(0)
เจ้าสัวรุ่นแรก "หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว" เนื้อเงินผสมชนวนหลวงปู่บุญ 2โค๊ด จารย์มือ 1จารย์ *สภาพสวยๆ พร้อมกล่องวัดครับ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเจ้าสัวรุ่นแรก "หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว" เนื้อเงินผสมชนวนหลวงปู่บุญ 2โค๊ด จารย์มือ 1จารย์ *สภาพสวยๆ พร้อมกล่องวัดครับ
รายละเอียดเจ้าสัวรุ่นแรก "หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว* เนื้อเงิน 2โค๊ด จารย์มือ 1จารย์ *ผสมชนวนหลวงปู่บุญและมวลสารอื่นอีกมาก สวยๆ พร้อมกล่องวัดครับ

วันนี้ชื่อเสียงของ พระครูพิจิตรสรคุณ (พร ปภากโร) แห่งวัดบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ดังกระหึ่มทั่วสารทิศ ในฐานะพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและพุทธาคมแกร่งกล้าไม่เป็นรองใคร ปลุกเสกวัตถุมงคลทุกรุ่นล้วนศักดิ์สิทธิ์เข้มขลัง เป็นที่แสวงหาของผู้ศรัทธาและนักสะสมวัดบางแก้ว สันนิษฐานว่าสร้างแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กาลเวลาผ่านไปหลายร้อยปี ทำให้ชำรุดทรุดโทรมอุดมไปด้วยต้นไม้ใบหญ้ารกรุงรัง พระอุโบสถหลังเก่าทรุดเอียงและปูนแตกร้าวจนเห็นก้อนอิฐขนาดใหญ่ด้านใน เคยมีเจ้าอาวาสครองวัดมาหลายรูป เท่าที่สืบค้นประวัติได้มีดังนี้ หลวงปู่ศุข หลวงปู่กลิ่น หลวงพ่อพัฒน์ หลวงพ่อจอน หลวงพ่อจันทร์ หลวงพ่อเก่า และหลวงพ่อปุ่น และสุดท้ายคณะสงฆ์เห็นควรให้ พระครูพิจิตรสรคุณ (พร ปภากโร) มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสถึงปัจจุบันนี้
ว่ากันว่าวัดบางแก้ว มีอดีตพระเกจิ อาจารย์ยุคเก่าที่ผู้คนให้ความเคารพนับถืออยู่ ๒ รูป นั่นคือ หลวงปู่กลิ่น และหลวงพ่อพัฒน์ ต่างก็มีวิชาอาคมแก่กล้าเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว แต่ข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ หายาก จึงไม่ได้รับการเผยแพร่เท่าที่ควร มีเพียงรูปหล่อหลวงพ่อพัฒน์ประดิษฐานอยู่ในวัด และ “งาช้างดำ” ยาวข้างละ ๑ วา สีดำสนิทเหมือนนิล ที่ชาวบ้านนำมาถวาย พระครูศีลกัณตาภรณ์ หรือหลวงพ่อปุ่น กันตสีโร อดีตเจ้าอาวาสไว้ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนใหญ่มาให้วัด เพราะคลื่นมหาชนต่างหลั่งไหลมาขอดู ขอชม บางรายอยากได้ไปครอบครอง จนต้องเก็บรักษากันสุดชีวิต
ครั้นหลวงพ่อปุ่นมรณภาพปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ทิ้งของล้ำค่า “งาช้างดำ” ไว้เคียงคู่วัด จนในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ หลวงพ่อพร ย้ายจากวัดกลางบางแก้วมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางแก้ว ก็รักษางาช้างดำสืบต่อมา ประวัติของ พระครูพิจิตรสรคุณ หรือหลวงพ่อพร เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ เม.ย. พ.ศ. ๒๕๐๖ ที่ ต.สระกระเทียม อ.เมือง จ.นครปฐม บิดาชื่อ หลำ มารดาชื่อ สะอิ้ง นามสกุล บัวคำ วัยเด็กเรียนหนังสือที่โรงเรียนสระกระเทียมวิทยาคมจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ ก็ออกมาทำงานช่วยเหลือครอบครัว ไปทำงานโรงงานใน ต.บางขุนแก้ว อ.นครชัยศรี นานกว่า ๑ ปี บิดามารดาอยากให้บวชทดแทนบุญคุณ จึงพาไปฝากพระปลัดใบ วัดกลางบางแก้ว ช่วยเป็นธุระให้ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๕

โดยพระครูพิจิตรสรคุณ หรือหลวงพ่อพร เล่าว่า สมัยนั้นมีโอกาสใกล้ชิดพระพุทธวิถีนายก หรือหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว แล้วศรัทธามาก บารมีท่านสูงจริง ๆ อยากบวชอยู่กับท่าน จึงหมั่นท่องขานนาคจนเชี่ยวชาญ ตั้งใจจะให้ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ ปรากฏว่า หลวงปู่เพิ่ม มรณภาพเสียก่อนในวันที่ ๖ ม.ค. ๒๕๒๖ ตอนนั้นเสียใจมาก แต่ไหน ๆ ตั้งใจแล้ว จึงเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๗ มี.ค. ๒๕๒๖ โดยนิมนต์พระครูวิบูลย์สิริธรรม วัดตุ๊กตา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดใบ คุณวีโร วัดกลางบางแก้ว เป็นพระ
กรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์คำ วัดตุ๊กตา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “ปภากโร”
เมื่ออุปสมบทเป็นพระสงฆ์แล้ว พระภิกษุพร ก็จำพรรษาอยู่วัดกลางบางแก้ว มีความสนิทสนมกันดีกับ พระปลัดใบ มีโอกาสช่วยงานวัดมากมาย ทั้งช่วยบดส่วนผสมยาจินดามณี เรียนวิชาอาคมต่าง ๆ ซึ่งพระปลัดใบ ได้ถ่ายทอดให้หมดสิ้นไม่ปิดบัง โดยเฉพาะวิชาทำเบี้ยแก้ ที่ได้รับถ่ายทอดโดยตรงจากหลวงปู่เพิ่ม ครั้นพระปลัดใบมรณภาพ พระภิกษุพร ก็ไปปรนนิบัติ พระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) เจ้าคณะอำเภอและเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วรูปถัดมา รวมทั้งไปรับใช้ใกล้ชิด หลวงปู่เจือ ปิยสีโล จนมรณภาพ ก็รับหน้าที่จูงสังขารลงจากศาลา ครั้นวัดกลางบางแก้ว ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายกเสร็จสิ้น พระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) มอบหมายให้ ภิกษุพร คอยดูแล จุดนี้เองทำให้มีโอกาสค้นคว้าตำราและวิชาต่าง ๆ ที่เก็บไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จวบถึงยุคหลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่ม จนแกร่งกล้ารวมทั้งเคยได้รับการถ่ายทอดวิชาจาก หลวงปู่เจือ มาอีกไม่น้อย ยิ่งทำให้เก่งกาจยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ
ภายหลังคณะสงฆ์เห็นว่า ภิกษุพร มีความรู้มีความสามารถ จึงมีมติให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางแก้วตามที่ญาติโยมเรียกร้องขอมา ซึ่งภิกษุพรก็ไม่ทำให้ผิดหวัง มุ่งมั่นพัฒนาวัดบางแก้วอย่างต่อเนื่องเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ จนได้รับสมณศักดิ์ที่ “พระครูพิจิตรสรคุณ” อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะทุ่มเทแรงกายแรงใจพัฒนาวัดสักเท่าใด สิ่งที่ยังขาดแคลนก็คือ ทุนทรัพย์มหาศาล เพราะเสนาสนะ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ล้วนชำรุดทรุดโทรม พระครูพิจิตรสรคุณ จึงตัดสินใจนำความรู้และวิทยาคมที่เล่าเรียนมา จัดสร้าง “เหรียญเจ้าสัว” รุ่นแรกของวัดบางแก้วขึ้น เพื่อมอบให้ญาติโยมที่ทำบุญเป็นที่ระลึก เหรียญรุ่นนี้ดีนอก-ดีในครบถ้วน เพราะใช้ชนวนพระชัยวัฒน์เก่าของ หลวงปู่บุญ ปี พ.ศ. ๒๔๔๔ และชนวนเหรียญเจ้าสัวปี พ.ศ. ๒๕๓๕ หล่อหลอมเป็นชนวนมงคลผสมในเหรียญรุ่นนี้ โดยจัดพิธีเททองหลอมรวมชนวนมวลสารทั้งหมดรวมทั้งเททองนำฤกษ์ เหรียญชุดเนื้อชนวนไปแล้ว ๕๐๐ เหรียญ เมื่อวันที่ ๑๙ พ.ค. ๒๕๕๕ ตรงกับวันเสาร์ เวลา ๐๙.๓๙ น. ยึดฤกษ์เศรษฐี “มหัทธโนฤกษ์”
จากนั้นนำชนวนไปผสมหล่อเหรียญเจ้าสัวเนื้ออื่น ๆ และเปิดให้ผู้สนใจเช่าบูชาสั่งจองตั้งแต่วันที่ ๖ มิ.ย. ๒๕๕๕ เป็นต้นมา เวลา ๐๙.๓๙ น. ตาม “มหัทธโนฤกษ์” ในตำแหน่ง “อำมฤตโชค” มหามงคลสูงสุดเรื่องโชคลาภ และจะเปิดจองถึงวันที่ ๙ ส.ค. ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๐๐ น. ตาม “มหาสิทธิโชค มหัทธโนฤกษ์” แล้วนำชนวนทั้งหมดไปจัดสร้างตามจำนวนสั่งจอง โดยพระครูพิจิตรสรคุณ จะทำพิธีปลุกเสกเดี่ยว ๑ ไตรมาสตามตำรับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จนออกพรรษา จะเปิดให้รับเหรียญในวันที่ ๙ พ.ย. ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๓๙ น. ในฤกษ์ “มหาสิทธิโชค มหัทธโนฤกษ์” เป็นต้นไป
สำหรับเหรียญเจ้าสัวรุ่นนี้ ประกอบด้วย เนื้อชนวนหล่อโบราณสร้าง ๕๐๐ เหรียญ เนื้อทองคำผสมชนวน (ตามจอง) เนื้อเงินผสมชนวน (ตามจอง) เนื้อนวโลหะผสมชนวน ((( สร้างตามจำนวนจอง จองจํานวนน้อยที่สุดตามจำนวนจองครับ ))) เนื้อทองแดงผสม
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน2,800 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 19 พ.ย. 2557 - 10:09:42 น.
วันปิดประมูล - 20 พ.ย. 2557 - 12:53:08 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลMRSOOk (1.5K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 19 พ.ย. 2557 - 10:10:31 น.



.


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 19 พ.ย. 2557 - 10:11:05 น.



(( เนื้อเงินผสมชนวนหลวงปู่บุญ 2โค๊ด จารย์มือ 1จารย์ )) (( เนื้อเงินผสมชนวนหลวงปู่บุญ 2โค๊ด จารย์มือ 1จารย์ ))

(( เนื้อเงินผสมชนวนหลวงปู่บุญ 2โค๊ด จารย์มือ 1จารย์ )) (( เนื้อเงินผสมชนวนหลวงปู่บุญ 2โค๊ด จารย์มือ 1จารย์ ))


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 19 พ.ย. 2557 - 10:11:30 น.



.


 
ราคาปัจจุบัน :     2,800 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    loei99 (65)

 

Copyright ©G-PRA.COM