(0)
วัดใจ เหรียญนางกวักรุ่น 2 หลวงพ่อแจ๋ วัดโพธิ์เฉลิมรักษ์ จ.ฉะเชิงเทรา เนื้ออัลปาก้าลงยา หลังมีจาร








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ เหรียญนางกวักรุ่น 2 หลวงพ่อแจ๋ วัดโพธิ์เฉลิมรักษ์ จ.ฉะเชิงเทรา เนื้ออัลปาก้าลงยา หลังมีจาร
รายละเอียดจังหวัดฉะเชิงเทรา หรือเมืองแปดริ้ว มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทรงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์คือ "หลวงพ่อโสธร" ส่วนพระสงฆ์ผู้ทรงอาคมขลังก็มีอยู่มากมายในทุกอำเภอ

อย่างเช่นในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว หากเอ่ยชื่อ "พระครูแจ๋" หรือ "หลวงพ่อแจ๋" วัดโพธิ์เฉลิมรักษ์ ต่างบอกว่า "ท่านแน่มาก" เป็นพระเกจิอาจารย์คมในฝัก ชอบอยู่เงียบๆ แต่วิชาอาคมไม่ธรรมดาเลย เนื่องจากท่านเป็นศิษย์พุทธาคมสายตรงของหลวงปู่ไข่ อินทสโร วัดบพิตรพิมุข (เชิงเลน) พระเกจิอาจารย์ดังแห่งเมืองกรุง ซึ่งมีเลือดเนื้อเชื้อไขของชาวแปดริ้วโดยตรง

หลวงพ่อแจ๋ เกิดเมื่อวันพุธเดือน 8 ปีมะโรงตรงกับปี พ.ศ.2432 ณ ตำบลท่าไข่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรพ่อนนท์-แม่เปรม โพธิ์ทอง มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน

ในวัยเด็กท่านได้เรียนหนังสือกับพระอาจารย์เที่ยงและพระอาจารย์ทองซึ่งมีศักดิ์เป็นอาที่วัดเมืองอยู่ได้ระยะหนึ่ง แล้วกลับมาช่วยงานทางบ้านประมาณ 2-3 ปีจึงกลับไปบรรพชาเป็นสามเณรอยู่กับหลวงอาทั้งสองอีกครั้ง

ช่วงที่เป็นสามเณรนี้เองได้ไปศึกษาพุทธาคมกับหลวงปู่ไข่ ซึ่งขณะนั้นท่านเดินทางมาเป็นครูสอนกรรมฐานอยู่ที่วัดโสธรวราราม ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า "วัดเสาธงหัก"

โดยได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาอาคมต่างๆ อย่างเต็มเปี่ยม



ต่อมาหลวงพ่อแจ๋ ได้ลาสิกขาจากสามเณรและเข้ารับราชการทหารอยู่ 2 ปี

หลังปลดประจำการแล้วได้เข้าอุปสมบทอีกครั้ง ณ พัทธสีมา วัดนครเนื่องเขต (ต้นตาล) เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2455 มี พระครูคณานุกิจ วัดแหลมบน (สายชล ณ รังษี) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินัยธร (ปาน) วัดแหลมบน (สายชล ณ รังษี) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูฮ้อ วัดแหลมบน (สายชล ณ รังษี) เป็นพระอนุสาวนาจาจารย์

หลังอุปสมบทได้พำนักจำพรรษา ณ วัดนครเนื่องเขต (วัดต้นตาล) และได้ศึกษาพระธรรมวินัยเรียนอักขระเลขยันต์คาถาอาคมต่างๆ จากท่านพระครูญาณรังสีมุนีวงษา (ทำ) วัดสัมปทวน (นอก) และพระอาจารย์บัว วัดนครเนื่องเขต (ต้นตาล) นอกจากนี้ ยังเดินทางไปเรียนวิชาเพิ่มเติมกับหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน อยู่เสมอๆ

ภายหลังได้ย้ายมาจำพรรษา ณ วัดโพธิ์เฉลิมรักษ์ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว และได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทนอาจารย์พรหม โดยได้ทำหน้าที่ทะนุบำรุงและพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรือง รวมถึงได้มีส่วนช่วยเหลือพัฒนาวัดคลอง 19 อีกวัดหนึ่ง

จนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2515 จึงมรณภาพลง รวมสิริอายุ 83 ปี พรรษา 61



สําหรับศิษย์เอกทายาทพุทธาคมขลังที่ยังมีชีวิตอยู่คือ "หลวงพ่อสมชาย พุทธสโร" เจ้าอาวาสวัดโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา พระสงฆ์นักพัฒนา ซึ่งท่านได้จำพรรษาอยู่ปรนนิบัติรับใช้จนกระทั่งหลวงพ่อแจ๋มรณภาพลง โดยได้รับการถ่ายทอดพุทธาคมจนหมดสิ้น ถึงขนาดหลวงพ่อแจ๋เอ๋ยปากว่า "ท่านสมชายนี่เขาแทนฉันได้"

กล่าวสำหรับวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลัง โดยเฉพาะเหรียญยุคแรกๆ และตะกรุด พระเนื้อดินพิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ จะมีพุทธคุณเด่นทางด้าน เมตตามหานิยม ค้าง่ายขายคล่อง ส่วนที่เป็นที่รู้จักในหมู่พ่อค้าวาณิช และแม่ค้าแม่ขาย ก็คือ "เหรียญนางกวัก"

ทั้งนี้ พระเกจิอาจารย์ที่สร้างวัตถุมงคลรูปนางกวักที่มีชื่อเสียง อาทิ หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี, หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง จังหวัดนนทบุรี, หลวงปู่นาค วัดหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา และหลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว เป็นต้น



ความเป็นมาของ "นางกวัก" เชื่อกันว่าแม่นางกวัก มีชื่อจริงว่า สุภาวดี บิดาชื่อ สุจิตพราพหณ์ มารดาชื่อ สุมณฑา เกิดที่เมืองมัจฉิกาสัณฑ์ ครอบครัวมีอาชีพทำมาค้าขาย ต่อมานางได้เป็นศิษย์ของพระกัสสปะ และพระสิวลีนางได้รับพรว่า "ขอให้เจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง จากการค้าขายสินค้าต่างๆ สมความปรารถนาเถิด"

ภายหลังจึงทำให้ครอบครัวร่ำรวยมหาศาล มีผู้นับถือมากมายเมื่อสิ้นชีวิตแล้ว ชาวบ้านจึงปั้นรูปแม่นางสุภาวดีไว้บูชา ขอให้การค้ารุ่งเรือง และความเชื่อดังกล่าวนี้ ก็แพร่หลายเข้ามายังสุวรรณภูมิ จากการเผยแพร่ของพราหมณ์

บ้านใครมีอาชีพค้าขาย อยากให้สินค้าขายดีกิจการเจริญรุ่งเรือง ก็ลองอัญเชิญแม่นางสุภาวีมาบูชาอาจจะทำให้ร่ำรวย มีคนนับหน้าถือตามากมายก็ได้

"นางกวัก" นับเป็นรูปเคารพนับถือกันเป็นอย่างมาก นางกวักมีรูปลักษณะสำคัญเป็นสตรีไทยสมัยโบราณ ผมยาวประบ่า ห่มผ้าสไบเฉียง นุ่งผ้ายกดอก ประกอบด้วยพาหุรัด ทองกร และสร้อยสังวาล นั่งพับเพียบเรียบร้อยอยู่บนแท่นทอง หัตถ์ขวายกงอขึ้นในลักษณะท่ากวักมือ หัตถ์ซ้ายส่วนมากจะถือถุงเงิน และจารึกอักขระขอม เป็นหัวใจพระสีวลีผู้เป็นเอตทัคคะทางโชคลาภ คือ นะ ชา ลิ ติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เป็นที่กล่าวขานกันว่า "นางกวัก" สามารถดลบันดาลโชคลาภให้บังเกิดแก่ผู้กราบไหว้บูชา และทำมาค้าขึ้น ซื้อง่าย ขายคล่อง และมีเสน่ห์มหานิยมแก่ผู้พบเห็นอีกด้วย

โดยเฉพาะในมวลหมู่ผู้มีอาชีพค้าขายด้วยเชื่อว่านามของ "นางกวัก" มีความหมายในทางทำมาหากินคล่องเจริญก้าวหน้า ตามร้านค้าจึงพบเห็นรูปนางกวักบนหิ้งบูชา หรือแม้กระทั่งรถเข็นค้าขายในตะกร้าเก็บสตางค์ หรือมุมเล็กๆ ต้องมีรูปนางกวักอยู่ด้วยเสมอ

นอกจากนี้แล้วนามของนางกวักมีนัยเป็นการ "กวัก" เรียกผู้คนมาอุดหนุนร้านค้า "รูปนางกวัก" จึงมีพระเกจิอาจารย์นิยมสร้างขึ้นมากมายหลายสำนัก



"นางกวักรุ่นแรก" หลวงพ่อแจ๋ เนื้อเงินลงยา สร้างปี 2502 เหรียญรุ่นนี้ สร้างเป็นเนื้อเงินและเนื้ออัลปาก้า สร้างไม่เกิน 1,000 เหรียญ ลักษณะด้านหน้า เป็นเหรียญรูปหกเหลี่ยม ภายในกรอบยันต์หกเหลี่ยมมีหญิงไทยโบราณนั่งพับเพียบ มือขวายกมือกวักลาภ มือซ้ายวางไว้ที่หน้าตัก

ส่วนที่หน้าตักมีอักขระขอมว่า ""โมมา"" ที่บนศรีษะของหญิงมีคำว่า "นะ" ที่หูด้านขวามีคำว่า "นิ" ที่หูด้านซ้ายมีคำว่า "มา" ด้านแขนซ้ายมีอักขระว่า "พุทธ" และมีอักษรไทยว่า "พระครูแจ๋" ที่ระดับเอวของ ผู้หญิง

ที่ใต้อาสนะหญิงที่นั่งมีคำว่า "ทา อิ กะ วิ ติ"

และภายในกรอบหกเหลี่ยม มีอักขระขอมล้อมรอบ พอแปลเป็นใจความว่า "ปู่เจ้าเขาเขียวมีลูกคนเดียวชื่อนางกวัก"

ส่วนด้านหลังของเหรียญจะเรียบๆ ไม่มีลวดลายอะไร ปัจจุบันเหรียญสภาพสวยสมบูรณ์ เซียนพระนิยมเล่นหากันในราคาหลักแสน

แต่ทุกเหรียญที่ถือว่าเป็นจุดสังเกตคือ หลวงพ่อแจ๋จะลงอักขระของท่านด้วยเหล็กจารทุกองค์ ถ้าไม่มีก็ฟันธงได้ว่าไม่ทัน และไม่แท้

ไม่ใช่ของหลวงพ่อแจ๋แน่นอน!!!
ราคาเปิดประมูล900 บาท
ราคาปัจจุบัน30,400 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 22 มี.ค. 2559 - 19:07:01 น.
วันปิดประมูล - 23 มี.ค. 2559 - 19:31:37 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลpouch (1.7K)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     30,400 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    noppornsibu (970)

 

Copyright ©G-PRA.COM