(0)
มาแบบสวยๆเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก 2513







ชื่อพระเครื่องมาแบบสวยๆเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก 2513
รายละเอียดเหรียญพระยาพิชัยดาบหักรุ่นแรก 2513 สภาพสวยเลี่ยมทองพร้อมใช้ ผิวยังแดงอยู่ครับแต่มีเส้นดำๆนิดหน่อยซึ่งเกิดจากการเก็บครับ แต่สภาพโดยรวมยังสวยครับ บางจุดยังมีสีม่วงๆให้เห็นครับ องค์นี้เป็นพิมพ์นิยมครับ บ.ขาด มาพร้อมบัตรรับรองจากเว็บ และมีห่วงเดิมๆด้วยครับ ลองดูครับรับประกันตามกฎครับผม
มีอายุการสร้างพ.ศ.2513 นับถึงปัจจุบันก็ 40 ปี เป็นพิธีมหาพุทธาภิเษกมหาจักรพรรดิ์ พิธียิ่งใหญ่มาก รองจาก พิธี 25 พุทธศตวรรษ เลยทีเดียว จากระยะนั้น ถึงเวลานี้ ได้มีวัตถุมงคลอุบัติขึ้นหลายแบบ หลายประเภท และบางแบบ บางชนิด ได้ถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งจะเป็นด้วยเหตุใด ก็ไม่อาจทราบ หรือบางทีอาจจะเป็นเพราะธุรกิจในเชิงพุทธพาณิชย์ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ ทั้ง ๆ ที่จัดว่าเป็นของดีมีองค์ประกอบอยู่หลายประการคือ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี ในความเป็นยอดวีรบุรุษผู้กล้าหาญ ที่รักชาติ กู้ชาติ เสียสละ ความซื่อสัตย์ กตัญญู เก่งกล้าสามารถ ทั้งชั้นเชิงแม่ ไม้มวยไทย ไร้ผู้ต่อกร และเชี่ยวชาญการต่อสู้ กับพม่าข้าศึก ในด้าน ชั้งเชิงเพลงดาบ เพื่อให้ชนชาวไทยรุ่นหลัง เป็นแบบอย่างที่ดี เจตนาการสร้างดี พิธีกรรมดี คณาจารย์ปลุกเสกดี และประสบการณ์ดี วัตถุมงคลประเภทหรือชนิดหนึ่งที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้คือ”เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์”

เหรียญนี้เริ่มสร้างขึ้นภายหลังจาก ที่ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัย ดาบหัก ครบ 1 ปี เรื่องอนุสาวรีย์นี้ ชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เรียกร้องปรารถนาให้มีขึ้นนานแล้วแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาถึงสมัยนายเวทย์ นิจถาวร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมีพ่อค้า ประชาชน ร่วมกันบริจาคทรัพย์เป็นทุนก่อสร้าง โดยไม่มีงบประมาณแผ่นดินของทางหน่วยงานราชการ มาเกี่ยวข้องเลย เป็นการเกิดจากกำลังศรัทธาอันแรงกล้า ของชาว จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ต้องการเทิดทูนเกียรติประวัติยอดวีรบุรุษผู้กล้าหาญ และเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ของชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และประชาชนชาวไทย ซึ่งเก่งกล้าสามารถทั้งชั้นเชิงแม้ไม้มวยไทย และ ชั้นเชิงทางเพลงดาบ และเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่ง ท่านเป็นทัพหน้าในการออกศึกโจมตีข้าศึกทุกครั้ง คือ”ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก “ ท่านเป็นทหารเอกของพระเจ้าตากสิน มหาราช ในการกอบกู้เอกราช ของชาติไทย ปราบชุมนุมต่างๆ รวบรวมเป็นประเทศชาติไทย และปกป้องอธิปไตยให้พ้นจากข้าศึกศัตรู มาได้จนเป็นประเทศไทย ยอดมหาวีรบุรุษผู้กล้า ผู้สร้างบุญคุญให้กับผืนแผ่นดินไทยทุกตรางนิ้ว มากระทั่งถึงทุกวันนี้ อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ออกแบบโดยกรมศิลปากร ในชุดนายทหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ในลักษณะยืนถือดาบ 2 ข้าง มีผ้ามัดมือที่ถือด้ามดาบติดกับด้ามดาบ เพื่อป้องกันดาบหลุดจากมือ และดาบอีกข้างหนึ่งหักข้างขวา ปั้นแบบโดยปฏิมากรเอก ชั้นครูนั่นคือ”นายสนั่น ศิลากรณ์“ ปฏิมากรเอก ชั้นครู ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นท่านศิษย์เอก ของท่านศาสตราจารย์ ศิลป์ พีรศรี (ศาสตราจารย์ Corrado Feroci โคราโด เฟโรจี ) ชาวอิตาลี ซึ่งศาสตราจารย์ ศิลป์ พีรศรี ท่านได้ปั้นอนุสาวรย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ ประดิษฐานที่ วงเวียนใหญ่(หมายเหตุ:อ้างอิงจากหนังสือ ศิลปวัฒนธรรม) อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ขนาดใหญ่กว่า คนในยุคปัจจุบันจริง 3 เท่า ปั้น แบบ 2 รูปปั้น ทั้งสองรูปปั้นเหมือนกันทุกส่วน รูปปั้นต้นแบบได้เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ กรมศิลปากร และอีกรูปหล่อ ด้วยทองเหลืองและโลหะผสม โดยกรมศิลปากร มีการวางศิลาฤกษอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ. ศ. 2511 จนก่อสร้าง จน แล้วเสร็จ และเปิดอย่างป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ. ศ 2512 และทางคณะกรรมการซึ่งมี ท่านพลโทสำราญ แพทย์กุล แม่ทัพภาคที่ 3 (ยศและตำแหน่งขณะนั้น) เป็นประธาน นายเวทย์ นิจถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ขณะนั้น เป็นรองประธาน พร้อมด้วยคณะกรรมการที่ปรึกษาอันทรงเกียรติอีกหลายท่าน ได้ร่วมดำเนินงานการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหักขึ้น ออกแบบเหรียญโดยกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดย จำลองแบบมาจากอนุสาวรีย์

จากนั้นจึงจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกขึ้น เป็นพิธีมหาจักรพรรดิ์ครั้งยิ่งใหญ่ ฃึ่งรองจาก พิธี 25 พุทธศตวรรษ เลยทีเดียว โดยกราบทูลอาราธนา สมเด็จพระสังฆราช(จวน) วัดมกุฎกษัตริย์ กรุงเทพฯ เสด็จมาเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย พร้อมกันนี้ ทางคณะกรรมการผู้จัดสร้าง ได้กราบอาราธนา นิมนต์พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณร่วมสมัย ซึ่งมีชื่อเสียงทรงวิทยาคุณ เป็นที่รู้จักกันดีจากจังหวัด ต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น

1.สมเด็จ พระสังฆราช (จวน) วัดมกุฏกษัตริย์ กรุงเทพฯ ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย

2.หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง

3.หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว อ.ตรอน อุตรดิตถ์ (ท่านเก่งทุกด้าน ที่ลือลั่นไปถึง ต่างประเทศนั่นคือ กิเลนเงิน-กิเลนทอง นำโชค)

4.หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง อ.เมือง อุตรดิตถ์

5.หลวงพ่อบุญ วัดน้ำใส อ.ลับแล อุตรดิตถ์

6.หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย อ.ด่านลานหอย สุโขทัย

7.หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง อ.กงไกรลาศ สุโขทัย (ท่านดัง ด้านตะกรุดมหาสะท้อน )

8.หลวงปู่คำมี ถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี

9.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ

10.หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์

11.หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค นครสวรรค์

12.หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อยุธยา

13.หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี

14.หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าศาลาลอย ชุมพร

15.หลวงปู่เม้า วัดสี่เหลี่ยม บุรีรัมย์

16.หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า ระยอง

17.หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก ระยอง

18.หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง

19.หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี

20.หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์

21.พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา นครศรีธรรมราช

22.หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง บุรีรัมย์

23.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม

24.หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอเหนือ ศรีสะเกษ

25.หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม สมุทรสาคร

26.หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่

27.พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร

28.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี

29.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี

30.หลวงปู่พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี

31.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม

32.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร

33.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ปราจีนบุรี

34.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี

35.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพ

36.หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว ฉะเชิงเทรา

37.หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม

38.หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ นครพนม

39.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม

40.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร

41.หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง กรุงเทพฯ

42.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี

43.หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช

44.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม

45.หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา

46.หลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ นครศรีธรรมราช

47.หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง

48.หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี

49.หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม ราชบุรี

50.หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี

50.หลวงพ่อมี วัดซำป่างาม ฉะเชิงเทรา

51.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา

52.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่

53.หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา

54.หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น

55.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่

56.หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์

57.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี

58.หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา

59.หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา ปทุมธานี

60.หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงห์หาร อุดรธานี

61.หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี

62.พระครูเมตยานุรักษ์ วัดวชิราลงกรณ์ นครราชสีมา

63.พระครูสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี

64.พระวิบูลเมธาจารย์ (เก็บ) วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี

65.หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาญจนบุรี

66.พระครูกาญจโนปมคุณ (ลำไย) วัดลาดหญ้า กาญจนบุรี

67.หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ เพชรบุรี

68.พระครูไพศาลคณารักษ์ วัดไร่ขิง นครปฐม

69.หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย นครนายก

70.หลวงพ่อสีหมอก วัดเขาวังตะโก ชลบุรี

71.พระครูศรีสัตตคุณ วัดสัตหีบ ชลบุรี

72.หลวงปู่บุญทัน วัดประดู่ศรี ปราจีนบุรี

73.พระอาจารย์สุบิน วัดถ้ำไก่แก้ว นครราชสีมา

74.หลวงพ่อมิ วัดสะพาน ธนบุรี

75.พระครูพิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดคอกหมู กทม.

76.พระอาจารย์บำเรอ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.

77.พระญาณวิริยาจารย์ วัดธรรมมงคล กทม.

78.พระครูพิทักษ์เขมากร วัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา

79.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร

80.หลวงพ่ออินเทวดา วัดลาดท่าใหม่ จันทบุรี

81.หลวงพ่ออินทร์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม.

82.หลวงพ่อกลั่น วัดอินทาราม อ่างทอง

83.หลวงพ่อสาย วัดจันทรเจริญสุข

84.หลวงพ่อไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี

85.หลวงพ่อแดง วัดดอนยอ นครปฐม

86.หลวงพ่อเพชร วัดดงยาง ฉะเชิงเทรา

87.หลวงปู่สี วัดสะแก อยุธยา

88.หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน พัทลุง

89.หลวงพ่อเขียว วัดหรงบล นครศรีธรรมราช

90.หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช

91.หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์

92.หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม ชลบุรี

หมายเหตุ : ขออนุญาติแก้ไขชื่อเกจิอาจารย์ หัวข้อ 93.

93.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจณบุรี ท่านมรภาพ ตั้งแต่ พ.ศ. 2496 (พระวิสุทธิรังษี จ.ชัยนาท เป็นศิษย์ หลวงพ่อเปลี่ยน(พระวิสุทธิรังษี ) วัดใต้ กาญจณบุรี แต่ ชื่อสมณะศักดิ์ ชื่อเดียวกับอาจารย์คือหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ เหมือนกับ ตัวอย่างเช่น หลวงปู่เพิ่ม กับ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม ซึ่งศิาย์กับอาจารย์ มีชื่อสมณศักดิ์ เดียวกัน กับพระอาจารย์ คือ " พระพุทธวิถีนายก" นั่นเอง ทำให้ผมเข้าใจผิด ว่าเป็น หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจณบุรี ครับ

94.หลวงพ่อ อุตมะ วัดวังวิเวการาม กาญจณบุรี

95.หลวงพ่อหว่าง วัดท่าพุทรา กำแพงเพชร(ท่านดังเรื่องตะกรุด)

96.ครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก

97.หลวงพ่อทองสุข วัดโพธิ์ทรายทอง บุรีรัมย์

98.หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร นครสวรรค์

99.หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม ชัยนาท

100.หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน ลำปาง

101.หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง

102.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ อยุธยา

103.หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ พัทลุง

104.หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ชลบุรี

105.หลวงปู่บุญทอง พัทลุง

106.หลวงพ่อหรั่ง พิษณุโลก

107.หลวงปู่อ่อน พิษณุโลก

108.หลวงพ่อรอด พิษณุโลก

109.หลวงพ่อทา วัดดอนตัน จ.น่าน

110.พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร

111.พ่อท่านบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช

112.หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก สุพรรณบุรี

113.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา

114.หลวงพ่อผาย วัดอรัญญิการาม อ.เมือง อุตรดิตถ์

115.หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี

และคณาจารย์ต่างๆที่ไม่ได้กล่าวนามอีกหลายท่าน มานั่งปรกอธิษฐานจิตมหาพุทธาภิเษกในพิธีครั้งนี้ ตามรายนามสุดยอดพระเกจิอาจารย์ ร่วมสมัย ทั่วประเทศไทย ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ บางท่านอาจจะมาไม่ครบ 100 % แต่มีชนวนแผ่นยันต์ของทุกๆท่านที่กล่าวรายนามทั้งหมดทุกๆท่าน 100% แน่นอน แต่ก็ประมาณ 90% ที่มานั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก ตามหมายกำหนดซึ่งมีขึ้น เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2513 ดังนี้ มีการรำมวยชกมวยไทย รำดาบและฟันดาบ จากสำนักดาบพุทธไธสวรรค์ ต่อหน้าอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก เวลา 14.30 น. ยอดพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทั้งหมดมาพร้อมที่ ปะรำมลฑลพิธี เวลา 15.00 น. พระราชครูวามเทพมุณี ฝ่ายพราหมณ์ ได้ทำพิธีบวงสรวงสักการะดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก กับบวงสรวงสักการะเหล่าเทพยาดาทั่วจักรวาล อนันตจักรวาล และบูชาฤกษ์ เป่าสังข์ เคาะบัณเฑาะว์ และลั่นฆ้องชัย เวลา 15.27 น. สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทำพิธีจุดเทียนชัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ แล้วสมเด็จพระสังฆราชทรงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ในมลฑลพิธี ขณะเดียวกันก็เกิดปรากฏการณ์ พระอาทิตย์ทรงกลดและมีฝนตกเป็นละอองเบาบาง ทั้งๆที่เป็นฤดูหนาวและไม่มีเค้าว่าฝนจะตกเป็นอัศจรรย์ ประหนึ่งว่าเหล่าเทพยาดาทั่วจักรวาล อนันตจักรวาล ได้รับรู้ ในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ได้ประพรมประสาทพรด้วยน้ำทิพย์อันศักดิ์สิทธิ์ บรรดาผู้ร่วมพิธีต่างปิติยินดี ในปรากฏการณ์ในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่งถึงเวลา 19.30 น. เริ่มพิธีมหาพุทธาภิเษก พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทั้งหมด เข้านั่งปรกอธิษฐานจิต ในมลฑลพิธีมหาพุทธาภิเษก สลับกับ การสวดมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราช โดยพระพิธีธรรมจาก สำนักวัดราชนัดดารามวรวิหาร กรุงเทพฯ จำนวนสองชุดละ 8 รูป จนตลอดรุ่ง จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 เวลา 06.10 น. กระทำพิธีดับเทียนชัย หลังจากนั้นทางคณะกรรมการได้เปิดจำหน่ายเหรียญพระยาพิชัยดาบหักในงานประจำปีที่ กำหนดขึ้นระหว่าง วันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ 2513 เพื่อให้ผู้มาเที่ยวงานได้บูชากันเป็นการน้อมรำลึกถึง บรรพบรุษผู้กล้าหาญของชาติท่านหนึ่ง นั่นคือ “ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก “ซึ่งเก่งกล้าสามารถทั้งชั้นเชิงแม้ไม้มวยไทยและชั้นเชิงทางเพลงดาบ และท่านเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่งของพระเจ้าตากสิน มหาราช ท่านจะเป็นทัพหน้าในการออกศึกโจมตีข้าศึกทุกครั้ง คือ”ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก “ ท่านเป็นทหารเอกของพระเจ้าตากสิน มหาราช คู่พระทัยในการกอบกู้เอกราช ของชาติไทย ปราบชุมนุมต่างๆ รวบรวมเป็นประเทศชาติไทย และปกป้องอธิปไตยให้พ้นจากข้าศึกศัตรู มาได้จนเป็นประเทศไทยถึงทุกวันนี้ ลักษณะของเหรียญเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ ออกแบบเหรียญโดย กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ด้านหน้า มีรูปพระยาพิชัยดาบหัก ในชุด แม่ทัพนายทหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ยืนถือดาบ 2 ข้างส่วนข้างขวาหัก 1 ข้าง ซึ่งกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ จำลองแบบมาจากอนุสาวรีย์ มีผ้ามัดมือที่ถือด้ามดาบติดกับด้ามดาบ เพื่อป้องกันดาบหลุดจากมือ และดาบอีกข้างหนึ่งหักข้างขวา มุมขอบข้างล่างปรากฎตัวหนังสือไทยว่า “พระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ “ ด้านหลังได้อัญเชิญ มหายันต์ อันศักดิ์สิทธิ์ ต่างๆเช่น มหายันต์ เกราะเพชร หรือ ยันต์อิติปิโส 8 ทิศ หรือ ยันต์กระทู้ 7 แบก ต้นตำหรับ ของอาจารย์แจง ชาวสวรรคโลก จ.สุโขทัย อาจารย์ฆารวาส ซึ่งได้สืบทอดมาจาก ต้นตำราเก่าแก่ ซึ่งได้สืบทอดมาจาก ต้นตำราของราชวงศ์ พระร่วงเจ้า แห่งอาณาจักรสุโขทัย เป็นอาจารย์ฆาราวาส ซึ่งได้ถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา อาจารย์ของ หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี มหายันต์ ของหลวงพ่อเต๋ คงทอง และ มหายันต์ ของ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม



เรียกว่ายันต์ไตรสรณะคม

มหายันต์มะอะอุ มหายันต์หัวใจมนุษย์ มหายันต์พระเจ้า 5 พระองค์ มหายันต์พุทธซ้อน มหายันต์เฑาะว์ มหายันต์ฤษี ฤาฤา ประกอบอักขระขอมและยันต์ตัวนะต่าง ๆ พร้อมกับมีตัวหนังสือ ๑ ก.พ. ๒๕๑๓ ด้านล่างเหรียญ

ในการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ครั้งแรกนี้ ทางคณะผู้ดำเนินการสร้างได้เตรียมการสร้างอย่างดีที่สุด เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี ในความเป็นยอดวีรบุรุษ ที่รักชาติ กู้ชาติ ความซื่อสัตย์ กตัญญู เพื่อให้ชนชาวไทยรุ่นหลัง เป็นแบบอย่าง

ดังนั้น เพื่อให้สมกับเป็น เหรียญยอดวีรบุรุษนักรบผู้เก่งกล้า ทั้งแม้ไม้มวยไทยและชั้นเชิงเพลงดาบ ร่วมกับพระเจ้าตากสินมหาราชกู้เอกราช และรวบรวมชาติไทย โดยคณะกรรมการได้ส่งแผ่นโลหะทองคำ เงิน และทองแดง ไปอาราธนาให้คณาจารย์ผู้ทรง คุณวุติแก่กล้าทางวิทยาคมทุกท่านทั่วประเทศที่ได้ลงรายนามไว้ข้างต้นทุกๆท่าน ช่วยเมตตาลงอักขระเลขยันต์ต่าง ๆ ในแผ่นโลหะต่างๆ ทั้งแผ่นทองคำ แผ่นเงิน และแผ่นทองแดง เพื่อที่จะนำมาหลอมเป็นชนวนอักขระเลขยันต์ต่าง ๆ โลหะศักดิ์สิทธิ์ยังมีการรวบรวมเอาตะกรุดและชนวนวัตถุมงคลรุ่นเก่า ๆอีกเป็นจำนวนมากผสมเพิ่มเติมอีกด้วย มารีดเป็นแผ่นโลหะพร้อมที่จะนำไปปั้มเป็นเหรียญ โดยแบ่งเหรียญโลหะออกเป็นสามชนิดคือ ทองคำ เงิน และทองแดง เรียกว่าเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ปี 2513 นี้ ดีทั้งในคือชนวนมวลสารดี และดีทั้งนอกคือเจตนาการสร้างดี พิธีดี คณาจารย์พุทธาภิเศกดี เลยทีเดียว มีจำนวนการสร้างเหรียญดังนี้

1.เนื้อทองคำสร้างจำนวน 189 เหรียญ สร้างไว้เท่าจำนวน 189 ปีที่พระยาพิชัยดาบหักถึงแก่อสัญกรรม ถึงพ.ศ.2513 ให้บูชาราคาเหรียญละ 999 บาท (สมัยนั้นราคาทองคำบาทละ 450 บาท )

2.เนื้อเงินสร้างจำนวน 999 เหรียญ ให้บูชาราคาเหรียญละ 99 บาท (ราคาสมัยนั้น)

3.เนื้อทองแดงสร้างจำนวน 99,999 เหรียญ บางเหรียญมีกะหลั่ยทองด้วย ไม่ทราบจำนวนกะหลั่ยทอง ให้บูชาราคาเหรียญละ 9 บาท (ราคาสมัยนั้น)

ดังนั้น... จะสังเกตุเห็นเหรียญทองแดง บางเหรียญที่มี ชนวนยันต์ผสม มากๆ จะเห็นเป็นรอยเสี้ยน ลายๆ เป็นแนวๆ ปรากฏให้เห็นอยู่ จึงทำให้ดูง่าย ยิ่งๆขึ้น

4.นอกจากนี้ยังมีเหรียญทองแดงหลวงพ่อเพ็ชร วัดท่าถนน จังหวัดอุตรดิตถ์ 2513 ทั้งแบบหลังมีเข็มกลัด และ แบบหลังไม่มีเข็มกลัด ไม่ทราบจำนวน ในพิธีเดียวกัน



เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ รุ่นแรก ๒๕๑๓ แบ่งออกเป็น 2 บล๊อกพิมพ์ คือ บ.ขาด และ บ.เต็ม(เส้นขีดด้านล่างของ บ.) คือ บ.ของคำว่า “ดาบ” ส่วนด้านหน้าเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ตรงไหล่ซ้ายจะมีจุดไข่ปลา 1 จุด และยันต์ต่างๆ ด้านหลังเหรียญ จะเหมือนกันหมด จะแตกต่างกันที่บ.ขาด และบ.เต็ม เท่านั้น และบล๊อกแม่พิมพ์ทั้ง 2 บล๊อกได้ถูกเจียรทำลายไปทั้งหมด ราคาเช่าหา เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ในปัจจุบันยังไม่แพงนัก ของปลอมมีระบาดมานานแล้วต้องระวัง มีหลายฝีมือ แต่ ถ้าเช็คที่ขอบตัดของแม่พิมพ์ปั้ม ที่ขอบเหรียญ จะชี้ขาดได้ทันที ว่าเก๊ หรือ แท้ ของปลอม หรือของเก๊ ที่ถอดแบบ Computer ก็ยังไม่สามารถ จะทำขอบเหรียญได้ เหมือนของแท้ได้ เพราะเหรียญทั้งหมดนี้ได้ทำการปั้มที่ กองกระษาปณ์ กรมธณารักษ์ กระทรวงการคลัง ปั้มตามจำนวนอย่างแท้จริง จึงทำให้เก็บสะสมอนุรักษ์ไว้ ได้เหมาะสมและเล่นง่ายขึ้น และไม่ได้จ้างโรงงานปั้ม เป็นแสนเป็นล้าน ปั้มจำนวนเกิน นอกพิธี เสริมแล้ว เสริมอีก เหมือนสมัยนี้ ทำเป็นพาณิชย์ เหมือนอย่างสมัยนี้

ที่อุตรดิตถ์นิยม บล็อก บ.เต็ม ซึ่งเป็นบล็อกปั้มเหรียญทองคำ และบล็อกปั้มเหรียญเงิน แต่ที่กรุงเทพ นิยม บล็อก บ.ขาด แต่สำหรับผม นิยมทั้งสองบล็อก ครับ



จึงไม่เป็นที่แปลกใจเลยว่า ทำไมเหรียญ พระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก 2513 จึงเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก เมื่อ 30 ปี กว่าก่อน เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก 2513 รุ่นแรกนี้ ก็มีชื่ออยู่ในสาระบบเหรียญที่มีประสบการณ์ดี เจตนาการสร้างดี พิธีกรรมดี คณาจารย์ปลุกเสกดี เรียกว่าเหรียญนี้ดีทั้งใน และ นอก มีประสบการณ์มากมาย เช่น ทหารค่ายพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์ ที่ได้รับแจกเหรียญ พระยาพิชัยดาบหัก ทุกคนได้ออกปฎิบัติการปราบปราม ผกค.ที่ สมรภูมิ ทุ่งช้าง จ.น่าน สมรภูมิ ยุทธการเชียงของ เชียงคำ จ.เชียงราย สมรภูมิยุทธการภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก และสมรภูม ยุทธการเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นฐานและกองบัญชาการใหญ่ของ ผ.ก.ค. ทางภาคเหนือ ได้มีการปะทะและถูกลอบโจมตีของกองกำลัง ผ.ก.ค. ต่างก็มีประสบการณ์เช่น บ้างก็ถูกยิงไม่เข้าบ้าง ระเบิดไม่ทำงานบ้าง บ้างก็ถูกกระสุนปึน ค. ซึ่งเป็นกระสุนระเบิดไม่แตกบ้าง แตกแต่ไม่เข้าบ้าง และถูกยิงไม่ถูกบ้าง รอดพ้นภยันตรายปลอดภัยทุกคน และเป็นช่วงเดียวกับ สงครามเวียดนามและลาว ในสมัยจอมพลถนอม กิติขจร ได้ส่งหน่วยกองกำลังทหารไทยทุกภาค ฃึ่งทหารไทยมีบทบาทสำคัญที่สุดในศึกสงครามเวียดนามและลาว เพราะภูมิประเทศของประเทศเวียดนามและลาวเป็นป่าเขาเหมือนกับประเทศไทย กองกำลังเวียดนามเหนือหรือเวียดกงจะกลัวกองกำลังทหารไทยมากที่สุด เพราะทหารไทยชินกับสมรภูมิภูมิประเทศแบบนที่เหมือนกันนี้อยู่แล้ว ซึ่งมีทหารค่ายพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์ ด้วยไปร่วมรบ กับหน่วยรบขององค์การสหประชาชาติ อันมีอเมริกาเป็นตัวหลัก หรือตัวเอ้ สนับสนุนทั้ง กำลังทหาร กำลังเงินและอาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อป้องกันประเทศเวียดนามใต้ ให้รอดพ้นจาก ลัทธิคอมมิวนิสต์ ของประเทศเวียดนามเหนือ อันมีรัสเซียเป็นตัวหลัก หรือตัวเอ้ สนับสนุนทั้ง กำลังทหาร กำลังเงินและอาวุธยุทโธปกรณ์ เช่นกัน หน่วยกองกำลังทหารจากทหารค่ายพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์ ที่ได้รับแจกเหรียญ พระยาพิชัยดาบหัก ได้ออก ปฏิบัติการยุทธการ ที่ สมรภูมิเวียดนามและสมรภูมิลาว ได้มีประสบการณ์ ในการปะทะกับกองกำลังทหารเวียดนามเหนือ หรือเวียดกง และถูกลอบโจมตีจากกองกำลัง

เวียดกง บ้างก็ถูกระเบิดเคโมไม่ระเบิดบ้าง ก็ถูกยิงไม่เข้าบ้าง ระเบิด และ จรวด ด้านไม่ทำงานบ้าง และถูกยิงไม่ถูกบ้าง หลายครั้งหลายคราวรอดปลอดภัยกลับมาที่แผ่นดินเกิดกันทุกคน และไม่ว่าประสบการณ์ท้องถิ่น คือถูกยิงไม่ออกบ้าง ถูกยิงไม่เข้าบ้าง และ บ้างก็ รอด ปลอดภัย คลาดแคล้ว จากอุบัติเหตุทางการจราจร และรอดปลอดภัย คลาดแคล้ว อุบัติเหตุต่างๆ มากมายทีเดียว เหรียญนี้ จึงเป็นที่หวงแหนของคนจังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดใกล้เคียง ภาคเหนือ ตอนล่าง กันมากทีเดียว เพราะมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ กันนับครั้งไม่ถ้วน และอนุสาวรีย์ ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก ก็ทรงความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังยิ่งนัก ใครเดือนร้อนมีทุกข์ต่างๆ ต่างก็ได้จุดธูปเทียนบนบานศาลกล่าวต่อหน้าอนุสาวรีย์ ให้ท่านช่วยให้พ้นความเดือนร้อน และ พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ต่างก็ได้รับความสมหวังกันทั่วหน้า และได้มาแก้บนตามที่ตนบนบานไว้ ส่วนมากก็จะแก้บนด้วย อาหารคาวหวาน สุรา การชกมวย ฟันดาบ และตีไก่ ต่อหน้าอนุสาวรีย์ มีพ่อแม่ของเด็กหนุ่มที่เตรียมจะเกณฑ์ทหาร ได้จุดธูปเทียนบนบานขออย่าให้ลูกเป็นทหาร แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์มากก็คือ ใครก็ตามที่ได้บนบานขออย่าให้ลูกเป็นทหารนั้น ลูกชายของเขาเหล่านั้นทุกคนต้องจับใบแดงได้เป็นทหารกันทุกคน คงจะเป็นเพราะท่านเป็นทหาร ท่านชอบทหาร ท่านเลยดลบันดาลให้ลูกชายของเขาเหล่านั้นเป็นทหารรับใช้ชาติกันซะเลย

ในหนังสือที่ระลึกงานพิธีมหจักรพรรดิ์ปลุกเสกเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ มีข้อความที่”ท่านพลโทสำราญ แพทย์กุล” บันทึกเรื่องราว ถึงเหตุการณ์อันเป็นที่น่าประทับใจอย่างที่สุด เกี่ยวกับพระยาพิชัยดาบหัก

ไว้ซึ่งมีความโดยย่อว่า เมื่อครั้งที่ท่านดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 ได้ไปเป็นประธานทอดผ้าป่าที่ วัดดอนขมิ้น อ.ท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ได้มีชายผู้หนึ่ง ซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อน นำผ้าไตรจีวร กับเงิน และแหวนมามอบให้ พร้อมกับกล่าวว่าพระยาพิชัยดาบหัก สั่งให้นำมาร่วมอนุโมทนาบุญในครั้งนี้ด้วย ส่วนแหวนให้เก็บรักษาไว้และจะได้พบกับเจ้าของแหวนในไม่ช้านี้ ท่านพลโทสำราญ แพทย์กุล ตอนนั้นท่านดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 จึงสอบถามดู ก็ปรากฏว่าชายผู้นั้น มาจากสำนักทรงแห่งหนึ่ง ในเมืองกาญจนบุรี ซึ่งได้สร้างความงุนงง และประหลาดใจแก่ท่านเป็นอันมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ท่านย้ายมาดำรงตำแหน่ง เป็นแม่ทัพภาคที่ 3 และได้ เดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เห็นรูปอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ที่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ ความรู้สึกนั้นได้วูบขึ้นมาทันทีว่า “นี่เองหนอ คือเจ้าของแหวนที่ชายผู้นั้นนำมามอบให้ “ ท่านจึงได้เกิดความประทับใจและเชื่อมั่นมาในทันทีว่า ถึงแม้ ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก จะถึงแก่ อสัญญกรรม ไปนานแล้ว ท่านยังส่งกระแสวิญญาณ และอิทธิฤทธิ์ มาให้กำลังใจ ห่วงใย ลูกหลานชาวไทย และปกป้องผืนแผ่นดินไทยอยู่เสมอ

จะขอกล่าวประวัติของพระยาพิชัยดาบหักโดยย่อดังนี้ ท่านมีนามเดิมว่า จ้อยหรือนายทองดี ฟันขาว เกิดในปลายสมัยอยุธยา ราว พ.ศ. 2284 ที่บ้านห้วยคา เมืองพิชัย (ปัจจุบัน เป็นอำเภอหนึ่ง ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ) ไม่สามารถทราบนามบิดา-มารดาได้ ศึกษาเรียนหนังสืออยู่กับพระครูวัดมหาธาตุ (วัดใหญ่ ) มีอุปนิสัยรักการต่อสู้ในเชิงแม่ไม้มวยไทยและเชิงดาบ ต่อมาเกิดมีเรื่องกับนายเฉิดลูกชายเจ้าเมืองพิชัย

จึงเป็นเหตุให้ต้องหนีออกจากเมืองพิชัย ไปเผชิญชีวิตด้วยความลำเค็ญขณะมีอายุได้ 15 ปี ได้ท่องเที่ยวไปตามหัวเมืองต่าง ๆ และฝึกหัดเพลงมวยเชิงแม่ไม้มวยไทยไปด้วย โดยเรียนวิชามวยกับครูเที่ยง ที่บ้านแก่ง เป็นคนแรก โดยบอกกับครูเที่ยงที่บ้านแก่งว่า ชื่อนายทองดี เพราะกลัวว่าเจ้าเมืองและบิดามารดา จะรู้แล้วถูกติดตามตัวไปรับโทษ เนื่องจากคนสมัยนั้นนิยมกินหมากกันทุกคนแต่ท่านไม่กินหมาก ผู้คนทั่วไปจึงเรียกท่านว่า นายทองดีฟันขาว เรียนวิชามวยกับครูเที่ยง จนเจนจบทุกกระบวณท่าแม่ไม้มวยไทย จากครูเที่ยงจนหมดไส้หมดพุง เลยทีเดียว แล้วนายทองดีฟันขาวก็ลาครูเที่ยง ไปเรียนวิชามวยกับครูเมฆที่ท่าเสา เป็นคนที่สองเรียนกับครูเมฆ ในระหว่างที่นายทองดีฟันขาวอยู่กับครูเมฆ ได้มี โจรผู้ร้ายเข้ามาลักควายของครูเมฆ ได้ตามจับโจรผู้ร้าย จนทันจนเกิดการต่อสู้กับโจรผู้ร้ายเข้ามาลักควาย นายทองดีฟันขาว ใช้ดาบฟัน โจรผู้ร้าย ตายไป 1 คน นับว่าเป็นศพแรกจากเชิงดาบของท่าน และอีก 3 คนถูกจับส่ง กรมการเมืองบางโพธ์ เพื่อดำเนินคดี ทำให้ครูเมฆ รักใคร่ นายทองดีฟันขาว เหมือนลูกหลานในใส้ ถ่ายทอดวิชาชั้นเชิงแม่ไม้มวย ไทย อย่างไม่มีการปิดบังอำพรางใดๆทั้งสิ้น เรียนวิชามวยกับครูเมฆจนจบ ครูเมฆสอนวิชาให้จนหมด วิชาที่จะสอนให้แล้ว ท่านก็ลาครูเมฆไปเรียนวิชาชั้นเชิงเพลงดาบที่สำนักดาบเมืองสวรรคโลก ร่ำเรียนกับครูดาบ จนเป็นผู้เชี่ยวชาญมีฝีมือชั้งเชิงฟันดาบอันเลื่องลือที่สุดในสมัยนั้น จนเป็นที่ยอมรับของครู ดาบสำนักเมือง สวรรคโลก จากนั้นท่านก็ได้ลา ครู ดาบสำนักเมือง สวรรคโลก มาฝึกหัดมวยจีน กับครูมวยจีนแต้จิ๋วที่วัดธานี ในเมืองสุโขทัย นายทองดีฟันขาวนั้นขวนขวายไฝ่หาวิชาความรู้ ในชั้นเชิงการต่อสู้ ที่จะแสวงหาวิชาการต่อสู้มาใส่ตนเองเสมอ นายทองดีฟันขาวจึงมีฝีมือทั้งชั้นเชิงแม่่ไม้มวยไทย และชั้นเชิงในเพลงดาบอันเลื่องชื่อระบือไกล จึงมีเด็กหนุ่มวัยรุ่นขอเรียนวิชาการต่อสู้ ชั้นเชิงแม่่ไม้มวยไทย และชั้นเชิงในเพลงดาบกับนายทองดีฟันขาว จำนวนมาก ในขณะนั้นก็มีเด็กชายบุญเกิด อาศัยอยู่ที่วัดธานีมาขอตัวเป็นศิษย์และเป็นบุตรบุญธรรม นายทองดีฟันขาว และเป็นคู่ทุกข์ คู่ยากกับท่านในภายหลัง ต่อมามีได้มีพ่อค้า คนจีนคนหนึ่ง ต้องการหาเพื่อนเดินทางไปเมืองตาก ด้วยกัน จึงมาชวนนายทองดีฟันขาวและนายบุญเกิดไปเป็นเพื่อนร่วมทางด้วยเส้นทางระหว่างเมืองสุโขทัยไปเมืองตากสมัยนั้นมีเสือชุกชุมเป็นอันมาก ในระหว่างทางที่พักแรมเสือได้เข้ามากัด นายบุญเกิด แล้วลากนายบุญเกิดเข้าป่า นายทองดีคว้าดาบได้ก็วิ่งไล่ตามเสือไป ได้ต่อสู้กับเสือช่วงจังหวะเสือปล่อยนายบุญเกิดแล้วกระโจนเตรียมจะตะปบและอ้าปากจะกัดนายทองดีๆใช้ดาบแทงสวนเสือเข้าปากเสือบาดเจ็บ หนีไป นายทองดีแบกนายบุญเกิดกลับมารักษาพยาบาลได้ วันต่อมามีชาวบ้านไปพบเสือนอนตายในลักษณะมีดาบปักคาปากคอเสือ เกือบมิดด้าม ต่อมารู้ว่านายทองดีสู้กับเสือด้วยดาบเล่มเดียวโดยใช้ดาบต่อสู้เสือเพียงดาบแค่เล่มเดียวเท่านั้น กิตติศัพย์ของนายทองดี ได้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว จนแพร่ ไปถึงเมืองตาก เมื่อถึงเมืองตากก็มาพักอยู่วัดแห่งหนึ่ง ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ท่านยังมียศเป็น พระยาตาก เป็นเจ้าเมืองตากอย่ ู่ได้นำข้าราชการ มาทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ที่วัดแห่งนี้ของเมืองตาก ทางวัดได้จัดงานมีการแข่งขันชกมวยขึ้น โดยมีพระยาตากสินเป็นประธาน นายทองดีจึงเปรียบมวยได้คู่ต่อสู้คนหนึ่ง แต่ ่ได้มีคนไปบอกนายทองดีว่าคู่ชกของนายทองดีเป็นครูมวยมีอิทธิพลนิสัยนักเลงมากและมีพรรคพวกมาก ถึงแม้จะชกชนะเขาได้ก็จะเดือดร้อนเป็นอันตราย ไม่ปลอดภัย นายทองดีฟันขาว ไม่อยากจะมีเรื่องมีปัญหากับคนท้องที่ จึงเก็บตัวเงียบที่กุฎิเจ้าอาวาสของวัดนั้น ขณะที่ถึงคู่ชกของนายทองดีฟันขาว กรรมการได้ประกาศชื่ออยู่นาน ก็ตามหาตัวไม่พบ พระยาตาก(สิน)สงสัยว่าทำไมจึงไม่มาขึ้นสังเวียน ที่จะ ชกมวย จึงให้ทหารติดตามหาตัว ก็ไปพบที่กุฎิเจ้าอาวาส ของวัดนั้น เมื่อทราบว่าที่นายทองดีไม่ยอมมาชก ก็เพราะกลัวอิทธิพลของครูมวยคนนี้ เมื่อชนะคู่มวยคนนั้นแล้วพรรคพวก และลูกศิษย์ของครูมวยคนนั้นจะรุมทำร้าย พระยาตาก(สิน)ให้ทหารไปบอกให้มาชก และจะรับประกันความปลอดภัยให้ทั้งหมด นายทองดีจึงยอมมาชก ปรากฏว่าไม่ทันถึงยกนายทองดีก็ชนะอย่างงดงาม คือ สามารถน็อคครูมวยคนนั้นจบสลบเหมือด และเปรียบคู่ชกที่เป็นครูมวยอีกคนใหม่ เข้าชกมวยกับครูมวยที่มีฝีมืออีกคนหนึ่ง ไม่ทันสองยกครูมวยผู้นั้น ก็ถูกนายทองดีฟันขาว น็อคอีก พระยาตากได้ ให้เอาครูมวยในสังกัดท่านที่มีรูปร่างใหญ่กว่าเข้าชกกันใหม่ ไม่ทันสองยกก็แพ้อีก พระยาตากชอบใจว่าเป็นผู้มีฝีมือเยี่ยม หาผู้มาต่อสู้ ต่อกร ด้วยไม่ได้แล้ว สอบถามดูก็รู้ว่า คือผู้ที่ฆ่าเสือตายด้วยดาบเล่มเดียว และเคยเรียนรู้หนังสือมาก่อน และมีความรู้ด้วย พระยาตากเลยรับตัวไว้เป็นทหารใช้สอย และเป็นทหารเอกคนใกล้ชิดติดตามไปในการศึก(ข้อมูลจากhttps://th-th.facebook.com/media/set/?set=a.207020679316710.53417.117620594923386)
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน14,100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 07 ส.ค. 2557 - 21:01:15 น.
วันปิดประมูล - 09 ส.ค. 2557 - 01:42:31 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลfoodtech (773)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 07 ส.ค. 2557 - 22:58:20 น.

อีกนิดเดียวครับชั่วโมงนี้พระเปลือยๆหน้าตู้วางกันหมื่นกว่าแล้วครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 08 ส.ค. 2557 - 01:26:25 น.

อีก5เคาะรับไปเลยครับๆๆๆบล็อคนิยมสวยๆครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     14,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    pkimkrao (900)(3)

 

Copyright ©G-PRA.COM