(0)
เคาะเดียว...#หนุมานปราบไพรีพินาศรุ่นแรก ท่านก๋งเตื่อง วัดคลองจากจ.ตราด เนื้อเงินฯ 1+เนื้อชนวนผสมนวะฯ 1+เนื้อทองระฆังฯ 2 # สภาพสวยเดิมพร้อมกล่อง รวม 4 ตน








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเคาะเดียว...#หนุมานปราบไพรีพินาศรุ่นแรก ท่านก๋งเตื่อง วัดคลองจากจ.ตราด เนื้อเงินฯ 1+เนื้อชนวนผสมนวะฯ 1+เนื้อทองระฆังฯ 2 # สภาพสวยเดิมพร้อมกล่อง รวม 4 ตน
รายละเอียดเคาะเดียว..#หนุมานปราบไพรีพินาศ รุ่นแรก ท่านก๋งเตื่อง วัดคลองจาก จ.ตราด เนื้อเงิน ก้นอุดผงฝังตะกรุด จำนวน 1 ตน หมายเลข 153+ เนื้อชนวนผสมนวะ ก้นอุดผงฝังตะกรุด จำนวน 1 ตน หมายเลข 184+เนื้อทองระฆังก้นอุดผงฝังตะกรุด จำนวน 2 ตนหมายเลข 92 , 1100 # สภาพสวยๆพร้อมกล่องเดิม....รวม 4 ตน

วัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนสร้างกุฏิสงฆ์ วัดพนมพริก ต.แสนตุ้ง อ.เขาสมิง จ.ตราด ทดแทนกุฏิสงฆ์หลังเก่าที่ถูกไฟไหม้

- เนื้อเงิน ก้นอุดผงฝังตะกรุด จัดสร้าง 333 ตน
- เนื้อชนวนผสมนวะ ก้นอุดผงฝังตะกรุด จัดสร้าง 555 ตน
-เนื้อทองระฆังก้นอุดผงฝังตะกรุด จัดสร้าง 2,999 ตน

ชีวประวัติ ท่านก๋งเตื่อง เตชปัญโญ อายุ 90 ปี วัดคลองจาก จ.ตราด
ท่านก๋งเตื่อง เกิดวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 เดิมชื่อ นายเตื่อง ปัจจุบันจำพรรษาอยู่วัดคลองจาก ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด นายเตื่อง อาศัยอยู่ในตำบลเเหลมเปาะ ในเขตจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา (เขมร) ชาวบ้านที่นั่นพูดภาษาไทย ท่านมีพี่น้องหลายคน ชาวเกาะกงสมัยนั้นส่วนมากก็มีอาชีพทำไรทำนา มีทำประมงบ้างไม่มาก สมัยนั้นพระเกจิมีด้วยกันสามท่าน ท่านก๋งหมึก ท่านพ่อเวียน วัดประชุมชน ท่านพ่อรอด วัดมรคาราม(วัดพนมกรุง) ในช่วงอายุ ๒๒ นั้นท่านอุปสมบท โดยมี หลวงพ่อรอด วัดมรคาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบวชเป็นพระแล้ว พระเตื่องก็เข้ากราบขอเป็นศิษย์พุทธาคม กับหลวงพ่อรอด ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย พระธรรมคำสั่งสอน และวิชาอาคมต่างๆ พระเตื่องบวชก็ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน วิชาต่างๆจนแตกฉาน ขณะนั้นได้บวชได้ 2 พรรษา ด้วยความยากจนของทางบ้านและครอบครัวที่ท่านต้องรับผิดชอบ พระเตื่องจึงกราบลาหลวงพ่อรอดเพื่อลาสิกขาบท ท่านจึงกลับมาเป็นผู้นาชุมชนให้กับฝ่ายรัฐบาล ประเทศเขมรขณะนั้น จนกระทั่งช่วงอายุ 63 ปี เมื่อท่านเห็นว่าครอบครัวมีความสุขสบายและลูกเติบโตจนช่วยเหลือตนเองได้แล้ว ท่านจึงมีความคิดที่อยากจะกลับเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพักตร์อีกครั้ง ท่านจึงร่ำลาครอบครัวและลูกหลานเพื่อออกบวช ครอบครัวท่านก็ไม่มีใครกล้าขัดศรัทธาที่ในความตั้งใจจะกลับเข้าสู่ร่มผ้า กาสาวพักตร์ที่มีมากของท่าน ท่านจึงไปกราบขอท่านพ่อเลี่ยน เจ้าอาวาสวัดเเหลมเปาะ ให้เป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ พอท่านบวช ท่านก็จำพรรษาที่วัดเเหลมเปาะ อยู่เป็นเวลา 10 กว่าพรรษา แล้วท่านก็เริ่มนำวิชาความรู้ที่ท่านได้ร่ำเรียนกับหลวงพ่อรอด มาทำตะกรุดและลูกอมแจกลูกหลานและชาวบ้านแหลมเปาะ ขณะนั้นตะกรุด มีประสบการณ์จนเป็นที่ล่ำลือและเป็นที่ต้องการมากในหมู่คนเเหลมเปาะและชาวบ้านละแวกใกล้เคียง จนมาครั้งปี 2540 ท่านก๋งเตื่องมาเยี่ยมเจ้าอาวาสวัดคลองม่วง ซึ่งในขณะนั้นท่านกำลังอาพาธ เจ้าอาวาสวัดคลองม่วงก็ฝากฝัง ให้ท่านก๋งเตื่องรับเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองม่วงต่อจากท่าน หากว่าท่านต้องมรณภาพลง ท่านก๋งเตื่องก็ตกลงรับปาก จนกระทั่งเจ้าอาวาสวัดคลองม่วงได้ถึงแก่การมรณะภาพ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกง เเละกระทรวงธรรมการ จึงถวายการเเต่งตั้ง ท่านก๋งเตื่อง เตชปญฺโญ ให้ดำรงตาเเหน่งเจ้าอาวาสวัดคลองม่วงมาตลอด จนกระทั่งปี 2548 ท่านก๋งเตื่องก็เริ่มอาพาธด้วยอาการเหน็บชาที่ขา ท่านจึงได้สละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคลองม่วง(ท่านก๋งบอกด้วยปากท่านเอง) แล้วย้ายมาจำพรรษาที่ประเทศไทย ที่วัดคลองจาก ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ซึ่งลูกหลานท่านก๋งเตื่องก็ได้ตั้งรกรากอยู่ที่หมู่บ้านคลองจากนั้นด้วย ท่านก๋งเตื่องท่านก็ไม่เคยลืมสัญญาที่มีไว้กับอดีตเจ้าอาวาสวัดคลองม่วง ว่าจะดูแลวัดคลองม่วงต่อจากท่าน ท่านก๋งเตื่องจึงไม่ละทิ้งที่จะกลับไปดูแลวัดคลองม่วงถึงแม้ท่านจะมิได้ดำรง ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคลองม่วงแล้วก็ตาม จึงไม่เป็นเรื่องแปลกเลยที่ได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลของท่านก๋งเตื่องทั้ง ในนามวัดคลองม่วงและวัดคลองจาก ท่านก๋งเตื่อง ท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดคลองจาก ท่านก็ได้รับการนับถือจากเจ้าอาวาสวัดคลองจากให้ท่านก๋งเตื่องเป็นประธานสงฆ์วัดคลองจาก ท่านก๋งเตื่องท่านก็ไม่ลืมที่จะทำวัตถุมงคลโดยเฉพาะตะกรุดแจกชาวบ้านคลองจากและชาวกัมพูชาที่เข้ามาทางานในประเทศไทย จนมีประสบการณ์หลายครั้ง และทุกคนก็ได้ยกย่องนับถือท่านว่าเป็น “พระเกจิสองแผ่นดิน(ไทย-เขมร)”ท่าน ก๋งเตื่อง เป็นพระที่สมถะและมีความเมตตาสูงมากๆไม่ว่าท่านจะทำอะไรอยู่ ถ้ามีญาติโยมลูกศิษย์ลูกหามาหาท่าน ท่านก๋งเตื่องก็จะละจากภารกิจตรงนั้นทันที และท่านก๋งเตื่องก็เป็นพระที่มีความกตัญญูกตเวทิตาต่อครูบาอาจารย์ของท่าน มากในเดือน 10 ของทุกกปีท่านก๋งเตื่องจะจัดให้มีพิธีไหว้ครูบาอาจารย์ของท่านไม่เคยเว้น ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีงามให้แก่ลูกศิษย์ลูกหา และพุทธศาสนิกชน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทาให้ชาวคลองจากและชาวกัมพูชาศรัทธาท่านอย่างแรงกล้า ทำให้ชื่อเสียงวัตถุมงคลของท่านลือลั่นขจรออกไปทั้งจังหวัดและเริ่มเป็นที่ รู้จักของผู้สะสมพระเครื่องตามลำดับ หลังจากนั้นจึงได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลของท่านออกมาจานวนหลายรุ่นด้วยกัน วัตถุมงคลของท่านจะมีพุทธคุณเน้นไปทางด้าน คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ปลอดภัย
ประสบการณ์ เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๔ ช่วงเวลาบ่าย นายศักดิ์ชาย บัวแก้ว อาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้างได้ขี่มอเตอร์ไซค์ เพื่อไปรับผู้โดยสาร ขณะที่ออกไปถึงปากซอยคลองสน ได้มีรถบรรทุกสิบล้อบรรทุกดินเกิดเบรกไม่อยู่ ชนรถที่นายศักดิ์ชายขี่มาเข้าที่กลางคันและเหยียบทับรถมอเตอร์ไซค์ลากอยู่ใต้ท้องรถไปไกลประมาณ ๑๐๐ เมตร คนขับรถบรรทุก และผู้เห็นเหตุการณ์นึกว่านายศักดิ์ชายเสียชีวิตแน่ๆ แต่กลับเห็นนายศักดิ์ชายลุกขึ้นยืนแล้ววิ่งออกจากกลางถนนมาหลบริมถนน จึงเป็นที่น่าอัศจรรย์ของผู้พบเห็นเหตุการณ์ในครั้งนั้น ปรากฏว่านายศักดิ์ชายได้พกตะกรุดท่านก๋งเตื่องไว้ในกระเป๋าเสื้อ นี่เป็นเหตุการณ์หนึ่งเท่านั้น จากนับสิบประสบการณ์(บทความโดย " ไผ่ บ่อไร่ " จากหนังสือ "ศักดิ์สิทธิ์ " หน้า ๙ ปีที่ ๒๙ ฉบับที่๖๙๙ ๑ มีนาคม ๒๕๕๕)




-กรุณาพิจารณาก่อนเคาะครับ....


### รับประกันตามกฏทุกประการ ###
ราคาเปิดประมูล4,450 บาท
ราคาปัจจุบัน4,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 28 ก.พ. 2558 - 08:59:34 น.
วันปิดประมูล - 04 มี.ค. 2558 - 07:00:15 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลjumanji (2.2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 28 ก.พ. 2558 - 09:03:03 น.



โค็ตเพิ่ม....นอกเหนือจากที่ก้นครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 28 ก.พ. 2558 - 09:07:35 น.



เนื้อเงินเลข 153+ทองระฆังเลข 92


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 28 ก.พ. 2558 - 09:20:13 น.



เนื้อชนวนผสมนวะฯ เลข 184 + เนื้อทองระฆังฯ เลข 1100


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 28 ก.พ. 2558 - 09:38:49 น.



-โค็ตเพิ่ม....นอกเหนือจากที่ก้นครับ
-เนื้อชนวนผสมนวะฯ 184+เนื้อทองระฆังฯ 1100


 
ราคาปัจจุบัน :     4,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    film_indara (66)

 

Copyright ©G-PRA.COM