(0)
เหรียญครูอิน ครูบาตั๋น สองอริยสงฆ์ เชียงใหม่ครับ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญครูอิน ครูบาตั๋น สองอริยสงฆ์ เชียงใหม่ครับ
รายละเอียดเถระประวัติหลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ต.ยางคราม อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่

หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ แห่งสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ท่านเป็นพระมหาเถระ ที่มีอายุกาลพรรษามากที่สุด อันดับต้นๆ ของภาคเหนือ ปัจจุบันชื่อเสียงของท่านนั้น เริ่มเป็นที่รู้จักของคนหมู่มาก ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ วัตถุมงคลที่ได้ผ่านการอธิฐานจิตจากหลวงปู่นั้น ล้วนมีประสบการณ์ เป็นที่ประจักรในหลายๆด้าน ทั้งเมตตา ปกป้องคุ้มครอง และประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปราถนาในหลายๆด้าน ท่านได้รับการยกย่องในเรื่องปฏิบัติภาวนา สมถะ และมีศีลธรรม กัมมัฏฐาน เป็นที่เด่นชัด ในเรื่องของความเป็นพระแท้ ปฏิบัติตามแนวทางวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างแท้จริง จากพระคณาจารย์ชื่อดังของทางภาคเหนือและภาคอื่นๆ หลายต่อหลายท่านคร่าวๆ เช่น หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง( พระที่ได้รับการยกย่องจากพระเกจิอาจารย์มากมายในความเก่งกล้าในเรื่องวิชาคาถาอาคม ถึงขนาดที่หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม สั่งให้ลูกศิษย์มาขอเรียนต่อวิชากับครูบาอิน ) , หลวงปู่ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม ( พระอรหันต์ต๋นเมตตาแห่งวัดร้องขุ้ม เจ้าตำหรับเทียนเศรษฐีล้มลุกอันโด่งดัง ) , หลวงปู่บุญจันทร์ วัดถ้ำผาผึ้ง ( พระกัมมัฏฐานศิษย์สายพระอาจารย์มั่น ) ทั้ง ๓ รูป นี้ปัจจุบันได้ละสังขารแล้ว และอัฐิธาตุของพระคณาจารย์ทุกท่านได้แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุทุกรูป และ ยังมีสหายธรรมอีกหลายรูปเช่น หลวงปู่ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม , หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี , หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน . หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง , พระครูขันตยภรณ์ สุสานไตรลักษ์ และ พระคณาจารย์อีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ้ยนาม ทุกรูปล้วนเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั้งหลาย ปัจจุบันนี้หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ มีอายุได้ ๙๘ ปี พรรษาที่ ๗๗ ท่านเป็นพระ ที่มีจริยาวัตรอันงดงาม ปฏิบัติตนอยู่ในศีล ในธรรม ปฏิบัติตนตามคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเคร่งครัด ท่านเป็นพระมหาเถระที่อยู่อย่างสมถะ เรียบง่าย ไม่ยึดติด ไม่ฝักใฝ่ ในตำแหน่ง หรือยศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ ทั้งสิ้น คงมุ่งเน้นแต่แนวทางปฏิบัติ ตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ เพื่อความหลุดพ้นเท่านั้น วัตรปฏิบัติของท่านเน้น ปฏิบัติทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ถือภาวนาพุธโธเป็นหลัก หลีกเร้นความวุ่นวาย จะเห็นได้ว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านไม่ยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง วัดต้นสังกัดของท่าน ทั้งๆที่ท่าน มีความอาวุโส และความพร้อมในทุกด้าน แต่แล้วท่านกลับเลือกที่จะย้ายขึ้นมาอยู่ที่ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นแทน ถ้าจะเปรียบเทียบความสะดวกสบาย ของสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ในสมัยก่อนนั้นย่อมสู้ที่วัดศรีแดนเมืองไม่ได้แน่นอน จุดประสงค์ในการเผยแพร่เถระประวัติในครั้งนี้ เพื่อเป็นการบูชาคุณ หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ พระมหาเถระที่มีอายุกาลพรรษาสูงที่สุดในดินแดนล้านนาในปัจจุบัน และเพื่อเป็นการเผยแพร่บารมีธรรมของหลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ไม่ให้หายสาบสูญ และให้คงอยู่บนดินแดนล้านนาสืบไป

เถระประวัติ
หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ มีนามเดิมว่า ตั๋น นามสกุล คำมูล โยมบิดาชื่อ พ่ออุ้ยหม่อนปั๋น คำมูล โยมมารดาชื่อ แม่อุ้ยหม่อนคำเอ้ย คำมูล ท่านเกิดเมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๗ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๐ จุลศักราช ๑๒๗๖ ปี ขาล (เสือ) ไทภาษาว่าปี กัดเป้า ณ.หมู่บ้านแสนคำ หมูที่ ๑๐ ตำบลทุ่งปี๊ อำเภอสันป่าตอง ( ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแม่วาง ) จังหวัดชียงใหม่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน จำนวน ๖ คน
๑. แม่อุ้ยมูล คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
๒. แม่อุ้ยมา คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
๓. พ่ออุ้ยคำ คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
๔. หลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ( เจ้าของเถระประวัติ )
๕. พ่ออุ้ยทา คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
๖. พ่ออุ้ยทอง คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
ปัจจุบันบรรดาพี่น้องทั้งหมดของหลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วทุกท่าน

ฝากตัวเป็นเด็กวัด
พ่ออุ้ยหม่อนปั๋น แม่อุ้ยหม่อนคำเอ้ย คำมูล ท่านเป็นคนขยัน หมั่นแพ่วถาง ครอบครัวของท่านจึงมีที่ดินที่นาทำกินเป็นจำนวนมาก และถือได้ว่าเป็นครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย เป็นอันดับ หนึ่งของ ตำบลทุ่งปี๊ ท่านมีอาชีพเกษตรกรรม ดำเนินชีวิตด้วยการทำไร่ ทำนา เลี้ยงบุตร ธิดาตามประสาชาวบ้านทั่วไป เมื่อครั้งยังเยาว์วัยนั้น เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้ใช้ชีวิตเหมือน เด็กชาวบ้านทั่วไป ช่วยบิดาทำไร่ ทำนา พ่ออุ้ยหม่อนปั๋น โยมบิดา ท่านชอบทำบุญเข้าวัด ทุกคราวที่ไปวัดท่านก็จะพา เด็กชาย ตั๋น คำมูล ติดตามไปด้วยทำให้ เด็กชาย ตั๋น คำมูล มีจิตใจฝักใฝ่ในทางบุญ บวกกับ บุญวาสนาที่ได้เคยสั่งสมมาแต่เมื่อชาติที่แล้วทำให้ สนใจศึกษาหลักธรรม คำสอน เด็กชาย ตั๋น คำมูล จึงขอลาบิดา มารดา เข้ามาฝากตัว เป็นศิษย์วัดที่ วัดมะกับตองหลวง สมัยนั้น ท่านครูบาปัญญา เป็นเจ้าอาวาส วัดมะกับตองหลวง เด็กชาย ตั๋น คำมูลก็ได้คอยศึกษาเล่าเรียน ปัดกวาดเช็ดถู มิได้ขาด เมื่อ เป็นศิษย์ วัดมะกับตองหลวงได้ ประมาณปีเศษ เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้ไปเที่ยวเล่นที่วัดศรีแดนเมือง เพื่อนเด็กวัดรุ่นเดียวกัน ก็เลยชักชวนเด็กชายตั๋น คำมูลมาเป็นศิษย์วัด ที่วัดศรีแดนเมือง ตำบล ยางคราม อำเภอ จอมทอง ( ปัจจุบันอยู่ อำเภอดอยหล่อ ) จังหวัดเชียงใหม่ สมัยนั้น พระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ เป็นเจ้าอาวาส เด็กชาย ตั๋น คำมูล ก็ลาเจ้าอาวาสวัดมะกับตองหลวงมา อยู่ที่วัดศรีแดนเมือง ตอนนั้น เด็กชาย ตั๋น คำมูล อายุได้ ๑๓ ปี ฝากตัวเป็นศิษย์วัด กับพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ เจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ท่านพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ ได้อบรมสั่งสอน เด็กวัดทั้งหลายให้มีระเบียบวินัย เด็กชาย ตั๋น คำมูล คอยปฏิบัติรับใช้ ด้วยความอ่อนน้อมเชื่อฟัง จึงเป็นที่รักของ พระอธิการสุพันธ์ (จันทร์) สุวันโณ ประกอบกับอุปนิสัยของ เด็กชายตั๋น คำมูล นั้นมีความอดทน อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เผื่อแผ่แก่เพื่อนฝูงเด็กวัดด้วยกัน และ ชอบหาความสงบ อยู่ลำพังเพียงผู้เดียว เป็นเด็กที่ซื่อตรงต่อหน้าที่ และ ก็ยังได้เรียนอักขระพื้นเมืองไทยล้านนาไปด้วย แต่ก็เรียนไปด้วยความยากลำบากยิ่งเพราะ ความจำไม่ค่อยดี ก็เลยเป็นที่ล้อเรียนของเพื่อนเด็กวัดด้วยกัน แต่เด็ก ชายตั๋น คำมูล ก็มีจิตเป็นสมาธิตั้งมั่น อาศัยจิตตั้งมั่นนี้ ในการจดจำร่ำเรียน และยังติดตามพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ ไปจาริกธุดงค์ เหนือจดใต้ ไปบูรณะวิหาร และก่อสร้างมณฑปยังวัดจอมแจ้ง อำเภอ แม่วาง ( สมัยนั้นยังไม่เป็นวัด )ร่วมกับครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ( ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ อาจาร์สอนกัมมัฏฐานหลวงปู่ครูบาตั๋นท่านเดินธุดงค์มาจาก บ้านป่าเหียง กองงาม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นพระกัมมัฏฐานสายป่าซางล้านนาขนานแท้ ยุคเดียวกับครูบาเจ้าศรีวิไชยนักบุญแห่งล้านนา พระคณาจารย์ที่ถือปฎิบัติสายนี้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมีดังนี้ ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง , ครูบาพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้า , หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง เป็นต้น ต่อมาท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ –๒๔๘๔ ท่านเป็นพระที่เคร่งในศีลในธรรมเน้นปฏิบัติ ทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน อย่างเด็ดเดี่ยว ) เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้ปฏิบัติรับใช้ท่านพระ คุณเจ้าทั้งสอง มิได้ขาด และ ยังคอยศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมอยู่ตลอด เวลา ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ท่านได้เห็นความขยันหมั่นเพียรความ อดทน มีมานะ ของ เด็กชาย ตั๋น คำมูล ประกอบกับท่านก็ยังไม่มี ศิษย์คอย อุปัฏฐากรับใช้ ท่านจึงได้ขอเอาเด็กชาย ตั๋น คำมูล ที่ติดตามอุปัฏฐากมากับ พระอธิการสุพันธ์( จันทร์ ) สุวันโณ ให้อยู่กับท่านเสียที่ วัดจอมแจ้ง บ้านนาทราย อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เด็กชาย ตั๋น คำมูล จึงได้มาเป็นศิษย์คอยดูแลอุปัฏฐาก ถวายตัวรับใช้ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

บรรพชาเป็นสามเณร
พอล่วงมาถึงเวลาอันควรแล้วที่เด็กชาย ตั๋น คำมูล ควรแก่การบรรพชาบวชเป็นสามเณร พระอธิการสุพันธ์ (จันทร์) สุวันโณ ท่านก็ได้เดินทางไปหาท่าน ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ที่วัดจอมแจ้ง ( อำเภอแม่วาง) เพื่อเอาความนี้ไปปรึกษากับ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พระคุณเจ้าทั้งสองเมื่อปรึกษากันก็ได้เห็นว่า เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้รับการศึกษาอักขระวิธี ท่องจำบท สวดมนต์ทำวัตร ท่องบทสวดมนต์ ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน และบทสวดมนต์ ตำนานมงคลสูตร มหาสมัยสูตร สามารถอ่านเขียนอักขระล้านนา และภาษาไทยได้ จึงได้ปรึกษากันว่า เด็กชาย ตั๋น คำมูล มีภูมิความรู้พอที่จะบรรพชาเป็นสามเณรได้ ในขณะนั้นเด็กชาย ตั๋นมีอายุได้ ๑๕ ปี การบวชสมัยนั้น ก็ทำกันง่ายๆ คือการบวชห่อหมาก ห่อพลูเท่านั้น มีภิกษุ ๕ รูปโดยมี พระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวัน เสาร์ ที่ ๑๑ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลา ๑๑.๑๕ น. ตรงกับวันแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๒ จุลศักราช ๑๒๙๑ เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว สามเณร ตั๋น คำมูล ได้ศึกษาเล่าเรียนภูมิธรรมความรู้ทาง พระพุทธศาสนาวิปัสสนา กัมมัฏฐาน และ อักษรไทยล้านนา ที่สำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู ( ปัจจุบันนี้เป็นสำนักสงฆ์ป่าน้ำฮู หมู่ที่ ๒ บ้านหนองเย็น ตำบลทุ่งปี้ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ) ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ท่านเป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ และ มีพระภิกษุอีก ๔ รูป ประกอบด้วย ๑. ท่านครูบาบุญตัน สุวัณโณ ( เจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง)๒. ตุ๊ลุงอ้าย วัดโทกหัวหมา เขตจอมทอง ๓. ตุ๊ลุงมา เมืองฝาง ๔. พระปัญญาโม่ง วัดจอมแจ้ง สามเณรอีก ๔ รูป ๑. สามเณรตั๋น คำมูล ( ครูบาตั๋น ปัญโญ ) แม่อาวหน้อย ๒. สามเณรคำ จันทร์แดง ( พระครูขันตยาภรณ์ ) วัดดอยแก้วหนองเย็น ๓. สามเณรคำไฮ ลูกลุงเหมา บ้านปง ๔. สามเณรขาว ( น้อยขาวบ้านต้อ ) ลูกลุงมาเปี้ย ฆราวาสมี ๕ คน ๑. พ่อแก้ว จันทร์แดง ๒. พ่อน้อยกันทะ พรหมแสน ๓. พ่อลุงเหมาบ้านปง ๔. พ่อแก่แก้ว บ้านปงสนุก ๕. พ่อลุงมาเปี้ย เจ้าหน้าที่โรงครัว ได้ศึกษาพระ กัมมัฏฐาน ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นเวลา ๓ พรรษา และร่วมจาริกธุดงค์แสวงบุญไปในเขตแดนต่างๆ กับท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ และ ท่านได้เห็นว่า สามเณรตั๋น คำมูล ได้ปฏิบัติตัวตามพระธรรมคำสอน ฝึกวิปัสสนาธรรม กัมมัฏฐาน ทั้ง สมถะ มีศีลหมดใส จึงสมควรแก่เวลาที่สามเณรตั๋น คำมูล จะออกจาริกธุดงค์ไปยังเขตแดนต่างๆ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมด้วย น้อยพรหมมินทร์ บ้านหนองบอน น้อยกันทะ พรหมเสน บ้านหนองเย็น และ พระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ วัดศรีแดนเมือง ได้นำพระภิกษุสามเณร จำนวน ๒๓ รูป รวมถึง สามเณรตั๋น คำมูล ร่วมเดินจาริกธุดงค์ ลัดเลาะป่าเขา ดอยสูง มีสัตว์น้อยใหญ่ แรด กวาง ฟาน กระทิง และช้าง เดินเลาะเข้าไปในป่า เพื่อไปศึกษาคัดลอก พระธรรมคัมภีร์ ครั้งนั้นเมื่อต้อง พักแรมกลางป่า สามเณรตั๋น คำมูล และ สามเณรอีกรูปได้นำ ถ้วย ชาม บาตร และช้อน ที่ฉันเสร็จไปล้าง และด้วยความที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สามเณรตั๋นและ สามเณรอีกรูป ก็ได้นำช้อน เอามาลอยเป็นเรือเล่น พอครูบาเจ้า บุญเป็ง อภิวงศ์เห็นเข้าท่านก็ได้บอกให้สามเณรทั้งสองว่า ไม่ควรเล่น มันไม่ดี มันจะเกิดอาเภท สามเณรทั้งสอง ก็หยุดเล่น พอตอนพลบค่ำก็เป็นจริง ดั่งคำที่ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ท่านได้กล่าว ตกดึกก็ได้ยินเสียงคำรามของเสือ ดังใกล้เข้ามาที่พักเรื่อย ๆ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็ได้ให้สามเณรทุกรูปมาสวด บทสวดกะระณียะเมตตะสุตตัง ( บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ) พอสวดได้สักพักเสียงคำราม ของเสือก็เริ่มไกลออกไป จนไม่ได้ยิน แต่ไม่มีใครกล้าออกมา พอรุ่งเช้าก็ออกมาดู เห็นรอยเท้าเสือรอบๆบริเวณที่พักเต็มไปหมด หลังจากนั้นทั้งคณะก็เดินทางลัดเลาะ ป่าเขามาถึงวัดแม่อวม พระบาทเมืองกาง ล่องมาถึงวัดพระธาตุศรีจอมทอง เพื่อกราบนมัสการพระธาตุศรีจอม ทอง เมื่อกราบนมัสการเสร็จ แล้วจึงเดินทางกลับมายังสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู

หลวงปู่ครูบาตั๋น กับ พระครูวรวุฒิคุณ หลวงปู่ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง

ครั้งแรกที่ครูบาตั๋นได้สนทนาธรรมกับหลวงปู่ครูบาอิน คือเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ขณะนั้น ได้มีศรัทธาญาติโยมนำโดย คุณเจนจิตร ดาวเจริญ เป็นเจ้าภาพสร้างกุฏิหลังใหม่ ถวายให้แก่ ครูบาตั๋น ปัญโญ และ ได้นิมนต์พระสงฆ์จำนวน ๙ รูป เพื่อมาสวดเจริญ พระพุทธ-มนต์ โดยมี หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ได้มาเป็นประธานถวายกุฏิให้ครูบาตั๋น ปัญโญ ในครั้งนี้ เมื่อเสร็จงานท่านทั้งสองก็ได้มานั่งพูดคุยกัน ถามไถ่ถึงสารทุกข์สุกดิบ ความเป็นอยู่ และ สุขภาพร่างกาย ของกันและกัน และนับตั่งแต่วันนั้น ท่านครูบาทั้งสองก็มักจะไปมาหาสู่กันโดยตลอด และพระคุณเจ้าทั้งสองก็มักจะได้เจอกันตามงานบุญ หรือ งานพุทธาภิเษกต่างๆ อยู่เสมอ หรือถ้าหลวงปู่ครูบาอินท่านมีงานอะไร ท่านก็มักจะให้ลูกศิษย์มานิมนต์ ครูบาตั๋นอยู่เสมอ และครูบาตั๋น ท่านก็จะรับนิมนต์อยู่เสมอ ไม่เคยขาดเช่นกัน หลวงปู่ครุบาอิน ท่านมักจะเอ่ยกับศรัทธาญาติโยมที่มาทำบุญกับท่านอยู่เสมอว่า ยังมีพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อยู่อีกองค์นะ อยู่ที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นอยู่เลยวัดทุ่งปุยไป ๗ กิโล ท่านเป็นสหายธรรมแนวลึก เป็นพระปฏิบัติ ที่หลีกเร้นผู้คน เก็บตัวอยู่แต่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นอย่างสันโดษ ไม่ค่อยจะรับนิมนต์ออกไปไหน ให้ไปกราบ ไปไหว้เสีย หากไม่มีท่านแล้วอย่าลืม ครูบาตั๋น ปัญโญ วัดม่อนปู่อิ่นนะ นี้เป็นสิ่งที่คนที่ไปกราบไปทำบุญกับท่าน มักจะได้ยินหลวงปู่ครูบาอินท่าน แนะนำให้ไปกราบครูบาตั๋นอยู่เสมอ ถึงแม้ปัจจุบันนี้หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ท่านจะได้ละสังขารไปแล้ว แต่บารมีธรรม และ ความเมตตาของหลวงปู่ครูบาอินนั้นยังคงอยู่ไม่มีวันเสื่อมคลาย และอัฐิของท่านก็ได้กลายเป็นพระธาตุไปแล้ว ซึ้งตามความเชื่อของชาวพุทธ หากพระสุปฏิปันโน ท่านใด อัฐิได้กลายไปเป็นพระธาตุแล้ว นั้นแหละเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า พระสุปฏิปันโน ท่านนั้นได้สำเร็จ เป็นพระอรหันต์เรียบร้อยแล้ว แล้วคำพูดของพระอรหันต์นั้นย่อมไม่ธรรมดาแน่นอนครับ
ราคาเปิดประมูล50 บาท
ราคาปัจจุบัน100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 11 พ.ย. 2556 - 01:03:16 น.
วันปิดประมูล - 12 พ.ย. 2556 - 11:21:24 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลnewzalagun (1.8K)(2)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Tupear (74)

 

Copyright ©G-PRA.COM