิต ปี พ.ศ. 2492 หล่อพระประธานในพระอุโบสถ ขนาดหน้าตัก 4 ศอก 6 นิ้ว ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 12 ปี พ.ศ. 2470 สร้างสถานีอนามัย ปี พ.ศ. 2497 และสร้างโรงเรียนสหศึกษาบาลี สร้างตึกเรียนพระปริยัติธรรม สร้างโรงเรียนประชาบาล ฯลฯ เป็นต้น ผู้ไปนมัสการหลวงพ่อเงินที่วัดดอนยายหอม จะเห็นคติธรรมที่หลวงพ่อเงินขอให้เขียนไว้เตือนใจ 2 แผ่น แผ่นหนึ่งมีข้อความว่า “จิตหาญ ใจพ้นทุกข์ สุขด้วยธรรม” และอีกแผ่นหนึ่งว่า “รู้จักพอ ก่อสุขทุกสถาน” และอาจเป็นเพราะภาษิตหลังนี้กระมัง เหรียญที่ระลึกของหลวงพ่อเงินแทนที่จะจารึกว่า “พระราชธรรมาภรณ์” หรือ “หลวงพ่อเงิน” จึงกลายเป็น “หลวงพอเงิน” ซึ่งหลวงพ่อพอใจในชื่อหลังนี้มาก มีผู้ได้ยินพระปัญญานันทมุนี แห่งวัดชลประทานปากเกร็ด ปราศรัยกับประชาชนที่มาชุมนุม ณ ศาลาการเปรียญที่วัดนั้น คราวมีงานผูกพัทธสีมาว่า “หลวงพ่อเงินองค์นี้ ท่านศักดิ์สิทธิ์ ท่านเป็นพระไม่มีความอยากได้ ไม่โลภ แต่คนก็ชอบถวายและชอบไปทำบุญกับท่านนัก” ในคราวมีงานฝังลูกนิมิตของวัดดอนยายหอม หลวงพ่อเงินไม่ยอมออกไปนอกหัตถบาทดังที่สมภารอื่น ๆ ถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีมิหนำซ้ำ ท่านยังร่วมทำสังฆกรรม และลงมือผลักลูกนิมิตเอง เป็นการปฏิวัติประเพณีเก่าที่เชื่อกันมาว่า สมภารของวัดผู้ที่ได้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถเสร็จลุล่วงไปจนถึงขั้นจัดงานฝังลูกนิมิตหรือผูกพัทธเสมา จะต้องหนีออกไปเสียให้พ้น มิฉะนั้นจะต้องตายไปสู่พรหมโลก เพราะเทวดาเห็นว่าได้กระทำการบุญอันยิ่งใหญ่สูงสุดแล้ว โดยที่หลวงพ่อเงินมิได้ปฏิบัติตามประเพณีนี้ ท่านเจ้าคุณกวีวงศ์ ป.9 ในสมัยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งได้รับนิมนต์ไปในงาพิธีด้วย จึงเกิดความสงสัยจนอดไว้ไม่ได้และถามว่า “การอยู่ในหัตถบาทหรือนอกหัตถบาทนั้น ท่านพระครู (ขณะนั้นหลวงพ่อเงินมีฐานะเป็นพระครู) มีหลักปฏิบัติอย่างไร” หลวงพ่อเงินตอบว่า ท่านไม่มีหลักอย่างไร ได้แต่เพียงสันนิษฐานเท่านั้น และท่านเห็นว่า เป็นแต่เพียงนโยบายหรือกลวิธีอันหลักแหลมของท่านผู้ออกบัญญัติ เพื่อจะขับสมภาคบางองค์ ที่ไม่บริสุทธิ์เพียงพอและเป็นที่รังเกียจแก่ภิกษุในอารามมาก ให้ออกไปเสียจากอารามเท่านั้น เพราะถ้าผู้ใดได้ทำความดีถึงขนาดแล้ว จะทำให้ต้องถึงแก่ชีวิต ก็เชื่อว่าไม่มีนักบุญคนใดเขาหวาดกลัวเลย นอกจากนั้นพระท่านก็สอนให้ภิกษุใช้ปัญญาปลงสังขาร ว่าไม่เที่ยงอยู่แล้ว ใยจะมากลัวอะไรกับความตาย” เมื่อเดือน ธันวาคม 2504 หลวงพ่อเงินได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในนาม “พระราชธรรมาภรณ์” ข่าวนี้ ก่อความปลื้มปิติแก่ลูกศิษย์และชาวดอนยายหอมเป็นล้นพ้น เมื่อได้ปรึกษากันแล้ว ก็ลงความเห็นว่า ควรจะมีการฉลองตราตั้ง ซึ่งพระราชทานโดยพระมหากษัตริย์ แต่หลวงพ่อไม่เห็นด้วยกับความดำรินี้ และเมื่อผู้ใกล้ชิดไปขอทราบเหตุผลกับท่าน ๆ กล่าวว่า “ฉันเชื่อในศรัทธาของชาวบ้านที่มีโดยตรงต่อฉัน ฉันภูมิใจอยู่เสมอในความกตัญญูเหล่านั้น แต่ลองคิดดู ฉันอยู่อย่างเป็นสุข มีอาหารก็อย่างดี ที่อยู่ก็อย่างดี เท่านี้ก็นับว่าชาวบ้านเขาเลี้ยงชีวิตฉันแล้ว จะรวบกวนให้เขาต้องเสียเงินทองและเหน็ดเหนื่อย มีโขน มีละคร มาเฉลิมฉลองอีก ฉันว่าเอาเปรียบชาวบ้านเขาเกินไป” ตกลงคราวนี้ คณะกรรมการวัดต้องจัดงานวางศิลาฤกษ์หอสมุดประชาชน ประจำตำบลดอนยายหอม ซึ่งที่จริงแล้วก็ถือโอกาสฉลองสมณศักดิ์แทน กล่าวได้ว่า ตลอดระยะเวลาที่หลวงพ่อเงินยังมีชีวิตอยู่นั้น สร้างคุณประโยชน์ต่อพระศาสนา ต่อบ้านเมืองมาโดยตลอด ไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย แม้ล่วงเลยมาถึงบั้นปลายชีวิตของท่าน ก็ยังคงปฏิบัติมาอย่างสม่ำเสมอ และแล้ววันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2520 หลวงพ่อเงินท่านก็ถึงแก่มรณภาพ รวมสิริอายุ 86 ปี 66 พรรษา
ราคาเปิดประมูล200 บาท
ราคาปัจจุบัน420 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 29 มี.ค. 2559 - 16:26:12 น.
วันปิดประมูล - 30 มี.ค. 2559 - 16:43:27 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtokyo (9.6K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     420 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    arnonpomsuwan (105)

 

Copyright ©G-PRA.COM