(0)
<<เคาะเดียว>>พระรูปเหมือนหลวงพ่อศรีแก้ว วัดห้วยเงาะ เนื้อผงผสมว่าน ปี 2536 จ.ปัตตานี พระสภาพสวยมากๆครับ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง<<เคาะเดียว>>พระรูปเหมือนหลวงพ่อศรีแก้ว วัดห้วยเงาะ เนื้อผงผสมว่าน ปี 2536 จ.ปัตตานี พระสภาพสวยมากๆครับ
รายละเอียดแท้ดูง่ายมากๆ พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ สร้าง เป็นพระยุคต้นๆของท่าน ก่อนท่านจะดังเหมือนทุกวันนี้อีกครับ
พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ (สิงหาคม พ.ศ. 2472– ) พระเกจิอาจารย์รุ่นปัจจุบัน ที่น่าเคราพนับถือโดยท่านได้สืบทอดวิชามาจากพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่า โดยสืบวิชาจำพวก สมุนไพร พวกสืบอายุ วัตถุมงคลของพ่อท่านเขียว มีประสบการณ์มาก ประชาชนต่างเลื่อมใสศรัทธาในองค์พ่อท่านเขียว เป็นพระผู้มีศีลวัตรปฏิบัติอันงดงาม เป็นเจ้าอาวาส วัดห้วยเงาะ รูปปัจจุบัน
ประวัติ[แก้]
พ่อท่านเขียว ท่านเกิดเมื่อเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2472 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ณ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นบุตรของนายทอง เพชรภักดี และ นางกิ๊ม นวลศรี ครอบครัวชาวนาในจังหวัดยะลา เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด 7 คน ช่วงชีวิตในวัยเด็ก ท่านเรียนจบแค่เพียงชั้นระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพราะบิดาถึงแก่กรรม จึงต้องออกมาช่วยมารดาทำงานเพื่อช่วยเหลือครอบครัว จนกระทั่งเมื่อมีอายุได้ 20 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดนางโอ (หรือวัดบุพนิมิต) ในปัจจุบัน ตำบลแม่ลาน (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น อำเภอแม่ลาน) จังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2492 โดยมีพระครูมนูญสมณการ วัดพลานุภาพ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแดง ธมฺมโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการคำ ติสสโร เป็นพระอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสานความรู้วิชาให้แก่พ่อท่านเขียวก่อนอุปสมบท หลังจากนั้นท่านจึงได้ฝึกฝนสวดมนต์บทต่าง ๆ ในเจ็ดตำนานและการสวดภาณยักษ์ [1]

พรรษาที่ 2 ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสุนทรประชาราม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
พรรษาที่ 3 พ่อท่านเขียวได้กลับไปที่วัดนางโออีกครั้ง พร้อมกับได้ศึกษาวิชา ตาเลี่ยม กับฆราวาสที่เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐาน รวมทั้งศึกษาสรรพวิชาต่าง ๆ จากฆราวาสอีกหลายท่าน พ่อท่านเขียวยังสอบได้นักธรรมชั้นโท แล้วยังได้รับตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดนางโอ ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในเวลาต่อมา พ่อท่านเขียวเป็นคนที่รักความสันโดษ และใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย มัธยัสถ์ อดออม และรักการอ่านและการศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านกฎหมายหรือทางด้านเกษตรกรรม หรือในทางด้านทางธรรม ท่านก็ศึกษาพระปริยัติธรรม บาลีไวยากรณ์ และ นักธรรม รวมทั้งสวดมนต์พิธีต่าง ๆ [2]
พรรษาที่ 5 สามารถสวดปาฏิโมกข์ได้ มีความเคร่งครัด ไม่ยึดติดในลาภยศ สรรเสริญ [2]
ราคาเปิดประมูล250 บาท
ราคาปัจจุบัน300 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 27 พ.ค. 2558 - 17:51:31 น.
วันปิดประมูล - 07 มิ.ย. 2558 - 16:40:44 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลnumchok27 (169)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 27 พ.ค. 2558 - 17:52:38 น.



ประวัติหลวงพ่อศรีแก้ว

ชาติกำเนิด


หลวงพ่อศรีแก้ว ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ ณ บ้านโคกม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

ท่านเกิดมาเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๕๗ นามบิดามารดาไม่ปรากฏแน่ชัด

ทราบแต่เพียงว่ามีพี่น้องห้าคน มีชื่อปรากฏอยู่ในบันทึกเพียง ๓ คนเท่านั้น

คือ ปู่ทวดพรหมทอง ทวดพัดทอง และหลวงพ่อศรีแก้ว






วัยเยาว์

ตั้งแต่เยาว์วัยเด็กชายศรีแก้วเป็นเด็กที่อยู่ในโอวาทบิดามารดา

ขยันในการทำงาน ชอบสันโดษอยู่กับธรรมชาติ

เมื่ออายุสิบหกปีเด็กชายศรีแก้วได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อจันทร์

ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยเงาะ (ทักษิณสาคร) ในขณะนั้นเล่าต่อ ๆ กันมา

ว่าท่านเดินจากวัดห้วยเงาะไปยังพระธาตุนคร ศรีธรรมราช

เพื่อเข้าพิธียิ่งใหญ่ของพระธาตุ ซึ่งสมัยก่อนพระเกจิท่านรู้กัน นิมนต์กันทางจิต

หมายถึงจิตสู่จิตบอกกันคุยกันนัดแนะกันได้ด้วยสมาธิ บ้างก็บอกว่าเดินอากาศไป

หมายถึงลอยไปตามยอดไม้บ้าง บ้างก็บอกว่าท่านหายตัวไปบ้าง เป็นต้น


บรรพชา

เมื่ออายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ จึงได้รับการอุปสมบท พ.ศ.๒๓๗๘ ณ วัดห้วยเงาะ

โดยมีหลวงพ่อจันทร์เป็นอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หลวงปู่หิด เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระศรีแก้วเป็นพระที่ใฝ่หาในวิทยาคมและท่านเป็นพระที่ขยันหมั่นเพียร

เมื่อเป็นพระภิกษุท่านจึงศึกษาเวทย์จากพระอาจารย์หลวงพ่อจันทร์อย่างเต็มสติปัญญา

จนบรรลุ ในจุดที่สามารถไปไหนมาไหนได้อย่างพระอาจารย์

เมื่อถึงจุดหนึ่งพระศรีแก้วจึงออกธุดงค์เพื่อเสาะหาอาจารย์ที่เรียนเวทในสถานที่ต่างกัน

โดยท่านไม่จำกัดว่าในแต่ละวิชานั้นท่านจะได้รับเพศบรรพชิตหรือจะเป็นฆราวาส

ท่านออกธุดงค์เงียบหายเป็นเวลานานไปกับกาลเวลา

พระศรีแก้วกลับมายังวัดห้วยเงาะอีกครั้งท่านกลายเป็นหลวงพ่อศรีแก้วผู้เข้มขลังด้วยพระเวท

เต็มเปี่ยมด้วยเมตตาปรานีเพียบพร้อมไปด้วยไสยและโหราศาสตร์อีกทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณ

และอีกวิชาหนึ่ง ที่ประจักษ์แก่สายตาชาวบ้านท้องถิ่นบ่อยครั้งนั่นคือวิชา “ สั่งกระสุน ” (ลูกธนู)

วิชานี้มีไว้ปราบเด็กเกเร อันธพาลที่ไม่ยอมเชื่อฟัง หลวงพ่อศรีแก้วท่านสั่งสอนแบบธรรมดา

คือ ผู้นั้นโดนลูกกระสุนของท่านก็จะไม่กระทำในสิ่งที่ผิดที่คิดจะกระทำนั้นอีก


เป็นพระอุปัชฌาย์

เนื่องจากหลวงพ่อศรีแก้ว มีคุณสมบัติคุณธรรมพร้อม

จึงได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔ หลวงพ่อได้ให้การบรรพชา

และอุปสมบทแก่กุลบุตร ผู้มีความศรัทธาได้อย่างกว้างขวาง

ทุกปีจะต้องเดินทางระยะไกล จึงต้องมีช้างเป็นพาหนะช้างของท่านมีอยู่ ๒ เชือก

ช้างพลายชื่อ “ อ้ายหนุน ” มีช้างพังอีกหนึ่งเชือก “ บูดายัง ” ควาญช้างเป็นศิษย์เอกของท่าน

ทำงานพระศาสนา

เมื่อถึงกำหนดหลังจากวันเพ็ญวิสาขะมาศ ก็จะออกเดินทางจากวัดห้วยเงาะ โดยมีช้างเป็นพาหนะ

รอนแรมไปตามทางเพื่อให้การอุปสมบทแก่ชาวพุทธที่อยู่กะลันตันไทรบุรี ปะริด

เมื่อเสร็จภารกิจแล้วก็จะออกเดินทางอ้อมกลับไปทางสงขลากว่าจะเดินทางมาถึงวัดห้วยเงาะ

ก็ถึงเดือน ๘ จึงให้การอุปสมบทแก่วัดใกล้เคียงก่อน วัดห้วยเงาะจะบวชให้เป็นครั้งสุดท้าย

คนธรรพ์นิมิต

หลวงพ่อผู้เปี่ยมด้วยเมตตาแก่ผู้ที่เข้าสนทนาด้วยความปีติในศิลาจารวัตรว่า

“ ตลอดชีวิตของกู ทำนกบินหลาตายตัวเดียว ”

มรณภาพ

เรื่องราวความเป็นมาในชีวิตของหลวงพ่ออีกมาก หลงพ่ออยู่ปลูกฝังความศรัทธา

ทำนุบำรุงพระศาสนา กระทั่งย่างเข้าวัยชรา กระทั่งหลวงพ่อได้ถึงมรณะ

เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๗ อายุ ๙๐ พรรษา ๖๙ ตรงกับต้นปลายของสมัยรัชกาลที่ ๕

แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวพุทธผู้ศรัทธาในหลวงพ่อศรีแก้ว

ต่างก็หลั่งไหลไปนมัสการกราบไหว้บูชา มีบางคนประสบทุกข์ร้อนทางใจด้วยเรื่องราวต่างๆ

ก็บนหลวงพ่อเพื่อขอความเมตตาหากสิ่งใดเป็นไปเพื่อความสุจริตก็จะสมปรารถนา

ในสิ่งนั้นตามสมควร จึงมีคนพูดกันว่า “ บนพ่อท่านในหีบ ”



สถูปบรรจุอัฐ

เมื่อฌาปนกิจศพหลวงพ่อแล้ว เจ้าอาวาสรูปต่อมาคือ พระอธิการชัยพร้อมคณะญาติโยม

ได้ก่อสถูปเพื่อบรรจุอัฐของหลวงพ่อศรีแก้ว ก่อแบบอิฐถือปูนทรงแหลมย่อเหลี่ยม

อยู่ทางใต้ของพระอุโบสถเพื่อสถิตเป็นอนุสรณ์และสักการะบูชาสืบไป


เล่นดีกาแก้บน

หากจะบนเรื่องอะไรแล้ว แล้วจะขอแก้บนด้วยการแสดงดีกาหรือชีหละ

อันเป็นศิลปะการแสดงของชาวมะลายู หลวงพ่อจะโปรดมาก มีผู้แก้บนด้วยการแสดงนี้บ่อยๆ

ย้ายที่บรรจุอัฐ

เมื่อพระครูไพศาลถาวรกิจ เจ้าอาวาสองค์ก่อน ได้เริ่มปฏิสังขรณ์อุโบสถเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐

กระทั่ง พ.ศ.๒๕๐๕ อุโบสถใหม่ก็สำเร็จ จึงได้เชิญอัฐหลวงพ่อศรีแก้วจากสถูปไว้ในที่ใหม่

ใต้ฐานพระประธานอุโบสถ เป็นสถูปที่บรรจุอัฐเดิมชำรุดทรุดโทรมจนหาภาพเดิมไม่ได้

หลวงพ่อให้ฝัน

ในตอนกลางคืนของวันขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๙ ปีมะเมีย พ.ศ.๒๕๒๑

หลวงพ่อได้ปรากฏในความฝันของชาวบ้านห้วยเงาะผู้หนึ่งคือ นางบุญเรือน มณเฑียรทอง

ความว่าได้เดินทางเข้าไปในวัดห้วยเงาะเข้าไปใกล้อุโบสถปรากฏว่าเจอหลวงพ่อผู้เฒ่ารูปหนึ่ง

ลักษณะน่าเลี่ยมใส ดูตาท่านมีแววแห่งความเมตตา

คล้ายจะทักทาย จึงก้มลงกราบนมัสการท่านด้วยศรัทธายิ่ง พลางจ้องมองท่าน

เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน หลวงพ่อพูดเป็นภาษาพื้นเมืองพลางชี้นิ้วไปที่สถูปเก่าทรุดโทรมนั้นว่า

“ หมึงแลถีนุ้ย กูอยู่ตากแดดตากฝน กูกะอยู่ได้ กูเอ็นดูสู กูอยู่ไปเตอะ กูจิรักษา ”

ตื่นขึ้นมานางบุญเรือนจำเหมือนกับเรื่องเกิดขึ้นจริง จึงเล่าความฝันให้พระครูไพศาลถาวรกิจทราบ

และเรื่องนี้ก็ทำความประหลาดใจแก่ชาวบ้านมาก ผู้ที่ศรัทธาและเชื่อมั่น

ในความศักดิ์สิทธ์ของท่านต่างพูดกันว่า “ หลวงพ่อยังอยู่ ยังรักษาเราอยู่ ”





มติที่ประชุม ๒ อย่าง

ต่อมาเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๒๒ พระครูไพศาลถาวรจิตรเจ้าอาวาส พระสมุห์สุธี ชุติรธโร รองเจ้าอาวาส

ได้เรียกประชุมคณะกรรมการและชาวบ้าน โดยปรารภเหตุผลของความฝันนั้นก็มีมติเป็น ๒ ประการ

เพื่อดำเนินงานต่อไป คือ
๑.ให้หล่อรูปเหมือนหลวงพ่อศรีแก้ว เท่าองค์จริงพร้อมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของหลวงพ่อ

แจกจ่ายแก่ผู้ศรัทธาให้ในปี พ.ศ.๒๕๒๒

๒.สร้างวิหาร เพื่อเป็นที่สำหรับสักการบูชารูปเหมือนหลวงพ่อศรีแก้ว และเป็นที่ไว้อัฐอดีตเจ้าอาวาส

กำหนดจะสร้างในปี พ.ศ.๒๕๒๓

พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรุ่นแรก

โดยกำหนดเอาวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๒ พิธีพุทธาภิเษกได้เริ่มขึ้นเมื่อได้ฤกษ์จุดเทียน

ด้วยเพลิงจากดวงอาทิตย์ เวลา ๒๒.๒๐ น. พระคณาจารย์ ๙ รูป พร้อมกันเจริญ




พิธีเททองหล่อหลวงพ่อศรีแก้ว

โดยมีนายปรีดา มุตตาหารัช ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ พระโศภน ธรรมคุณ

วัดนาประดู่เป็นประธานฝ่ายสงฆ์โดยเริ่มพิธีเททองวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๒ เวลา ๐๙.๒๐

พระสงฆ์ ๙ รูป เจริญชัยมงคลคาถา พิธีได้ดำเนินด้วยควมเรียบร้อย

ท่ามกลางมหาชนผู้ศรัทธาอย่างเนืองแน่น

ปรากฏการณ์อันอัศจรรย์

ขณะที่พิธีกรรมพุทธาภิเษกดำเนินไปท่ามกลางพระเกจิอาจารย์นั่งปรกสงบเงียบแสงเทียน นวหรคุณ

ณ แสงเทียนชัย แสงเทียนวิปัสสีที่กำลังปรกติธรรมดาอยู่ภายในปริมณฑล

ก็พวยพุ่งเป็นลำแสงขึ้น สู่ เพดาน พระอุโบสถอย่างน่าอัศจรรย์


หลวงพ่อศรีแก้ว - หลวงพ่อในหีบ

“ บารมีธรรม ” ไม่ว่าจะไกลแสนไกล จะใกล้แสนใกล้ บารมีธรรมก็คือบารมีธรรม ย่อมไปถึง

ทุกแห่งหน ผู้เห็นบารมีธรรมจำนวนเท่าที่เห็นจริงนั้น ส่วนใหญ่เจ้าของบารมีธรรมจะไม่อวดอ้างกลับ

อยู่เฉย บางสถานที่ ถึงกับถ่อมองค์อย่างไม่น่าเกลียดและผู้พบเห็นบารมีธรรมจริงๆก็ย่อมรู้

อยู่แก่ใจของเขาเอง

หลวงพ่อศรีแก้ว ท่านเปรียบประดุจดั่งช้างเผือกและหากใครได้เจอนับได้มีบุญวาสนาอยู่ในตัวผู้

นั้นมาก พอสมควรไม่จำเป็นที่จะต้องถึงจะเป็นการสำคัญที่จะต้องเข้าสักการบูชากราบไหว้ แนบชิด

ปลายจีวรกับตัว ท่านแต่เพียงขนาดเหรียญบูชารูปเหมือนของท่านหากมีอยู่ถือได้ว่า คนผู้นั้นเป็นผู้มี

บุญอยู่ในข้อที่สามสามารถ จะมีบารมีธรรมคุ้มครองตัวอยู่แล้ว กล่าวเช่นนี้ เนื่องจากมงคลอันเป็นสิ่ง

ทดแทนในบารมีธรรมของท่านหลวงพ่อศรีแก้วกว่าจะมาเป็นหรือถึงจุดสูงพอจะเก็บรับบารมีธรรมเพื่อ

ตัวท่าน ทุกอย่างต้องพิถีพิถันถูกต้องตามกาลฤกษ์ตามประสาคนเฒ่าคนแก่บ้านนอกบ้านนา และเพื่อที่

จะให้สิ่งนั้นได้คุ้มครองป้องกันช่วยเหลือผู้คนอื่นอีกมากมายที่มาเจอะเจอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนั้นจะด้วย

บุญญาธิการหรืออาจมีไว้ในครอบครองพร้อมด้วยบูชา จะด้วยกรณีใดก็ตามย่อมได้รับการคุ้มครองเสมอ





เพราะฉะนั้นทุกขั้นตอนการจัดทำจึงต้องประณีตละเอียดลออครบหลักสูตรพระเกจิที่เข้ามาปฏิบัติ

ธรรมในพิธี แม้จะไม่เป็นที่โด่งดังอะไรมากมายแต่เฉพาะคนที่เข้ามาถึงบารมีธรรมย่อมรู้กันว่า อะไร

อย่างไหน แบบใด ไม่ว่าจะเป็นขั้นเทพวิมานใดที่องค์ ท่านแผ่ไปนั้น ถึงไหน ทุกๆองค์ย่อมรู้อยู่แก่ใน

จิตใจขององค์ท่านเองดี

วัตถุมงคลของหลวงพ่อศรีแก้ว นับได้ว่าเป็นสิ่งที่วิเศษแม้ไม่ได้เลอเลิศมากนัก ทุกขั้นตอนทั้ง

บารมีธรรมในรูปเหมือนของวัตถุมงคลที่มีอยู่ในองค์ของท่าน ทั้งได้รับการนั่งปรกปลุกเสกส่งจิตจาก

พระเกจิผู้เพียบพร้อมในรูปขององค์ท่าน อยู่แล้ว นี่คือรูปลักษณะที่แท้จริงในวัตถุมงคลของหลวงพ่อ-

ศรีแก้ว รอดพ้นในภยันตรายทุกๆ อย่างที่บารมีธรรมในองค์ท่านมีพอจะปัดเป่าคุ้มครองได้

หลวงพ่อศรีแก้ว ในตัวท่านนั้นมีแต่การช่วยเหลือโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือในทุกๆอย่าง

ท่านช่วยในสิ่งที่ท่านช่วยได้ และไม่ขัดสวนทางกับหลักธรรมชาติตามที่ ชะตาลิขิตเอาไว้


 
ราคาปัจจุบัน :     300 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    นพเมืองตาก (210)

 

Copyright ©G-PRA.COM