(0)
เหรียญเจ้าสัว 2 วัดกลางบางแก้ว เนื้อนวะ ปี 35 เลี่ยมทอง พร้อมบัตรการันตี







ชื่อพระเครื่องเหรียญเจ้าสัว 2 วัดกลางบางแก้ว เนื้อนวะ ปี 35 เลี่ยมทอง พร้อมบัตรการันตี
รายละเอียดเหรียญเจ้าสัว ตำรับหลวงปู่บุญ ซึ่งวัดกลางบางแก้วได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้นได้นำตำรับของหลวงปู่บุญมาปฏิบัติการตามขั้นตอนต่างๆ อย่างครบถ้วน โดยมีท่านพระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) เจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี และเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วเป็นผู้ดำเนินการ พระอาจารย์เจือ ปิยะสีโล ศิษย์หลวงปู่เพิ่มผู้รับการถ่ายทอดพุทธาคมมาจากหลวงปู่บุญ อันถือว่าได้สืบทอดวิทยาคมมาจากหลวงปู่บุญเป็นผู้จารอักขระแผ่นยันต์ตามตำรับเหรียญเจ้าสัว อันประกอบด้วยยันต์ต่างๆ มากมาย เช่น ยันต์มหาโภคทรัพย์ 109 ยันต์มหาเศรษฐี เรือนเงิน-เรือนทอง ยันต์มหาลาภสังกัจจายน์ ยันต์มหาวาสนาบารมี 16 พระอรหันต์ และยันต์พระพุทธเจ้าตรึงไตรภพ เป็นต้น หล่อหลอมรวมกับชนวนโลหะพระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญ ตลอดจนตะกรุด ทองคำ เงิน และทองแดงของหลวงปู่บุญ ซึ่งตกค้างอยู่ในกุฏิเก่าของท่าน นอกจากนี้ยังได้รับชนวนพระสำคัญ และยันต์จากคณาจารย์ต่างๆ มากมายมาร่วมผสมในเนื้อโลหะของเหรียญเจ้าสัวรุ่นนี้ด้วยมากมาย คือ

- ชนวนพระกริ่งวัดสุทัศนเทพวราราม
- ชนวนพระกริ่งนเรศวร เมืองงาย
- ชนวนพระกริ่งบัวรอบ วัดบวรนิเวศวิหาร
- ชนวนพระกริ่งนเรศวร วังจันทร์ พิษณุโลก
- ชนวนพระกริ่งทักษิณชินวโร พัทลุง
- ชนวนพระกริ่งวัดมะขามเรียง
- ชนวนพระกริ่งดำรงราชานุภาพ อันประกอบด้วย
- แผ่นยันต์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร
- แผ่นยันต์หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง หนองคาย
- แผ่นยันต์หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง
- แผ่นยันต์พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
- แผ่นยันต์หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา
- แผ่นยันต์จากหลวงพ่ออีกกว่าร้อยองค์ทั่วประเทศ
- ชนวนพระนางพญาคุณากร
- ชนวนพระผงสุพรรณทองคำ งาน 400 ปี สมเด็จพระนเรศวร สุพรรณบุรี
- ชนวนพระพุทธชินราช งาน 400 ปี สมเด็จพระนเรศวร พิษณุโลก

แผ่นยันต์ ตลอดจนชนวนโลหะทั้งหมด จะทำการหล่อหลอมรวมเนื้อ เพื่อนำไปสร้างเหรียญเจ้าสัวทองคำ เงิน นวโลหะ และทองแดง ในวันอังคารที่ 14 เมษายน 2535 เวลา 07.19 น. อันได้ตำแหน่ง มหัทธโนฤกษ์ คือ ฤกษ์แห่งผู้มีทรัพย์ ณ วัดกลางบางแก้ว ท่ามกลางพิธีกรรมอันถูกต้อง

ลักษณะของเหรียญ เหมือนเดิมทุกประการ โดยกรรมวิธีการถอดแบบจากองค์ที่งดงามที่สุด ซึ่งมีค่าหลายแสนบาท ด้วยกรรมวิธีการถอดแบบที่ประณีตบรรจง และพิถีพิถันในการหล่อหลอมจัดสร้างเพื่อให้งดงามสมบูรณ์ทุกเหรียญเสมอเหมือนกัน ด้านหลังเหรียญบรรจุพระคาถามหาโภคทรัพย์ของหลวงปู่บุญคือ อะระหัง ภควา นะชาลีติ

หลังจากเปิดจองแล้วได้มีผู้สั่งจองเหรียญเจ้าสัวจำนวนมาก เป้าหมายที่ตั้งไว้สำหรับเหรียญเงิน จำนวน 1,500 เหรียญ และเหรียญนวโลหะ 3,000 เหรียญ ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2535 อันเป็นวันกำหนดปิดจองนั้นมียอดสั่งเกินเป้ามากมาย คณะกรรมการจึงสร้างเฉพาะเท่าจำนวนสั่งจอง ซึ่งเหรียญแต่ละชนิดมีจำนวนการสร้างดังนี้ 1.เหรียญเจ้าสัวทองคำ 700 เหรียญ
2.เหรียญเจ้าสัวเงิน 6,685 เหรียญ 3.เหรียญเจ้าสัวนวโลหะ 7,230 เหรียญ 4.เหรียญเจ้าสัวทองแดง 9,000 เหรียญ พิธีพุทธา-มังคลาภิเษก คณะกรรมการ ซึ่งมี พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เป็นประธานการสร้างฝ่ายฆราวาส ได้นำมงคลวัตถุชุดนี้ทั้งหมดไปให้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช แผ่เมตตาจิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นปฐมฤกษ์

จากนั้นในวันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2535 ทำพิธีพุทธามังคลาภิเษก ณ โบสถ์วัดกลางบางแก้ว ในเวลา 13.39 น. อันได้ตำแหน่ง ?มหัทธโนฤกษ์คือฤกษ์แห่งผู้มีทรัพย์ โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ เป็นประธานจุดเทียนชัย และได้นิมนต์พระคณาจารย์มาร่วมพิธีพุทธมังคลาภิเษก ดังนี้คือ

1.พระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว เจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
2.พระอาจารย์เจือ ปิยะสีโล วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
3.พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
4.พระครูเกษมนวกิจ (เต้า) วัดเกาะวังไทร จ.นครปฐม
5.พระครูเกษมธรรมรักษ์ (ยะ) วัดท่าข้าม จ.นครปฐม
6.พระครูสาธุกิจวิมล (เล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม
7.พระครูปุริมานุรักษ์ (พูล) วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
8.พระครูวิชัยวุฒิคุณ (ดี) วัดสุวรรณาราม จ.นครปฐม
9.พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ จ.นครปฐม
10. พระครูสุนทรวุฒิคุณ (พุฒ) วัดกลางบางพระ จ.นครปฐม
11. พระครูชัยสิทธิ์วิศาล (ลำเจียก) วัดศาลาตึก จ.นครปฐม
12. พระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
13. พระครูกาญจโนปมคุณ (ลำใย) วัดทุ่งลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี
14. พระราชญาณรังสี (หลวงตาจันทร์) วัดป่าชัยรังสี จ.สมุทรสาคร
15. พระราชมงคลญาณ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
16. พระครูศรีวิสุทธานุวัตร วัดไตรมิตร กรุงเทพฯ
17. หลวงพ่อขาว วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา
18. หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข จ.สิงห์บุรี
19. พระราชสิงหคณาจารย์ (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
20. พระครูอินทคณานุสรณ์ (เจ็ก) วัดระนาม จ.สิงห์บุรี
21. พระครูวิชาญชัยคุณ (สำราญ) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
22. หลวงพ่อนะ วัดหนองบัว จ.ชัยนาท
23. หลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ จ.ชัยนาท
24. หลวงพ่อบุญตา วัดโคกเกตุ จ.ลพบุรี
25. หลวงพ่อต่วน วัดตะวันเย็น จ.ลพบุรี
26. หลวงพ่อเฮ็น วัดดอนทอง จ.ลพบุรี
27. พระครูนิวาตธรรมโกศล (แนม) วัดเขาหน่อ จ.นครสวรรค์
28. หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ จ.นครสวรรค์
30. พระครูนิยุตธรรมกิจ (เศียร) วัดอินทาราม จ.นครสวรรค์
31. หลวงพ่อเสน่ห์ วัดสว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี
32. หลวงพ่อตี๋ วัดสังกัสคีรี จ.อุทัยธานี
33. พระครูอุทัยคณาภิรักษ์ (ประชุม) วัดพิชัยปุรณาราม จ.อุทัยธานี
34. พระครูวิรุฬห์ หิรัญพงษ์ (เชื้อ) วัดคงคาราม จ.พิจิตร
35. พระครูสุตพลวิจิตร (คร่ำ) วัดวังหว้า จ.ระยอง
36. พระครูสุนทรธรรมานุศาสน์ (รวย) วัดท่าเรือแกลง จ.ระยอง
37. พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (ดี) วัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี
38. พระครูธรรมสารรักษา (ป่วน) วัดหนองบัวทอง จ.สุพรรณบุรี
39. พระครูปรีชาวุฒิคุณ (ฮวด) วัดดอนโพธิ์ทอง จ.สุพรรณบุรี
40. พระครูภาวนาวรกิจ (เล็ก) วัดเขาดิน จ.กาญจนบุรี
41. พระครูสุคนธศีลคุณ (หอม) วัดท่าอิฐ จ.อ่างทอง
42. พระครูนนทสิทธิการ (ประสิทธิ์) วัดไทรน้อย จ.นนทบุรี
43. พระครูวิชัยประสิทธิคุณ (เชิญ) วัดโคกทอง จ.พระนครศรีอยุธยา
44. พระครูเกษมคณาภิบาล (มี) วัดมารวิชัย จ.พระนครศรีอยุธยา
45. พระครูสิริปุญญาธร (วิชัย) วัดตูม จ.พระนครศรีอยุธยา
46. พระครูสังฆรักษ์ (เฉลิม) วัดพระญาติ จ.พระนครศรีอยุธยา
47. พระครูนนทกิจวิบูลย์ วัดปากน้ำ จ.นนทบุรี
48. พระครูสุนันท์วิริยาภรณ์ (เก๋) วัดแม่น้ำ จ.สมุทรสงคราม
49. พระครูสุนทรจริยาวัตร (ม่วง) วัดยางงาม จ.ราชบุรี
50. พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม
51. หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จ.ประจวบคีรีขันธ์
52. หลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี
53. ครูบาสร้อย วัดสันติคีรี ท่าสองยาง จ.ตาก
54. ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่
55. พระครูไพโรจน์รัตโนบล (บุญมี) วัดสระประสานสุข จ.อุบลราชธานี
56. หลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
57. หลวงปู่พั่ว วัดบ้านนาเจริญ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
58. หลวงปู่กิ วัดสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
59. พระครูเกษมธรรมญาณ (นำ) วัดมัชฌิมภูมิวราราม (วัดท่ายายหนี) อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช
60. พระครูวิจารณ์รัตนคุณ (พ่อท่านแก้ว) วัดท่าบอน จ.สงขลา
61. พระอธิการเชือน วัดโพธาราม จ.ตรัง
62. พระครูกาชาด (บุญทอง) วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
63. พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
64. พระครูขันติยาภรณ์ (พรหม) วัดบ้านสวน จ.พัทลุง
65. พระครูพิพิธวรกิจ (คล้อย) วัดภูเขาทอง จ.พัทลุง
66. หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร
67. หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง
68. หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง จ.นครปฐม
69. หลวงพ่อบัวเผื่อน วัดหลังเขา จ.นครสวรรค์
70. พระอาจารย์แอ๊ด วัดทอง จ.พระนครศรีอยุธยา
71. พระครูพิลาศธรรมคุณ (ถม) วัดธรรมปัญญาราม จ.สุโขทัย
72. พระครูสุนทรธรรมวิจารณ์ (ยก) วัดคลองโปร่ง จ.สุโขทัย
73. พระครูจันทโรภาส (จันทร์) วัดท่าข่อย จ.สุโขทัย
74. พระคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรพุทธบริษัทจีนเนตา (เย็นเต็ก) วัดโพธิ์แมนคุณาราม กรุงเทพฯ
75. พระคณาจารย์จีนธรรมคณาธิการไพศาลสมณกิจ (เย็นเชี้ยว) วัดมังกรกมลาวาส กรุงเทพฯ
76. พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ (ผูก) วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
เหรียญเจ้าสัว ตำรับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว รุ่น 2 เนื้อนวโลหะ ปี 2535 ในเรื่องของพุทธคุณนั้น เด่นทางด้านโชคลาภ ทำมาค้าขาย และทางด้านแคล้วคลาดอีกด้วย เชื่อกันว่าผู้ที่ห้อยบูชาเหรียญเจ้าสัวแล้วทำมาหากินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จะเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยทุกคน จึงได้รับสมญานามว่าเหรียญเจ้าสัว
ราคาเปิดประมูล15,000 บาท
ราคาปัจจุบัน29,100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 17 ต.ค. 2557 - 15:37:02 น.
วันปิดประมูล - 19 ต.ค. 2557 - 02:01:04 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลNineT (482)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     29,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    รักษ์ปักษ์ใต้ (217)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM