(0)
วัดใจ 10 บาท พระหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ 10 บาท พระหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
รายละเอียดวัดใจ 10 บาท พระหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี หลังตราติดชัดเจน พระมากด้วยประสบการณ์ ท่านได้นำเอาพระกรุที่แตกหักของสุพรรณผสมลงไปด้วยครับ ดังนั้นพุทธคุณไม่ต้องกลัวเลย มาพร้อมรางวัลที่ 2 งาน สุโขทัย (14/12/57) ที่ผ่านมาครับ ท่านใดประมูลได้รอประมาน 90 วันนะครับ จะส่งใบประกาศไปให้ครับ
พระวิสุทธิสารเถร (ถิร พึ่งเจริญ) (2445-2527) เจ้าอาวาสช่วง 2483-2827

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2483 พระเทพเทวีประธานคณะกรรมการมณฑลราชบุรี (ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช จวน อุฏฐายี) วัดมกุกษัตริยาราม

ได้ทรงรับพระอนุมัติจากสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ให้ย้ายพระถิร น.ธ.เอก ครูสอนพระปริยัติธรรม วัดสุวรรณภูมิไปเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์

พระวิสุทธิสารเถร เดิมมีสมณศักดิ์เป็นพระครูรักขิตวันมุนี แต่ทั่วไปมักเรียกว่า “หลวงพ่อถิร” เป็นพระเกจิอาจารย์รูปสำคัญของเมืองสุพรรณ และของประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2445 ณ บ้านพูลหลวง ตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของพ่อวาส แม่เพิ่ม “พึ่งเจริญ” ตระกูลผู้ใหญ่ฝ่ายมารดาสืบเชื้อสายมาจากหมื่นเกล้าฯ และยายทวดจัน ซึ่งมีบุตรสาวชื่อยายมี แม่เพิ่มเป็นบุตรของยายมีกับตาสิงห์ ต้นกระกูล “สิงห์สุวรรณ” ส่วนตระกูลข้างเตี่ย (พ่อ) มาจากก๋งผึ้งและย่าอิ่ม เดิมจาก “แซ่ตัง” มาใช้นามสกุลว่า “พึ่งเจริญ” พ่อวาสเป็นบุตรชายของก๋งผึ้งกับย่าอิ่ม หลวงพ่อถิรบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 17 ปี ต่อมาเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2465 ณ วัดหน่อพุทธางกูร โดยมีพระครูโพธาภิรัต (สอน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุวรรณวรคุณ (หลวงพ่อคำ) วัดหน่อพุทธางกูร เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า “ปญฺญาปโชโต”แล้วย้ายไปอยู่จำพรรษาที่วัดสุวรรณภูมิ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบได้นักธรรมชั้นเอก เป็นนักเรียนที่สอบนักธรรมชั้นเอกได้เป็นรูปแรกในนามของจังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาไปอยู่วัดป่าเลไลยก์ เมื่ออายุ 38 ปี พรรษา 18 หลวงพ่อถิรได้เขียนบันทึกประวัติของท่านว่า “ข้าพเจ้าได้ทรงรับอนุมัติจากท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ให้ย้ายจากวัดสุวรรณภูมิ ไปเป็นผู้รักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 พอถึงวันที่ 19 ได้ไปอยู่ ในคืนนั้นได้นิมิตไปว่า ท่านพระครูโพธาริรัต (สอน) เจ้าอาวาสและพระอุปัชฌายะของข้าพเจ้าที่ล่วงไป ได้มาบอกแก่ข้าพเจ้าว่า อยู่ไปเถอะไม่เป็นไร ใครจะทำอะไรไม่ดีก็ช่างเขา แล้วเขาจะพินาศไปเอง”

วันที่ 9 กรกฎาคม 2483 เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์,ผู้รักษาการเจ้าคณะอำเภอเมืองสุพรรณบุรี,และพระอุปัชฌาย์

วันที่ 18 ตุลาคม 2494 เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองสุพรรณบุรี

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2494 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์

วันที่ 5 ธันวาคม 2495 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูรักขิตวันมุนี

วันที่ 5 ธันวาคม 2510 เป็นพระราชาคณะที่ พระรักขิตวันมุนี

วันที่ 5 ธันวาคม 2521 เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาที่ พระวิสุทธิสารเถร

มีเกร็ดประวัติศาสตร์ท้องถิ่นว่า เมื่อหลวงพ่อถิรย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสและไม่เกิดปัญหาเช่นหลวงพ่อโต๊ะ เนื่องจากท่านเป็นที่รักศรัทธาเสื่อมใสของชุมเสือก๊กต่าง ๆ เช่น เสือฝ้าย เสือมเหศวร เสือใบ ที่มักมาหาเครื่องรางของขลังจากหลวงพ่อถิรเสมอตั้งแต่ครั้งอยู่ที่วัดสุวรรณภูมินั้นแล้ว เสือเหล่านี้ต่างพากันประกาศก้องว่า ใครหน้าไหนอย่าได้มารบกวนการสร้างพัฒนาวัดของหลวงพ่อถิร ให้เดือนเนื้อร้อนใจเป็นเด็ดขาด หาไม่เป็นได้เจอกัน…ฟังดูเสือเหล่านี้ก็มีคุณธรรม รักพระศาสนาดีทีเดียว และนั่นก็เป็นเหตุมีผู้กล่าวหาว่า หลวงพ่อถิรเลี้ยงเสือ เลี้ยงโจร ซึ่งท่านก็ตอบด้วยอารมณ์ขันว่า“ข้าไม่ได้เลี้ยงพวกมันหรอก มันเลี้ยงข้าตะหาก…”

เมื่อเสือก๊กต่าง ๆ ลงให้หลวงพ่อถิร นับถือเป็นอาจารย์ ชื่อเสียงความขลังของท่านจึงเป็นที่รู้จักที่วไป กอปรกับท่านมีสีลาจารวัตรงดงาม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีเมตตาจิตจึงเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับนิมนต์ในงานพุทธาภิเษกสำคัญแทบทุกงานในประเทศมาตั้งแต่อายุพรรษาไม่มากนัก

หลวงพ่อถิร นอกจากเป็นพระเกจิเรืองวิทยาคมแล้ว ท่านยังเป็นนักการศึกษา นักอ่าน นักเขียนตัวยงหนังสือประวัติวัดป่าเลไลยก์ ที่ตีพิมพ์ครั้งแรก เป็นผลงานการค้นคว้าของท่านเอง ทางวัดยังรักษาลายมือต้นฉบับเอาไว้อย่างดี

หลวงพ่อถิร ได้จัดให้มีการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี มีภิกษุสามเณรจำพรรษาปีละเกือบร้อยรูป ได้ปรับสานที่ ย้ายกุฏิ ซ่อมพระวิหารใหญ่มุงหลังคา กระเบื้องสี สร้างถนน สร้างศาลาสมเด็จพระนเรศวร ทำการซ่อมและสร้างเสมอมาจดวัดป่าได้รับเกียรติบัตรเป็น วัดพัฒนาตัวอย่าง วัดแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี

ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 เป็นต้นมา หลวงพ่อถิรได้ริเริ่มจัดงานประจำปีวัดป่าเลไลยก์ กำหนดงานเทศกาลปิดทองหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ในวันทางจันทรคติ วันขึ้น 5-9 ค่ำ ของเดือน 5 และเดือน 12 ของทุกปี วัดป่าเลไลยก์เริ่มเปิดกว้างสู่สาธารณชนยิ่งขึ้น

หลวงพ่อถิร ครองวัดเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์รวม 33 ปี นับแต่ปี พ.ศ.2494-2527 (รักษาการเจ้าอาวาสจนถึง พ.ศ. 2494 จึงได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง) มรณภาพเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2527 สิริอายุ 83 ปี พรรษา 61
เกี่ยวกับเรื่องการสร้างพระของหลวงพ่อถิร มีคนที่อยู่รับใช้ลพ.ถิรมาก่อนเมื่อสมัยเขายังเป็นเด็กได้ก้นกุฎิได้เล่าถ่ายทอดให้ฟังว่า การสร้างพระเนื้อดินของท่านเมื่อปี พ.ศ.2495 ได้ทำจากเนื้อพระกรุเก่า เช่นขุนแผนวัดพระรูป ขุนแผนบ้านกร่าง เอาเศษพระที่หักชำรุดนั้นมาทำพิธีบวงสรวงขขอขมาก่อน แล้วนำมาบดจนละเอียดเป็นผง ส่วนที่ยังหยาบคือพวกหินแร่ต่างๆที่อยู่ในเนื้อ แล้วเอาผงดินนั้นมาผสมกับน้ำอ้อยข้นและน้ำมันตั้งอิ้วและตำผสมในครกจนเหนียวหนึบแล้วแบ่งเป็นก้อนๆ นำไปกดพิมพ์พระ คนหนึ่งกด คนหนึ่งปั๊มตราหลัง บางทีหยิบพระออกมาแรง ด้านหลังพระก็จะเป็นจีบ เมื่อสร้างพระเสร็จตามจำนวนที่ท่านต้องการแล้ว ก็ปลุกเสกอยู่อีก 1 ไตรมาส

พิมพ์ของท่านสร้างไว้ส่วนมากจะเป็นพิมพ์ให้โชคให้ลาภท่านจะชอบ มีทั้งองค์ขนาดเขื่องและเล็กจิ๋วเท่าข้อนิ้วก็มี รูปแบบนั้นมีหลากหลาย เช่นขุนแผนแบบต่างๆ พระสังกัจจายน์ (บางคนก็เรียกขุนช้าง), ผงสุพรรณ ถ้ำเสือก็มี รวมไปถึงล้อพิมพ์พระกรุเก่าอื่นๆอีกมาก สำหรับพระรุ่นแรกเมื่อปลุกเสกแล้วได้นำออกให้ประชาชนทำบุญผ้าป่าวันนั้นตรงกับงานวันลอยกระทงของปี 2495 พอดี

ตราสัญลักษณ์ที่ด้านหลังของวัตถุมงคลจากวัดป่าเลไลยก์นั้น หลวงพ่อถิรท่านได้อัญเชิญสัญลักษณ์ที่ประดิษฐานอยู่บนหน้าบรรณของอุโบสถวัดป่าเลไลยก์มาไว้นั่นเอง
(ลักษณะการกดจมลงไปแบบเดียวกันกับตราบนเงินพดด้วงที่ใช้กันในสมัยร.4 )
ตรารูปมงกุฏ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์ "เจ้าฟ้ามงกุฎ" ซึ่งเป็นพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ซึ่งพระองค์เคยเสด็จธุดงค์มาพบวัดป่าเลไลยก์นี้รกร้างมาก สมัยเมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ ภายหลังเมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ได้ทรงมาปฏิสังขรณ์วัดนี้
(บางครั้งตราสัญลักษณ์ที่องค์พระก็จะมีเลข ๔ อยู่ใต้พระมงกุฎด้วย)

ส่วนพระขุนแผนของท่านบางองค์จะมีเหล็กดำๆเสียบอยู่ที่ข้างใต้ นั่นก็คือเข็มของเครื่องเล่นแผ่นเสียงเพราะมีเคล็ดว่าจะได้ดีมีชื่อเสียงเป็นที่โด่งดัง เป็นมงคล ฯลฯ ท่านจึงนำมาเสียบไว้ใต้ฐานของพระ ซึ่งไม่ได้มีทุกองค์ เข็มนี้เสียบในเนื้อพระตั้งแต่ยังไม่แห้งจึงควรเป็นเนื้อเดียวกับพระ ไม่ใช่มาเจาะแล้วฝังทีหลัง ปัจจุบันค่อนข้างจะหายาก
ยังมรพระสวยๆแชมป์อีกหลายรายการนะครับ เชิญคลิกที่รูปค้อนได้เลยครับ
ราคาเปิดประมูล10 บาท
ราคาปัจจุบัน1,110 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 15 ธ.ค. 2557 - 21:35:06 น.
วันปิดประมูล - 16 ธ.ค. 2557 - 22:07:50 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลfoodtech (773)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,110 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ruengchai (186)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM