(0)
ลูกอมผงพุทธคุณสีเทาหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องลูกอมผงพุทธคุณสีเทาหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
รายละเอียดลูกอมผงพุทธคุณสีเทาหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก วัตถุมงคลยอดนิยมอย่างหนึ่งของท่านคือ ลูกอม .... ลูกอมของท่านนั้นที่นิยมสุด หายากสุด คือ ลูกอมสีดำ รองลงมาคือ ลูกอมสีชมพู ที่มีทำออกมามากสุดคือ สีเทา แต่ก็ยังหาไม่ได้ง่ายๆนะครับ โดนสายตรงตามเก็บเข้ารังหมด ลูกนี้สีเทา ลูกนี้กลมได้สัดส่วน เนื้อหาแห้งสนิท และมีขนาดกำลังดีเปรียบเทียบกับเหรียญบาทตามภาพ จะเห็นความแห้งเนื้อและเม็ดมวลสารดำแดง ขาว ครบครันชัดเจน ดูสบายตา หลวงพ่อพริ้ง ท่านเป็นพระอาจารย์ องค์หนึ่งในจำนวนห้าองค์ของเสด็จเตี่ย กลมหลวงชุมพรฯ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 ลูกอมของท่านทำแห้งไม่ทันแจก ท่านก็เลยเอาก้อนกรวดบนลานวัดของท่านมาปลุกเสกแล้วแจกแทนก็มีคนนำไปใช้มีประสบการณ์ ลูกอมของท่านเป็นเนื้อเดียวกันกับพระสมเด็จที่โด่งดัง สมัยก่อนมีคนแขวนลูกอมของท่านเพียงอย่างเดียว โดนคู่อริยิง ๒ นัดระยะเผาขน แต่ก็ยิงไม่ออก ถือว่าพุทธคุณไว้ใจได้เลย
ขณะนี้พวกเรายังพอมีบุญมีวาสนาพอได้บูชาพระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆที่หลวงปู่พริ้งได้สร้างเอาไว้ คาดว่าต่อไปในภายภาคหน้าพระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆจะไม่มีเหลือให้คนธรรมดาสามัญแบบเราๆได้บูชากันอีกแล้ว มิควรปล่อยให้โอกาสหลุดมือครับ
หลวงพ่อพริ้งท่านเป็นพระอาจารย์อีกองค์หนึ่งของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ โดยได้รับการแนะนำจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จากหนังสือประวัติของหลวงพ่อพริ้ง ก่อนที่กรมหลวงชุมพรฯจะขอเป็นลูกศิษย์ ท่านได้ขอลองวิชาโดยครั้งแรกขอประคตที่หลวงปู่คาดมาทดลองยิง ปรากฏว่ายิงไม่ออก ครั้งที่สอง กรมหลวงชุมพรฯขอให้หลวงพ่อพริ้งปลุกเสกผ้าที่ทางกรมหลวงชุมพรฯนำมาด้วย ก็ยิงไม่ออกเช่นกัน ครั้งที่สามได้ขอให้หลวงพ่อปลุกเสกโดยไม่มีการจับของสิ่งนั้น และนำมายิง ผลคือยิงไม่ออกอีกเหมือนสองครั้งแรก คราวนี้ท่านจึงยอมรับนับถืออย่างหมดหัวใจ แถมพระโอรสของกรมหลวงชุมพรฯยังได้ไปบวชเป็นสามเณรอยู่กับหลวงพ่ออีกถึงสามพระองค์ด้วยกัน
ท่านพระครูประศาสน์สิกขกิจ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดบางปะกอก ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์ บูรณะ กทม. ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2413 ท่านเป็นชาวบางปะกอกโดยกำเนิด โยมบิดาชื่อเอี่ยม โยมมารดาชื่อสุ่น ท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่ยังเล็กๆ ที่วัดพลับ โดยอยู่กับพระน้าชายชื่อพระอาจารย์ดี ต่อมาเมื่ออายุครบบวช ท่านจึงอุปสมบทที่วัดทอง นพคุณ และต่อมาท่านได้ถูกนิมนต์ให้มาอยู่ที่วัดบางปะกอก อีก 2-3 ปีต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางปะกอก หลังจากนั้นก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์ และเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในยุคสงครามอินโดจีน สมณศักดิ์สุดท้ายที่ท่านได้รับก็คือ พระครูประศาสน์สิกขกิจ พระครูชั้นพิเศษ แต่ชาวบ้านมักเรียกท่านว่า หลวงพ่อพริ้ง
การศึกษาวิชาของท่านนั้นสืบไม่ได้ว่าท่านเรียนมาจากที่ใดเข้าใจว่าท่านคงศึกษา มาจากที่วัดพลับนั่นเอง หลวงพ่อพริ้งท่านมีชื่อเสียงทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม และทางหมอยา ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส วัดบางปะกอกใหม่ๆ ในย่านนี้มีนักเลงหัวไม้อยู่หลายก๊กงานวัดเมื่อไรก็จะมีการตีกันอยู่เป็น ประจำ ต่อมาเมื่อท่านเป็นเจ้าอาวาสแล้ว พวกนักเลงหัวไม้ต่างๆ ก็เกรงกลัวท่านไม่กล้ามาก่อเรื่องอีก บ้างก็ฝากตัวเป็นศิษย์หรือไม่ก็หายหน้าหายตาไปเลย
ในสมัยก่อนนั้นการ เดินทางไปยังวัดบางปะกอกยังยากลำบาก ต้องเดินทางโดยเรือพาย แต่ก็มีผู้คนมากมายเดินทางมากราบท่านอยู่เป็นประจำ ตลอดจนเจ้านายเชื้อพระวงศ์ต่างๆ เช่นเสด็จใน กรมหลวงชุมพรฯ ซึ่งท่านได้รับการบอกกล่าวมาจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ว่ายังมีพระอาจารย์ที่เก่งมีวิทยาคมสูงอยู่ทางบางปะกอก ซึ่งหลวงพ่อพริ้ง ครั้นต่อมาเสด็จในกรมฯ ท่านจึงได้มาลองวิชากับหลวงพ่อพริ้ง จนฝากตัวเป็นศิษย์ และนำพระโอรสมาบวชเป็นสามเณรกับท่านถึง 3พระองค์ นอก จากนี้ทหารเรืออีกมากมายก็เป็นศิษย์ของหลวงพ่อพริ้ง บางครั้งมีเรือจอดกันที่หน้าวัดแน่นขนัดไปหมด ผู้ที่เคารพเลื่อมใสหลวงพ่อพริ้งต่างก็มาขอของขลังบ้าง ลงกระหม่อมบ้าง รดน้ำมนต์บ้างเวลามีงานไหว้พระครูประจำปี ขบวนเรือจะจอดกันยาวเหยียดไปจนถึงปากคลอง ซึ่งจรดแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นระยะทางเกือบกิโล
หลวงพ่อพริ้งท่านได้สร้างพระเครื่องและเครื่องรางของขลังไว้หลายอย่าง เช่น ลูกอมเนื้อผง เหรียญรูปท่านปี พ.ศ.2483 พระเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ เช่น พิมพ์ไพ่ตอง พิมพ์พระคง และสมเด็จพิมพ์ต่างๆ ธงผ้ายันต์เชือกคาดเอว ตะกรุด ฯลฯ เป็นต้น พระเครื่องของท่านล้วนมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เมื่อครั้งตอนสงครามอินโดจีนพระเครื่องและเครื่องรางของท่านก็มีชื่อเสียง โด่งดังไปทั่ว
หลวงพ่อพริ้งท่านมักจะได้รับนิมนต์ให้เข้าร่วม พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ๆ ด้วยทุกครั้ง มีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระสังฆราชแพ นิมนต์หลวงพ่อพริ้งลงแผ่นทองคำเพื่อนำไปหลอมในการสร้างพระกริ่งของท่าน แต่ปรากฏว่าเมื่อช่างได้นำแผ่นทองแดงของท่านลงในเบ้าหลอมรวมกับแผ่นทองแดงของอาจารย์ท่านอื่นๆ มีแผ่นทองแดงที่ไม่หลอมละลายอยู่แผ่นหนึ่ง จึงนำขึ้นมาดูปรากฏว่าเป็นแผ่นทองแดงของหลวงพ่อพริ้ง จึงได้ทำการหลอมต่อ แต่ทำอย่างไรแผ่นทองแดงนั้นก็ไม่ละลาย ถึงกับต้องนิมนต์หลวงพ่อพริ้งมาจากวัด เมื่อท่านมากำกับ ปรากฏว่าแผ่นทองแดงนั้นละลายอย่างง่ายดาย ทำให้ชื่อเสียงของท่านขจรขจายไปอย่างกว้างขวาง
หลวงพ่อพริ้ง ท่านมรณภาพลงในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2490 ในวันที่ท่านมรณภาพนั้นท่านได้ให้ลูกศิษย์ประคองท่านลุกขึ้นนั่งแล้วท่านก็ ประสานมือในท่าสมาธิ ครู่เดียวท่านก็มรณภาพลง สิริอายุได้ 78 ปี เหรียญพระเนื้อผงและลูกอมของท่านนั้นปัจจุบันหายากนักครับ
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก หรือ '''ท่านพระครูวิสุทธิ ศิลาจารย์''' จัดเป็นอีกหนึ่งคณาจารย์ยุคเก่าที่มีลูกศิษย์ทุกระดับชนชั้นมากมายรวมทั้ง '''พระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักด์''' ก็ได้เสด็จไปฝากตัวเป็นศิษย์ของท่าน หลวงพ่อพริ้ง เป็นผู้มอบกระดูกหน้าผากนางนากให้เสด็จในกรมฯ ซึ่งมีความเฮี้ยนมากจนเป็นที่กล่าวถึงของพระโอรสและธิดา ซึ่งเสด็จเตี่ยบอกว่า ไม่ต้องกลัว และความเฮี้ยนของนางนากก็ปรากฏถึง ๒ ครั้งในตำหนักนางเลิ้ง............. ในเรื่องกระดูกหน้าผากของนางนากนี้ได้ปรากฏในงานเขียนประวัติของสมเด็จพระพุ ฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) รวบรวมโดย ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา พ.ศ.2473 บรรยายไว้ว่าหลังจากที่นางนาคออกอาละวาดหนัก สมเด็จพระพุฒาจารย์ท่านรู้เรื่องจึงลงไปค้างที่วัดมหาบุศย์และเรียกนางนาค ขึ้นมาคุยกัน ผลสุดท้ายท่านเจาะเอากระดูกหน้าผากของนางมาลงยันต์และทำเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ผีนางนาคก็ไม่ออกมาอาละวาดอีกเลย............. และในเรื่องนี้ สมบัติ พลายน้อย ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ค้นคว้าและเขียนเรื่องของแม่นาคสรุปเอาไว้ว่า กระดูกหน้าผากแม่นาคนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ประทานให้กับ สมเด็จหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต) และประทานให้ หลวงพ่อพริ้ง (พระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์) อีกต่อ จนมาถึงกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ไม่นานนักแม่นาคก็มากราบลา จากนั้นก็ไม่มีใครพบกระดูกหน้าผากของแม่นาคอีก............. จึงนับได้ว่าในยุคนั้นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้คณาจารย์ใด ๆ ในยุคเดียวกันเลย เนื่องจากหากหน่วยงานราชการในยุคนั้นมีพิธีพุทธาภิเษกที่สำคัญ ๆ แล้ว '''หลวงพ่อพริ้ง''' ก็จะต้องเป็นคณาจารย์อีกรูปหนึ่งที่ได้รับการนิมนต์ให้ไปร่วมพิธีทุกครั้ง ชื่อเสียงของท่านจึงขจรระบือไกล
ราคาเปิดประมูล50 บาท
ราคาปัจจุบัน1,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 15 พ.ย. 2556 - 20:15:59 น.
วันปิดประมูล - 18 พ.ย. 2556 - 06:38:24 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลทองเก้า (662)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    chchai (597)

 

Copyright ©G-PRA.COM