(0)
พระกริงถิอคัมภีร์ พระยาปรมานุชิตโนรส เนื้อเงิน ในหลวงเททองครับ 2533








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริงถิอคัมภีร์ พระยาปรมานุชิตโนรส เนื้อเงิน ในหลวงเททองครับ 2533
รายละเอียดพระกริ่งปรมาฯ ปี 2533 คณะกรรมการจัดสร้างได้บรรยายพระพุทธลักษณะพิเศษ แห่งองค์พระกริ่งปรมาฯ นี้ไว้ว่า

1.แสดงถึงพระปัญญาธิคุณ คือพระเศียรเป็นทรงบัวตูม พระเกตุมาลาเป็นต่อมกลม ถัดขึ้นไปเป็นเปลวรัศมีทรงดอกบัวตูม พระพักตร์เป็นแบบพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี ไรพระศกเป็นก้นหอย ประทับนั่งขัดสามธิเพชร ห่มจีวรเฉวียงบ่าพาดผ้าสังฆาฏิ

2.พระหัตถ์ทั้งสองข้างทรงถือสมุดข่อย อันเป็นพระคัมภีร์จารึกพระไตรปิฎก ซึ่งแสดงถึงการพัฒนาการของปางพระพุทธรูป ด้วยเหตุที่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระปรามานุชิตชิโนรส ทรงค้นคว้าแบบของปางพระพุทธรูป จำนวน 37 ปาง เพื่อสร้างเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายอดีตบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งกรุงเก่า 33 พระองค์ กรุงธนบุรี 1 พระองค์ และกรุงรัตนโกสินทร์ 3 พระองค์

3.ฐานเป็นรูปใบโพธิ์ 7 ใบ ภายในใบโพธิ์มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ มีความหมายถึง ทรงประสูติในวันเสาร์ วันที่ 7 แห่งสัปดาห์ ทรงสถิต ณ วัดโพธิ์ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก(UNESCO) ประกาศยกย่องสดุดีเป็นพระองค์ที่ 7 ของประเทศไทย

4.ที่ฐานด้านหน้า เป็นตราพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ซึ่งแสดงพระฐานันดรศักดิ์ พระบรมราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่อันเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพบูชาแห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์

5.ที่ฐานด้านหลัง เป็นตราฉัตร 5 ชั้น ภายในใบโพธิ์หมายถึง พระฐานันดรศักดิ์และพระสมณศักดิ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าสถิต ณ วัดโพธิ์

6.ใต้ฐาน จารึก 11 ธันวาคม 2533 อันเป็นครบรอบ 200 ปี นับแต่วันประสูติ และจารึกอักขระภาษาบาลีตัวขอมว่า สุ จิ ปุ ลิ อันเป็นหัวใจนักปราชญ์นั่นเอง

7.แผ่นปิดฝาเม็ดกริ่ง ทำเป็นรูปพญานาควาสุกรี อันเป็นสัญลักษณ์พระนามเดิมของพระองค์คือ “พระองค์เจ้าวาสุกรี”

8.ขนาดความสูง รวมฐาน 25 เซนติเมตร ขนาดหน้าตักกว้าง 1.5 เซนติเมตร

สำหรับ “พระกริ่งเนื้อทองคำ” และ “พระกริ่งเนื้อเงิน” ได้นำทองคำและเงินบริสุทธิ์ไปรีดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วมอบให้พระเกจิที่เชี่ยวชาญลงอักขระ พระยันต์ 108 ดวง และ นะปถมัง 14 นะ จึงนับว่าพระกริ่งปรมาฯ เนื้อทองคำและเนื้อเงิน เป็นพระกริ่งที่ดีทั้งในและดีทั้งนอก พิธีกรรมกระทำภายในพระอุโบสถวัดเชตุพนฯ โดยนำโลหะชนวนที่เหลือ ไปผสมกับโลหะชนิดอื่นๆ และแผ่นทองแดง ที่ลงอักขระเลขยันต์ 108 ดวง และ นะปถมัง 14 นะ เช่นกัน จึงเป็นเนื้อนวะโลหะ ที่สมบูรณ์ครบถ้วน นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงเททองหล่อ “พระกริ่งปรมาฯ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และ เนื้อนวะโลหะ อย่างละ 1 กระบอก ในวันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2533 วันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 จากนั้นช่างนำไปผสมเจือในแต่ละเนื้อ ที่จะทำการหล่อพระกริ่งทั้งสามเนื้อดังกล่าวสืบไป ต่อมาวัดเชตุพนฯ ได้ประกอบพิธีกดพิมพ์พระผงวาสุกรี เป็นปฐมฤกษ์ในวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2533 เวลา 21.29 น. ณ ตำหนักวาสุกรี และประกอบพิธีพุทธาภิเษกและชัยมังคลาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดเชตุพนฯ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2533 โดยท่านสมเด็จญาณสังวรพระสังฆราช ทรงเป็นองค์ประธาน พร้อมด้วยพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณอีก64รูป เช่น

หลวงพ่อคูณวัดบ้านไร่

หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ

หลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง

หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม

หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง

หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ

หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก

หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร

หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม

หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง

หลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วง

หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ

หลวงปู่คำพัน วัดธาตุมหาชัย

หลวงพ่อยิค วัดหนองจอก

หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า เป็นต้น

--------------------------------------------------------------------------------

พระกริ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ

สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสUNESCOได้ประกาศสดุดี ยกย่อง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นบุคคลสำคัญของโลก และฉลองพระประสูติกาลครบ ๒๐๐ ปี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีเททองหล่อ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จฯทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก

พร้อมด้วยพระคณาจารย์ผูทรงวิทยาคุณ ๖๕ รูป

พระกริ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสนี้สร้างตามตำราการหล่อพระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วที่ตกทอดมายังสมเด็จพระวันรัตเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดพระเชตุพนฯ ก่อนจะแพร่หลายไปยังวัดบวรฯ(พระกริ่งปวเรศ) , วัดสามปลื้ม(ท่านเจ้ามา) , และวัดสุทัศน์ฯ(สมเด็จพระสังฆราชแพ)
ราคาเปิดประมูล10 บาท
ราคาปัจจุบัน3,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 17 ก.ย. 2557 - 11:00:23 น.
วันปิดประมูล - 26 ก.ย. 2557 - 11:00:23 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเด็กท่าพระ (4K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     3,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM