(0)
เหรียญพระเทพเจติยาจารย์ เนื้ออัลปาก้า รุ่นแรก วัดเสน่หา กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม สภาพสวยเดิมๆ รหัส 1070








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญพระเทพเจติยาจารย์ เนื้ออัลปาก้า รุ่นแรก วัดเสน่หา กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม สภาพสวยเดิมๆ รหัส 1070
รายละเอียดเหรียญพระเทพเจติยาจารย์ เนื้ออัลปาก้า รุ่นแรก วัดเสน่หา กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม สภาพสวย รับประกันพระสวยๆแท้ๆ แบบสากลและตามกฎครับ

เหรียญเก็บเก่าของที่บ้านครับ

ประวัติ
เกิดเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๒๖ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะแม ณ ตำบลถนนขาด อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อ คำ โยมมารดาชื่อ เชย เมื่อชนมายุได้ ๒๔ ท่านได้อุปสมบทอยู่กับท่านอาจารย์โล่ง ธมฺมธโร ลูกผู้พี่ของท่าน ซึ่งเป็นพระอาจารย์ทางธุดงค์กัมมัฏฐาน โดยมีท่านเข้าคุณพระพุทธวิริยากร (จิตร ฉนฺโย) วัดสัตตนารถปริวัตร จังหวัดราชบุรี เป็นพระอุปัชฌายะ พระวินัยธร เบี้ยว วัดท่าโขลง จังหวัดราชบุรี เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์โล่ง วัดสัมปทวน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม บิดเมื่อจวนจะอุปสมบท บิดาได้นำไปฝากไว้ในสำนักพระอธิการโล่ง เจ้าอาวาสวัดสัมปทวน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งเวลานั้นท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดบางแพเหนือ จังหวัดราชบุรี
วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๖ ได้อุปสมบท ณ วัดบางแพเหนือ พระพุทธวิริยากร (จิตร ฉนฺโน) วัดสัตตนารถปริวัตร จังหวัดราชบุรี เป็นพระอัชฌายะ พระปลัดแก วัดอมรินทราราม (คือวัดตาล) กับพระมหาเบี้ยว วัดท่าโขลง จังหวัดราชบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ครั้นอุปสมบทแล้วท่านได้ไปจำพรรษาในสำนักต่างๆ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย คือในพรรษาแรกได้ไปอยู่ในสำนักปลัดแกผู้เป็นอาจารย์ ในพรรษาที่ ๒ กลับไปอยู่วัดบางแพเหนือ ซึ่งเป็นวัดเดิม ในพรรษาที่ ๓ ไปอยู่วัดท่าโขลง (เมื่ออกจากจังหวัดราชบุรีนั้นแล้ว) ในพรรษที่ ๔ -๕ ไปอยู่ในสำนักพระอธิการโล่ง (ธมฺมธโร) วัดแค อำเภอนครชัยศรี ในพรรษาที่ ๖ ไปอยู่วัดกงจักร จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อจากนั้นในพรรษที่ ๗ พระพุทธวิริยากร วัดสัตตนารถปริวัตร จังหวัดราชบุรี ส่งให้มาปกครองเป็นเจ้าอาวาสวัดเสนหา จังหวัดนครปฐม (ซึ่งเดิมเป็นสำนักสงฆ์) เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๒ (ตรงกับเดือนอ้าย ปีระกา) ในเวลาที่ครองวัดอยู่นั้น แต่ยังต้องอาสัญพระอธิการโล่งอยู่บ้างภายหลังจึงได้จัดการตามลำพังมีการก่อสร้างตลอดมานจนเจริญเป็นหลักฐานและได้บำรุงการศึกษาพระปริยัติธรรมตลอดจน ภาษาไทยเจริญโดยลำดับฯ
เมื่อท่านอาจารย์โล่ง เจ้าอาวาสวัดสัมปทวนถึงมรณภาพ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ตรัสสั่งให้เข้าเฝ้า และขอให้ท่านกลับไปเป็นเจ้าอาวาสวัดสัมปทวนแทนท่านอาจารย์โล่งลูกผู้พี่ของท่าน (โยมมารดาของท่านเป็นน้องโยมมารดาของท่านอาจารย์โล่ง) ท่านได้ปกครองวัดสัม ปทวน และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวงปกครองสงฆ์ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสุทธิสุนทร
วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๓ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงตั้งเป็นพระครูสังวรวินัยเจ้าคณะแขวง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
วัน ที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๔ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์เป็นพระครูสังวรวินัยเจ้าคณะแขวง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ทั้งได้เป็นกรรมการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดนครปฐม-สุพรรณบุรี และเป็นกรรมการสนามหลวงด้วยฯ
พระ ครูสังวรวินัย เป็นผู้มีอัธยาศัยเยือกเย็นละมุนละม่อมโอบอ้อมอารีเป็นที่เคารพนับถือของ บรรดาอันเตวาสิกและประชาชน ทั้งเป็นเป็นผู้ที่มีปรีชาสามารถในนวกรรมควรเรียนกว่า นวกัมมาธิฎฐานยี ผู้อำนวยการสร้างได้ทั้งเป็นผู้มีใจมั่นคง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทำอะไรทำจริงเสมอเป็นผู้ชอบสงบเป็นปกติ แม้เมื่ออาพาธหนักก็ไม่เห็นท่านแสดงอาการทุรนทุรายอย่างใดเลยและเป็นผู้มีใจ ยินดีในสันโดษ เมื่อมีปัจจัยมาก็ไม่สั่งสม ได้นำไปบำรุงวัดบ้าง การศึกษาบ้าง เผื่อแผ่แก่ภิกษุสามเณรบ้าง ตามสมควร
เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทได้ ๑ พรรษา ได้เดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรมและภาษาบาลี ณ วัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) สมัยดำรงสมณศักดิ์เป็นพระเทพกวีเป็นเจ้าอาวาส
ท่านปกครองวัดสัมปทวน และคณะสงฆ์ในแขวงของท่านมาด้วยความเรียนร้อยจนถึง พ.ศ.๒๔๗๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระปฐมนคราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม และเป็นกรรมการสงฆ์จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาเมื่อวัดเสนหาได้รับพระราชทานยกฐานะเป็นวัดหลวง ท่านได้ย้ายไปประจำอยู่ ณ วัดเสนหา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
พ.ศ.๒๔๙๗ ได้พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม
พ.ศ.๒๕๐๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระเทพเจติยาจารย์
พ.ศ.๒๕๒๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมเจติยาจารย์
เมื่อมีการแยกการปกครอง ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี(ธรรมยุต) ใน พ.ศ.๒๔๙๔ ภายหลังเป็นเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี (ธรรมยุต) และได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด เนื่องจากชราภาพ ทางมหาเถรสมาคมถือเป็นเจ้าคณะ (ธ) กิตติมศักดิ์ ทั้ง ๓ จังหวัดนั้น (ตามลายพระหัตถ์สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกในสัมโมทนียบัตรประทานพร เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๒๖)
มีข้อควรทราบกับชีวประวัติของท่านที่เนื่องไปถึง สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสผู้ทรงมีพระอำนาจสูงสุดใจการบริหารคณะสงฆ์ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๖
ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจติยาจารย์ เมื่อได้ตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสัมปทวนได้บริหารวัดและคณะสงฆ์ จังหวัดนครปฐม ทั้ง ๒ นิกายเรียบร้อย เป็นที่โปรดปานของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระองค์ได้เสด็จมาทรงเยี่ยมเยียนเสทอบางโอกาสได้เสด็จมาพัก และจำพรรษาอยู่ ณ วัดสัม ปทวน ๑ พรรษา และทรงเป็นห่วงจนถึงทรงตรัสรับสั่งให้โอกาสแก่ท่านว่า ในจังหวัดนครปฐม ถ้าคุณเห็นท่านองค์ใดสมควรจะยกย่องแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์อย่างใด ก็ดีให้คุณเสนอรายงานเข้ามาเพื่อทราบ นี้เป็นพระวาจา ที่พระองค์ท่านทรงไว้วางพระทัยเป็นส่วนพระองค์ที่ทรงเห็นความสามารถการ บริหารคณะสงฆ์เป็นอย่างดีจึงเป็นที่เคารพนับถือของคณะสงฆ์ทั้ง ๒ นิกาย ด้วยท่านประกอบกิจใดเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่หมู่คณะด้วยความสุจรติ แม้ท่านก็เป็นผู้ดำรงมั่นในธรรมวินัย มิได้ประกอบกิจใดที่เป็นการเห็นแก่ตนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ตลอดทั่วกัน
ท่านเจ้าคุณวินัยวงศาจารย์ (นาค อิสินาโค) วัดท่าตำหนัก ต่อมาได้เป็นพระราชวุฒาจารย์ ผู้อยู่ใกล้ชิด และอยู่มานานเป็นเวลาถือ ๖๐ กว่าปี ได้เคยติดตามท่านไปพักและตรวจการคณะสงฆ์ตามวัดชนบท ทั่วไป ได้รับฟังและสนทนากับเจ้าอาวาสในเขตปกครองได้ยินด้วยตัวเอง ซึ่งเจ้าอาวาสตามชนบทถึงกล่าวส่า พระเดชพระคุณปกครองมานานไม่เคยร้อนใจเห็นท่านไปที่วัดมีความยินดี
พ.ศ.๒๕๑๕ ท่านได้อาพาธด้วยโรคชรา สุขภาพไม่แข็งแรง แต่ความทรงจำยังดีมารกยังแนะนำสั่งสอนศิษยานุศิษย์ผู้ไปนมัสการ ตามโอกาสอันควรโอวาทของท่านส่วนใหญ่แนะให้เชื่อในหลักกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จะได้หลีกเหลี่ยงความชั่ว ประพฤติความดีท่านเจริญอารักขกัมมัฎฐาน ๔ คือ พุทธานุสสติ, เมตตา, อสุภะ และมรณัสสติ อยู่เนืองนิตย์ใครได้เข้าไปนมัสการก็ได้รับความเยือกเย็นสงบระงับกลับมา ท่านถึงมรณภาพ เมื่อวันอังคารที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๗ เวลา ๐๖.๓๐ น. ด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ ๑๐๒ โดยปี หรือ๑๐๑ ปี ๕ เดือน ๑๑ วัน โดยอายุชำระทางสุริยคตินิยม

ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดเสนหาองค์ที่ ๓ ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดธรรมยุตอีกตำแหน่งหนึ่ง ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์ เป็นพระเทพเจติยาจารย์และพระธรรมเจติยาจารย์ตามลำดับ โดยเป็นรูปแรกของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานทินนามว่า พระธรรมเจติยาจารย์ ตลอดสมัยที่พระปฐมนคราจารย์ หรือพระธรรมเจติยาจารย์ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเสนหา ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๗ สืบต่อมา เป็นองค์ที่ ๓ เป็นเวลานานกว่า ๕๐ ปี ได้ทะนุบำรุงเสริมสร้าง และพัฒนาวัดเสนหาให้รุ่งเรืองอย่างมาก ทั้งทางด้านวัตถุและการศาสนาตลอดจนด้านการศึกษาพระธรรมวินัย
ราคาเปิดประมูล50 บาท
ราคาปัจจุบัน150 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 21 ส.ค. 2558 - 21:31:13 น.
วันปิดประมูล - 23 ส.ค. 2558 - 08:00:29 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลpyakorn (3.3K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     150 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    mingpapacha (106)(4)

 

Copyright ©G-PRA.COM