(0)
เหรียญดังเมือง สมุทรสาคร พระพุทธสิหิงค์ วัดเกตุมดีศรีวราราม ที่หายไปนานแสนนาน พิธีใหญ่ที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมแผ่นโลหะเงินดวงฤกษ์นำหล่อพระพุทธสิหิงค์ เมื่อวันท ี่๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๑






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญดังเมือง สมุทรสาคร พระพุทธสิหิงค์ วัดเกตุมดีศรีวราราม ที่หายไปนานแสนนาน พิธีใหญ่ที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมแผ่นโลหะเงินดวงฤกษ์นำหล่อพระพุทธสิหิงค์ เมื่อวันท ี่๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๑
รายละเอียดประวัติความเป็นมาพระพุทธสิหิงค์จำลองของวัดเกตุมวดีศรีวราราม
โดยพระบรมราชานุญาตให้หล่อขึ้น ณ วัดเกตุมวดีศรีวราราม
ด้วยโลหะเงินบริสุทธิ์หนัก ๙๐ กิโลกรัม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ มีพระบรมราชานุญาตให้หล่อจำลองพระพุทธสิหิงค์จากองค์จริง
ประดิษฐาน ณ วัดเกตุมวดีศรีวรารามตำบลบางโทรัดอำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสาครโดยโลหะเงิน
ในคราวที่พระภิกษุสงฆ์ทั้งสี่ทิศ มาประชุมอยู่ปริวาสกรรมประพฤติวุฏฐานวิธีตั้งแต่วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๑
ถึงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ทรงเจิมแผ่นดวงฤกษ์และพิธีเทโลหะเงินหล่อพระพุทธสิหิงค์เมื่อวันท ี่๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๑
เวลา ๐๖.๔๑ น. มีรายละเอียดในการหล่อพระพุทธรูปดังนี้
๑. ได้หล่อขึ้นด้วยโลหะธาตุเงินบริสุทธิ์น้ำหนัก ๙๐ กิโลกรัมเศษ
๒. โดยพระบรมราชโองการพระราชธานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้หล่อประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดเกตุมวดีศรีวราราม
๓. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมแผ่นโลหะเงินดวงฤกษ์นำหล่อพระพุทธสิหิงค์
๔. เจ้าอาวาสวัดเกตุมวดีศรีวรารามคณะกรรมการฯและประชาชนทั่วไปพร้อมกับนำแผ่นโลหะธาตุเงิน อุทิศส่วนกุศลแด่พระมหากษัตริย์
ในราชวงศ์จักรีในอดีตอีก ๘ พระองค์
๕. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตจารึกพระนามลงที่แท่นองค์พระพุทธสิหิงค์
๖. พระภิกษุที่มาร่วมทำพิธีพุทธาภิเษก ๑๗๑ รูปได้ดเดินทางมาจาก ๔ ทิศนับว่าเป็นนิมิตหมายที่หาได้ยากได้ร่วมกันลงแผ่นโลหะธาตุเงิน
และบริกรรมหล่อพระพุทธสิหิงค์
๗. พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปก่อนจะเข้าพิธีพุทธาภิเษกได้อยู่บริวาสและปฏิบัติกรรมฐาน ๑๐ วัน ๑๐ คืน ก่อนเพื่อให้จิตใจผ่องใสมีคุณานุภาพยิ่งขึ้น
๘. ช่างของกรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการหล่อตั้งแต่เริ่มแรกจนเสด็จการโดยได้รับพระบรมราชานุญาตให้ถอดแบบจากองค์จริงซึ่งประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรมศิลปากรให้ความร่วมมือด้วยความยินดีทุกประการ
๙. ทางวัดจารึกชื่อกรรมการผู้บริจาคโลหะธาตุเงิน ๑ กิโลกรัม (ราคา ๑,๑๐๐ บาท) ลงในแผ่นหินอ่อนไว้
เป็นการถาวรเพื่อนเป็นอนุสรณ์แก่บุคคลภายหลังสืบไป จะได้อนุโมทนาและเพื่อเป็นประวัติศาสตร์ของการสร้างพระพุทธสิหิงค์
ของวัดเกตุมวดีศรีวรารามด้วย
๑๐. วัดเกตุมดีศรีวรารามเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ “เกตุมวดีย์” นับว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์์ ที่พระพุทธศาสนิกชนทั้งหลายให้ความเคารพนับถือยิ่งนัก
๑๑. กรมศิลปากรบันทึกลงในประวัติศาสตร์การสร้างพระพุทธสิหิงค์จำลองจากแบบองค์จริงประดิษฐานไว้ในจังหวัดสมุทรสาคร
๑๒. พระพุทธสิหิงค์นี้ในประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากรปรากฏว่ามีอยู่ในจังหวัดสมุทรสาครองค์หนึ่ง แล้วหล่อด้วยโลหะทองสำริดน้ำหนัก ๗๓ ชั่ง
ซึ่งหล่อขึ้นในปี พ.ศ.๒๒๓๒ ในแผ่นดินพระเพทราชาปัจจุบันค้นไม่พบว่าได้ประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด
๑๓. หลังจากหล่อเสร็จแล้วได้กำหนดพิธีการฉลองขึ้น ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานในพระบรมมหาราชวัง ณ วัดเกตุมดีศรีวราราม
ประกอบด้วยพิธีสำคัญดังต่อไปนี้
:๑) วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๑๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ คณะกรรมการวัดเกตุมดีศรีวรารามอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์
ขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อทรงพิธียกพระเกตุ ทรงสวมสังวาลนพรัตน์ทรงเจิม ทรงพระสุหร่ายทรงยกเบญจนภามหามงคลรัตนฉัตร
๒) ทรงเจิมเดินใจกลางเมืองหลวงทุกประเทศทั่วโลก
๓) ทรงพระราชทานดินมุมห้องพระบรรทมด้านทิศตะวันออก
๔) ทรงเจิมและทรงพระสุหร่ายธนบัตรขวัญถุงมิ่งขวัญทรัพย์โภคทรัพย์พระราชทาน เพื่อตอบแทนท่านผู้มีจิตศรัทธาร่วมการกุศล ณ วัดเกตุมดีศรีวราราม
๕) พิธีการดังกล่าวข้างต้นนี้ทรงประกอบพิธี ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานซึ่งเป็นที่ประทับประจำพระองค์ท่าน
๖) ระหว่างวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๑๕ ถึงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓ หลังจากทรงพิธีแล้วก่อนนำไปประดิษฐาน เป็นพระประธานในอุโบสถ
วัดเกตุมดีศรีวรารามได้อัญเชิญประดิษฐาน ณ พระแท่นทิพยรโหฐานวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์ท่าเจียนพระนคร) ซึ่งเป็นวัดที่
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่๑) ทรงสร้างขึ้นอันเป็นสมัยเดียวกันกับที่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน
คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์และจักรีวงศ์
๗) วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓ อัญเชิญด้วยพิธีขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำไปประดิษฐานบนพระแท่นบัณฑูรสุรสีหาสน์ปฏิมารัตนบัลลังก์
ในมณฑปพิธีลานหน้าพระบรมธาตุเกตุมวดีย์
๘) พิธีประกอบด้วยราชวัตร๗ชั้นและฉัตรไชยพิธี ๑๑๒ คัน
๙) พิธีสวดพุทธาภิเษกโดยพระพิธีจากอารามต่าง ๆ ในพระนคร ๑๒ อาราม
๑๐) พระธรรมกถึกแสดงพระธรรมเทศนา “มหาสมัยสูตร” และพระพิธีสวดตำนาน “มหาสมัยสูตร”
๑๑) มหาชนทั้งหลายบูชาพระไตรปิฎกทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เพื่อยกบูชาพระธรรมคำสั่งสอนด้วยผ้าป่า ๘๔,๐๐๐ กอง
๑๒) คณะสงฆ์ซึ่งประกอบพิธีด้วยพระราชาคณะ พระสังฆาธิการและพระเจ้าอาวาสในจังหวัดสมุทรสาคร สวดพระสูตรและตำนานต่างๆวันละ ๙ รูป
ผลัดเปลี่ยนไปตลอดงาน
๑๓) พระภิกษุสงฆ์เดินทางจากทิศทั้ง ๔ จำนวนประมาณ ๒๐๐ รูปเศษ นั่งปรกบริกรรมทำพิธีพุทธาภิเษก
๑๔) พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปก่อนจะเข้าพีธีพุทธาภิเษก ต้องเข้าอยู่ปริวาสกรรมและปฏิบัติพระกรรมฐานเสียก่อน
๑๕) กระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้นำดินจากเมืองหลวงทุกประเทศนำมาประกอบพิธี เพื่อขออำนาจพุทธคุณบารมีคุ้มครอง
ให้ปวงชนทั่วโลกมีความสันติสุขโดยทั่วถึงกัน
๑๖) กระทรวงมหาดไทยจัดส่งดินหลักเมืองทุกจังหวัดในประเทศไทยเข้าประกอบพิธีพุทธาภิเษก เพื่อให้พระศาสนาตั้งมั่นคงรุ่งเรื่องสืบชั่วกาลนาน
และให้ประชาชนมีความร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วกัน
๑๗) เจ้าคณะจังหวัดคณะสงฆ์ทุกจังหวัด จัดส่งดินทรายในกระถางธูปพระประธานในอุโบสถเข้าพิธีพุทธาภิเษก เพื่อความมั่นคงรุ่งเรืองแห่งพระศาสนา
๑๘) คณะสงฆ์จตุรทิศผู้มาปฏิบัติปริวาสกรรมดำดินแร่ธาตุ ว่าน จากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และในถ้ำในเขาทั่วไปเข้าประกอบพิธีี
๑๙)พระครูใบฎีกาพยนต์ เขมเทโว เจ้าอาวาสฯ นำดินกำ ดินแท่งทอง ดินฤๅษีสม ดินม้วน แก้วแกบผสมน้ำทิพย์ ช้างสาร ลิงลม กาน้ำ ราชสีห์
อันนี้เป็นของพระฤๅษี พระโพธิสัตว์ ได้อธิษฐานสร้างบารมีไว้เข้าประกอบพิธี
๒๐) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานดินมุมห้องบรรทมด้านทิศตะวันออกเข้าประกอบพิธี
๒๑) ดินทั้งหลายดังกล่าวแล้วข้างต้นนั้นหลังจากเข้าพิธีพุทธาภิเษก แล้วอัญเชิญพุทธบารมีนำบรรจุไว้ใต้พระแท่นองค์พระพุทธสิหิงค์
เพื่อให้พระพุทธบารมีคุ้มครองป้องกันศาสนา และสรรพสัตวทั้งหลายให้มีความรุ่งเรืองสันติสุขโดยทั่วถึงกัน
๒๒) เสร็จพิธีแล้วอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานคู่บารมีเป็นศักดิ์ศรีพระบวรพุทธศาสนาทั้งเทวดาและมนุษย์ได้สักการบูชาสืบต่อไปชั่วกาลนาน

เหรียญพิธีใหญ่ที่สุด เกจิยุคนั้นทั้งหมด ทั่วฟ้าเมืองไทย ไม่ว่าภาคไหน หลวงพ่ออะไรบ้างต้องถามคนเมือง สมุทร โลหะที่ใช่สร้างแก่ทอง พิเศษ ไม่มีเหรียญใดในยุคนั้นเหมือน
ใครตามหามานานแสนนานต้องที่นี่เดียวครับ ลูกเมืองสมุทรเอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม ผมลูกเมืองขุนแผนขอให้เป็นศิริมงคลคืนสู่คนท้องถิ่น
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน700 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 22 ต.ค. 2557 - 19:43:32 น.
วันปิดประมูล - 27 ต.ค. 2557 - 22:43:52 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลkankarn (453)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     700 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    อ้วนดำเด้ง (919)

 

Copyright ©G-PRA.COM