(0)
****เริ่มต้นเคาะรแกเลยครับ***พระกริ่งเก้าแก้ว ลป.แก้ว เกสาโร เนื้อสำฤทธิ์เดชสวยและหายากครับ







ชื่อพระเครื่อง****เริ่มต้นเคาะรแกเลยครับ***พระกริ่งเก้าแก้ว ลป.แก้ว เกสาโร เนื้อสำฤทธิ์เดชสวยและหายากครับ
รายละเอียดพระเครื่องชุดสุดท้ายที่หลวงปู่แก้วปลุกเสกให้อย่างเต็มที่เป็นพิเศษนาน ถึง 56 วันอันเท่ากับกำลังพระพุทธคุณ. พระกริ่งเก้าแก้วถอดแบบจากพระกริ่งจีนเล็กอันเป็นแบบเดียวกับพระกริ่ง จาตุรงคมุนีที่สร้างโดยเจ้าคุณศรี(สนธิ์)เมื่อปี 2490

พระกริ่งเก้าแก้วเป็นพระกริ่งขนาดกระทัดรัด มีความกว้างสุดที่บัว 1.9 ซ.ม.และจากฐานล่างถึงพระเกศ 3.3 ซ.ม.( 3x3 = 9 )

จัดสร้างโดยคุณชินพร สุขสถิตย์เมื่อ ปี 2527 เพื่อนำรายได้ไปต่อเติมอาคารสำนักงานมูลนิธิหลวงปู่ทิม.สร้างทั้งหมด 2507 องค์ ให้บูชาองค์ละ 129 บาท

มูลเหตุที่ตั้งชื่อว่า พระกริ่งเก้าแก้ว เพราะกริ่งชุดนี้ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในวันคล้ายวันมรณภาพครบ 9 ปีของหลวงปู่ทิม อิสริโกเป็นประการแรก.ประการที่สองได้นำวัตถุมงคล 9 ชนิดที่มีชื่อว่า แก้ว ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับหลวงปู่แก้วมาผสมรวมเป็นองค์พระกริ่งชุดนี้ขึ้น แก้วเป็นนามอันนับว่าเป็นมงคล เพราะเป็นธาตุที่แข็ง และ แสดวถึงความบริสุทธิ์ ผุดผ่อง พ้นจากกิเลสตัณหาและมลทินทั้งสิ้น ทั้งปวงของพระอริยสงฆ์ ซึ่งเรียกว่า ใสประดุจแก้ว วัตถุมงคลที่มีชื่อว่าแก้วมาหลอมรวมเป็นพระกริ่งชุดนี้ขึ้นคือ

1.เศษโลหะจากองค์พระแก้วมรกต ซึ่งได้จากการซ่อมบุษบกโดยนายช่างจากกรมศิลปากรมอบให้มาเล็กน้อย
2.โลหะจากยอดปราสาทวัดพระแก้ว
3.ตะกรุดวัดพระแก้ว จากหอศาสตราคม เป็นตะกรุดโบราณที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแม่ทัพนายกองเวลาออกศึก
4.อธิษฐานแล้วหลอมเหรียญพระแก้วมรกตรุ่นฉลองพระนคร 150 ปีลงไป 9 เหรียญ และรุ่นฉลอง 200 ปีอีก 9 เหรียญ
5.แผ่นยันต์ผ้า และเหรียญหลวงปู่แก้ว(พระเทพสาครมุนี) วัดช่องลม สมุทรสาคร
6.เหรียญอาจารย์แก้ว คำวิทูร ฆราวาสผู้เรืองนาม
7.พระปิดตาเนื้อตะกั่วค่อนข้างชำรุด ของหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี
8.น้ำในสระแก้ว จ.นครราชสีมา ใช้สำหรับพระกริ่งในระหว่างหล่อเป็นองค์พระ
9.วัตถุมงคลของหลวงปู่แก้ว เกสาโร ซึ่งได้สร้างไว้ในรุ่นก่อนๆพร้อมทั้งแผ่นพระยันต์ 108 และนะ 14 ซึ่งหลวงปู่แก้วปลุกเสกให้

นอกจากนี้ยังมีชนวนพระกริ่งชินบัญชร พระชัยฟ้าลั่น พระกริ่งปรโมของหลวงพ่อเริ่ม ตลอดจนเนื้อพระกริ่งปรโมในส่วนที่เหลือจากการหล่อพระกริ่งปรโมและพระชัยบูชา ประจำตระกูล


พระกริ่งเก้าแก้ว สร้างทั้งหมด 3 เนื้อ ดังนี้
1. เนื้อสัมฤทธิ์เดช จำนวน 1,978 องค์ เป็นเนื้อผสมของทองเหลืองและดีบุก ขันสัมฤทธิ์เก่าๆ หลวงปู่แก้ว ท่านเน้นให้เอาดีบุกมาผสมด้วย เพื่อเป็นเคล็ดว่า ดีแล้วบุก เนื้อออกคราบเก่าแบบพระสมัยโบราณ ตอกโค๊ต อุ หงายขึ้น 1 ตัว ด้านหลังขององค์พระ
2. เนื้อนวโลหะ จำนวน 499 องค์ เนื้อนี้เหลือจากการสร้างพระกริ่งปรโม ตอกโค๊ต อุ หงายขึ้น 1 ตัว บริเวณฐานด้านหลังขององค์พระ
3. เนื้อเงินสัมฤทธิผล จำนวน 30 องค์ เป็นเนื้อสัมฤทธิ์เดช 15 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับเนื้อนวโลหะ 15 เปอร์เซ็นต์ และอีก 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นเนื้อเงินเก่ามีเงินพดด้วง เหรียญเงินรัชกาลที่ 5-6-7 และเงินกลมตรายันต์.

พระกริ่งอุดผง มีทั้ง 3 เนื้อ คือ
1. เนื้อสัมฤทธิ์อุดผง หรือ พระกริ่งกวนอู จำนวน 200 องค์ ตอกโค๊ต ปิ ด้านหลังขององค์พระ
2. พระกริ่งเก้าแก้วเนื้อสัมฤทธิ์อีกประมาณ 10 องค์ที่อุดแบบเดียวกับพระกริ่งนวโลหะ,เงิน อุดผง+ทับทิม+พระธาตุครับ ตอก 2 โค๊ตเหมือนกัน
3. เนื้อนวโลหะอุดผง+ทับทิมและพระธาตุ ประมาณ 10 องค์ ตอกโค๊ต อุ หงายขึ้น 2 ตัว และ ตอกโค๊ต ปิ ด้านหลังขององค์พระ บริเวณฐานด้านหลังขององค์พระ
4. เนื้อเงินอุดผง+ทับทิมและพระธาตุ ประมาณ 10 องค์ ตอกโค๊ต อุ หงายขึ้น 2 ตัว บริเวณฐานด้านหลังขององค์พระ

ปลุกเสกโดย
1.หลวงปู่แก้ว วัดละหารไร่ ตั้งแต่ 16 ต.ค. 2527 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันมรณภาพครบ 9 ปีเต็มของหลวงปู่ทิม โดยท่านจะลุกขึ้นนั่งสมาธิแล้วปลุกเสกพระกริ่ง ซึ่งบรรจุไว้ใน***บเหล็กทุกคืนมิได้ขาด ตั้งแต่ 2 นาฬิกา รวม 56 วัน เท่ากำลังพระพุทธคุณ ก่อนที่ผู้สร้าง (คุณชินพร) จะรับพระกริ่งกลับ ได้เรียนถามหลวงปู่แก้วว่า พระกริ่งนี้ดีทางไหน หลวงปู่แก้วท่านตอบว่า ดีทุกทาง แล้วแต่จะอธิษฐานเอา และ ท่านบอกว่า ต่อจากนี้ไปท่านจะไม่ปลุกเสกพระเครื่องอะไรอีกแล้ว พระกริ่งชุดนี้ จึงเป็นพระกริ่งรุ่นแรก และ รุ่นสุดท้าย
ราคาเปิดประมูล24,900 บาท
ราคาปัจจุบัน27,700 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 28 ก.ค. 2558 - 10:42:57 น.
วันปิดประมูล - 29 ก.ค. 2558 - 13:32:54 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเด็กลาดกระบัง (1.5K)(2)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 28 ก.ค. 2558 - 10:43:44 น.



บัตรรับรองครับผม


 
ราคาปัจจุบัน :     27,700 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    bunluesak (220)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM