(0)
*** โอมเพี้ยง จัดไปครับพี่น้อง *** @ แม่ชีบุญเรือน พระพุทโธพิมพ์กลาง เนื้อผงปูนเสกรุ่นแรกปี 2494 ( คุณแม่บุญเรือน ได้อธิษฐานจิต ) @







ชื่อพระเครื่อง*** โอมเพี้ยง จัดไปครับพี่น้อง *** @ แม่ชีบุญเรือน พระพุทโธพิมพ์กลาง เนื้อผงปูนเสกรุ่นแรกปี 2494 ( คุณแม่บุญเรือน ได้อธิษฐานจิต ) @
รายละเอียด*** โอมเพี้ยง จัดไปครับพี่น้อง *** @ แม่ชีบุญเรือน พระพุทโธพิมพ์กลาง เนื้อผงปูนเสกรุ่นแรกปี 2494 ( คุณแม่บุญเรือน ได้อธิษฐานจิต ) @

- พระพุทโธน้อยพิมพ์กลางเนื้อผงปูนเสก พิเศษมีกิ่งก้านช่อมะม่วงอธิษฐานของคุณแม่ติดอยู่ที่องค์พระตรงฐานบัว พระสภาพสวยมากแบบมีหน้าตาจมูกโด่งติดชัดเจนและผิวพระแบบเดิมๆแก่เม็ดผงพุทธคุณขาวจำนวนมากด้วย พร้อมเลี่ยมทองอย่างดีค่าทอง 7000 บาท นน. 5 กรัม

- รับประกันพระแท้

- ขออนุญาตลงรูปเจ้าของเดิมคับ
- พระที่หลายท่านเคารพบูชาในความมีเมตตาของท่าน

- ประวัติคุณแม่บุญเรือน
คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม อุบาสิกาผู้มีพลังจิตมหัศจรรย์

“อิทธิปาฏิหาริย์” เป็นเรื่องที่ดูเหนือธรรมชาติ ชวนพิศวงสำหรับผู้ที่ยังอยู่ในวังวนของกิเลส สำหรับผู้ปฏิบัติทางจิตที่กำลังจะล่วงพ้นบ่วงกิเลส “ปาฏิหาริย์” ดูจะเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ปฏิบัติสามารถทำได้ทุกคน

ในอดีตกว่าหลายสิบปีที่ผ่านมา ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปคงจะเคยคุ้นชื่อของอุบาสิกาท่านหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวถึงอย่างมากสำหรับสานุศิษย์และคณะผู้ศรัทธา ท่านคือ “อุบาสิกาบุญเรือน โตงบุญเติม” ผู้สามารถบรรลุธรรมอันวิเศษสำเร็จ “จตุตถฌาณ 4” และ “อภิญญา 6” อันเป็นอานิสงส์สูงสุดแห่งชีวิต ปรากฏเป็นปาฏิหาริย์จนเลื่องลือในทางตาทิพย์ หูทิพย์ รู้วาระจิตผู้อื่น ล่องหนหายตัว สั่งฟ้า ห้ามฝน และใช้พลังจิตรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้คนทั่วไปจนหาย

อุบาสิกาบุญเรือน โดยทั่วไปคนที่เคารพท่านมักเรียกท่านว่า “คุณแม่บุญเรือน” เพราะความเมตตากรุณาที่ท่านมีให้กับทุกคนไม่เลือกชั้นวรรณะ อีกทั้ง กระทำตนเป็น “แม่” ของทุกคนที่ไปขอความช่วยเหลือจากท่าน เหมือนอย่างที่แม่คนหนึ่งที่ให้แก่บุตรธิดาของตนนั่นเอง

คุณแม่บุญเรือนท่านเป็นนักบุญ และเป็นผู้นำในการประกอบการทำบุญต่างๆ ที่เข้มแข็งแกล้วกล้าสามารถทุกอย่าง ทั้งยังเป็นผู้อบรมสั่งสอนและบรรยายธรรมให้บุคคลทั่วไปเข้าใจทราบซึ้งในธรรมได้อย่างดีเลิศ พื้นเพเดิมท่านเป็นชาวคลองสามวา อำเภอมีนบุรี จังหวัดพระนคร บิดา-มารดาชื่อ นายยิ้ม และนางสวน กลิ่นผกา วันที่ท่านได้ลืมตามองดูโลกเป็นครั้งแรกอันเป็นภพปัจจุบันของท่านนั้น ตรงกับวันอาทิตย์ เดือน 4 ปีมะเมีย ขึ้น 15 ค่ำ เวลา 11.20 นาฬิกา หรือนัยหนึ่งก็คือ วันที่ 10 มีนาคม พุทธศักราช 2437 ครอบครัวมีฐานะค่อนข้างยากจน บิดา-มารดาเป็นชาวสวน ซึ่งต่อมาครอบครัวได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่แถวตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี ท่านก็ได้เจริญเติบโตมาในละแวกนี้จนเติบใหญ่

ในวัยเด็กท่านได้รับการศึกษาพออ่านออกเขียนได้ ตามอัตภาพของสตรีเพศในสมัยก่อน แต่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการบ้านการเรือนเป็นอย่างดี เมื่ออายุได้ 15 ปี ท่านได้รับตำราหมอนวดและการฝึกอบรมจากอาจารย์กลิ่น หมอนวดที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ ท่านสนใจศึกษาจนแตกฉานจนกลายเป็นหมอนวดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก โดยท่านไม่เคยคิดค่านวดค่ารักษาแม้ครั้งเดียว แต่จะให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้อาจารย์กลิ่นตลอด

ด้วยมีนิสัยฝักใฝ่ในทางธรรมมาแต่เด็ก ได้รับการสั่งสอนให้รู้จักธรรมะในพระพุทธองค์จาก “หลวงตาพริ้ง” ซึ่งบวชเป็นพระอยู่ที่วัดบางปะกอก ผู้มีศักดิ์เป็นลุง พระสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น จนทำให้คุณแม่บุญเรือนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ฝักใฝ่ในบุญกุศล หมั่นเพียรในทางธรรมตลอดมา

เมื่อมีอายุในวัยครองเรือน คุณแม่บุญเรือนได้สมรสกับสิบตำรวจโทจ้อย โตงบุญเติม แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ภายหลังจึงรับเด็กหญิงมาอุปการะเป็นบุตรบุญธรรมคนหนึ่ง ขณะเดียวกันคุณแม่บุญเรือน ก็ยังมีโอกาสได้ปฏิบัติและศึกษาธรรมมากขึ้น โดยมีท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระรัชชมงคลมุนี” เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ (ในสมัยนั้น) เป็นพระอาจารย์สอนสมถะวิปัสสนากรรมฐานให้

ท่านเป็นผู้นำในการจัดตั้งคณะผู้ร่วมบุญในนาม “คณะสามัคคีวิสุทธิ” ซึ่งช่วยเหลืองานบุญงานกุศลต่างๆ ตลอดจน รักษาโรคภัยไข้เจ็บนานัปการด้วยอำนาจพระพุทธคุณแก่ทุกคนอย่างเต็มที่ ไม่เลือกชั้นวรรณะ ด้วยความเสียสละอันยิ่งใหญ่ และยึดถือหลักการบริจาคและการให้เป็นหลักสำคัญ ในที่สุดจนกระทั่งปี พ.ศ. 2470 ท่านก็เข้าสู่พระพุทธศาสนาอย่างเต็มตัวโดยการบวชชี โดยได้ลาสามีเพื่อมาบวชชีที่วัดสัมพันธวงศ์อยู่ระยะหนึ่ง แล้วลาสึกไป และเมื่อสามีถึงแก่กรรมแล้ว จึงมีศรัทธากลับมาบวชชีอีกในปี พ.ศ. 2482

ด้านอุปนิสัยนั้น ผู้ที่รู้จักคุณแม่บุญเรือนดีตั้งแต่อายุท่านยังน้อยอยู่ คงพอจะทราบได้ดีว่า ท่านเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยมารยาท คุณธรรมอันสูงส่ง มีอุปนิสัยเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณาปรานีแก่บุคคลที่รู้จักพบเห็นทุกคน แต่ทว่าท่านเป็นคนที่ค่อนข้าง “ดุเดือด โผงผาง และมีวาจาไม่อ้อมค้อมแบบขวานผ่าซาก” อยู่บ้าง พูดเสียงดัง กังวาล เด็ดขาด และจริงจัง หรือนัยหนึ่งก็คือพูดจริงทำจริงตลอดเวลา

งานบุญตามคติแห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งประกอบด้วยการทำทาน ถือศีล การภาวนา สวดมนต์ ฟังธรรม และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น คุณแม่บุญเรือน รัก ศรัทธา เลื่อมใส ปฏิบัติมาตั้งแต่อายุเริ่มวัยกลางคน ขณะยังครองชีวิตร่วมกับสิบตำรวจโทจ้อย ทีเดียว งานทำทานไม่ว่าจะเป็นทานต่อบุคคลธรรมดาทั่วไป หรือการถวายของแด่พระภิกษุสงฆ์ รวมทั้งการถวายอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ได้เพียรบำเพ็ญตลอดมาไม่ขาดสาย ท่านเป็นผู้รักการบำเพ็ญทานการกุศลตั้งแต่อายุน้อย ตลอดมาจนเติบใหญ่ และจนตลอดชีวิตของท่าน

คุณแม่บุญเรือน เคารพศรัทธาเลื่อมใสในคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างจริงจัง และเคร่งครัดตลอดเวลา ท่านฝึกจิตใจและความรู้สึกให้เป็นผู้ที่เต็มไปด้วยการเสียสละ ไม่นิยมการสั่งสม โปรดการให้เป็นหัวใจสำคัญ ตัดความรู้สึกด้านโกรธ รัก โลภ และหลง โดยสิ้นเชิง นับได้ว่าเป็นชาวพุทธที่สำคัญยิ่งผู้หนึ่ง ซึ่งยากจะหาผู้อื่นที่บำเพ็ญตนให้เท่าเทียมได้

การถือศีล คุณแม่บุญเรือนเคร่งครัดในศีล 5 วันธรรมสวนะยึดมั่นในศีล 8 แต่ชีวิตตอนหลังส่วนใหญ่ท่านถือศีล 5 เป็นประจำ การภาวนาอันประกอบด้วยสวดมนต์ ฟังธรรม และทำวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฝึกจิตให้สะอาดปราศจากมลทิน มีสมาธิแน่วแน่ เกิดปัญญาแจ่มแจ้งในธรรมอันวิเศษของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ได้เพียรบำเพ็ญปฏิบัติโดยสม่ำเสมอจนตลอดชีวิตของท่าน

ความเพียรในการฝึกจิตและเรียนรู้ทางธรรมของคุณแม่บุญเรือน ปรากฏเรื่องราวอันเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ ที่จะสำเร็จได้ก็ด้วยอำนาจสมาธิซึ่งเป็น “พลังจิต” อันมหัศจรรย์ จึงมีเรื่องเล่ามากมายจากคนเก่าแก่ และผู้ประสบเหตุเรื่องราวพิศวง อันเกิดจากอำนาจทิพย์ของอุบาสิกาท่านนี้

๏ ล่องหนหายตัว

จากนั้น เมื่อคุณแม่บุญเรือนบรรลุธรรมแล้ว ก็ได้นั่งกรรมฐานต่อไปอีก จนกระทั่งเวลาใกล้ตี 5 รุ่งเช้า ได้คิดถึงวัดสัมพันธวงศ์ จึงตั้งจิตอธิษฐานขอให้เข้าไปนั่งในศาลาวัดสัมพันธวงศ์ ซึ่งศาลานี้เป็นที่อยู่ของแม่ชีนักปฏิบัติธรรม คุณแม่เองก็เคยอาศัยบำเพ็ญธรรมที่ศาลานี้

พอสิ้นอธิษฐาน แล้วหลับตาลง ก็คล้ายกับหัวได้หกกลับไปเบื้องหน้า คล้ายกับตีลังกา เมื่อลืมตาขึ้นอีกครั้ง ก็ปรากฏว่าตัวเองได้เข้ามานั่งอยู่ในศาลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ทราบว่าเข้าศาลามาทางไหน และที่บ้านพักตำรวจกับศาลาวัดสัมพันธวงศ์ก็ไกลกันพอสมควร ขณะนั้น ประตูศาลาวัดยังคงปิดใส่กุญแจอยู่ คุณแม่บุญเรือนจึงได้ร้องเรียกให้พระภิกษุสามเณรซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น ช่วยไขกุญแจเปิดประตูให้ที

การล่องหนหายตัวจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง เป็นผลจากการปฏิบัติทางจิตจนได้ “อภิญญา” เมื่อเรื่องที่คุณแม่บุญเรือนหายตัวมาปรากฏอยู่ในศาลาวัด แพร่หลายออกไป ก็มีพระเณรเถรชี อุบาสกอุบาสิกาต่างก็มารุมล้อม โจษจันกันเซ็งแซ่ด้วยความตื่นเต้นอัศจรรย์ใจอย่างเหลือที่จะกล่าวได้ไปตามๆ กัน จนความนี้ได้ทราบถึง ท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระรัชชมงคลมุนี” เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ (ในสมัยนั้น) พระอาจารย์ผู้สอนกรรมฐานให้คุณแม่บุญเรือนเอง

ท่านจึงให้เชิญคุณแม่บุญเรือนไปสอบถาม และขอให้คุณแม่บุญเรือนแสดงปาฏิหาริย์หายตัวเข้ามาอยู่ในศาลาวัดให้เป็นที่แจ้งประจักษ์อีกครั้ง ซึ่งคุณแม่บุญเรือนก็ตอบรับ ขอทดลองดูอีกครั้งในเวลาใกล้รุ่งของอีกวัน คืนนั้นตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 แม่ชีฟัก เพื่อนปฏิบัติธรรม พักอยู่เป็นประจำที่ศาลานี้ ให้แม่ชีผู้อยู่ศาลาอีก 3 คนดูแลปิดประตูหน้าต่างลงกลอนให้เรียบร้อยอย่างแน่นหนา และดูให้รู้เห็นเป็นพยานด้วย คืนนั้นปรากฏว่าที่วัดสัมพันธวงศ์ก็เกิดการโกลาหลอลหม่านคึกคักตื่นเต้นกันน่าดู มีการจัดยามเฝ้าที่ประตูวัดทุกๆ ด้าน ถึงประตูละสองคน และมีการเดินสำรวจรอบศาลาวัดกันให้ขวักไขว่ทั้งคืน ชนิดมดแมงสักตัวเดินผ่านมา ก็ยากจะรอดพ้นสายตาไปได้

ส่วนที่บ้านพักตำรวจปทุมวัน คุณแม่บุญเรือนได้เข้าไปเจริญพระกรรมฐานตั้งแต่หัวค่ำ จนใกล้รุ่ง จึงอธิษฐานให้หายวับจากบ้านพัก เข้าไปปรากฏตัวในศาลาวัดสัมพันธวงศ์ได้เช่นเดียวกับคราวก่อน แต่คราวนี้ไม่มีลีลาอาการหกคว่ำคะมำหงายเหมือนคราวแรก นั่นคือพออธิษฐานเสร็จแล้วหลับตาลง พอลืมตาปั๊บ ตัวของคุณแม่บุญเรือนก็มานั่งเรียบร้อยอยู่ในศาลาทันที

เมื่อคุณแม่บุญเรือนปาฏิหาริย์มานั่งในศาลาเสร็จ สิ่งแรกที่หูได้ผัสสะกับเสียงที่มากระทบก็คือ เสียงอุบาสิกาคุยกันว่า “จะแจ้ง (สว่าง) แล้ว น่ากลัวไม่มาแล้วมั๊ง ?” ส่วนอีกรายก็ว่า “ไม่มาก็ดี...ถ้ามา...ฉันจะต้องไปเป็นลูกศิษย์ขอเรียนวิชากับเขาอีก !?”

เมื่อได้ฟังคำกล่าวเช่นนั้น คุณแม่บุญเรือนจึงร้องออกไปในทันใดว่า “เอ้า..! ใครอยากจะเป็นลูกศิษย์ฉัน...เชิญทางนี้...ฉันมาแล้ว !”
พวกที่คอยอยู่ก็แปลกใจ และแน่ใจว่าหายตัวผ่านเข้ามาได้จริงๆ และมองเห็นผลสำเร็จทางสมาธิที่มีแก่ผู้ปฏิบัติด้วยวิริยอุตสาหะ ต่อมาคุณแม่บุญเรือน ท่านได้อธิษฐานหายตัวจากศาลาไปเขาวงพระจันทร์ ท่านได้พบพระผู้วิเศษที่นั่น และได้รับพระธาตุ 1 องค์จากพระองค์นั้น กลับมาพระธาตุยังกำอยู่ในมือ เป็นพยานแก่ตัวท่านเองว่ามิได้ฝันไป


๏ ทิพยโสตญาณ (หูทิพย์)
อภิญญาในด้านหูทิพย์ของคุณแม่บุญเรือนนี้ มีบันทึกของคุณหญิงเงียบ บุนนาค เขียนไว้ว่า ครั้งหนึ่งคุณแม่บุญเรือน ไปรักษาโรคขาบวมให้น้องสาวคุณหญิงเงียบ บุนนาค ข้างวัดอนงคาราม ธนบุรี ตอนขากลับ น้องสาวคุณหญิงเงียบมอบค่ารถให้ 20 บาท คืนวันนั้นสามีของน้องสาวคุณหญิงกลับบ้าน ทราบว่าภรรยาจ่ายเงินค่ารถให้คุณแม่บุญเรือน 20 บาท (สมัยเงินแพง) เขาเอะอะว่า คุณแม่บุญเรือนเป็นหมอไม่จริง หลอกเอาสตางค์ พอรุ่งเช้า 6 โมงเศษ คุณแม่บุญเรือนไปถึงบ้านน้องสาวคุณหญิง ข้างวัดอนงค์ นำเงิน 20 บาท ไปคืนให้ บอกว่า “เป็นเงินของคุณผู้ชายเขา ดิฉันคืนให้ ดิฉันไม่โกรธคุณหรอก คุณต้องรับเงินนี้ไว้” นี่แสดงว่าคุณแม่บุญเรือนหูทิพย์ ได้ยินคำพูดของสามีน้องสาวคุณหญิงเงียบ พร้อมทั้งรู้วาระจิตของคนพูด ว่าหมายถึงตัวคุณแม่บุญเรือนที่ไปรักษาขาบวม คุณแม่จึงรีบนำเงินไปคืนให้ เพื่อรักษาน้ำใจของน้องสาวคุณหญิงและสามีมิให้ขุ่นข้องหมองใจ

- “พระพุทโธน้อย”
เป็นพระเครื่องขนาดเล็กที่ท่านสร้างขึ้นและอธิษฐานจิตให้ไว้แก่วัดอาวุธวิกสิตาราม ตำบลบางพลัดนอก ฝั่งธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2496 เป็นพระพิมพ์แบบครึ่งซีก กรอบทรงสามเหลี่ยม ด้านหน้า องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนือฐานบัวสองชั้น พระเกศเป็นมุ่นเมาลี พระนาสิกเป็นสันนูน พระเนตรเป็นเม็ดกลมนูน และพระหัตถ์ซ้ายถือหม้อน้ำมนต์ ส่วนด้านหลังมีอักขระขอมจารึกเป็นเส้นลึกอ่านว่า “พุทโธ”

๏ การวายชนม์ทิ้งร่าง
คุณธรรมอันสูงส่งของ “คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม” อุบาสิกาผู้ใจบุญท่านนี้ยิ่งใหญ่ ท่านเป็นผู้เสียสละ ชอบการทำบุญ ให้ทาน ไม่ยึดติดสะสมในทรัพย์สมบัติ มีแต่เป็นผู้ให้ตลอดมา และทั้งชีวิตท่านยังได้บำเพ็ญธรรมอย่างสม่ำเสมอตราบจนวาระสุดท้ายที่ท่านได้ จากโลกนี้ไปอย่างสงบด้วยโรคหัวใจ ไต และโลหิตจาง แม้จะมีลูกศิษย์ต้องการให้ท่านมีชีวิตอยู่ต่อโดยการอธิษฐานขอ แต่ท่านก็ไม่ทำ

ท่านบอกว่า “สังขาร ร่างกายและใจ หรือขันธ์ห้านี้ไม่ใช่ตัวของเรา มันเป็นเพียงเครื่องอยู่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น เป็นเรือนทุกข์ ท่านจึงต้องการออกจากเรือนทุกข์นี้”

คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ได้วายชนม์ทิ้งร่างไปเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2507 เวลา 11.20 นาฬิกา สิริอายุรวม 70 ปี และได้มีการบำเพ็ญกุศลฌาปนกิจศพ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ณ วัดธาตุทอง แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ คุณแม่บุญเรือน ท่านรู้สถานที่ วันและเวลาวายชนม์ทิ้งร่างไป โดยท่านให้ตั้งเวลานาฬิกาไว้ถึง 2 เรือนล่วงหน้า คือ 11.20 น.

รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
1. นิตยสารหญิงไทย เรื่องโดย สายทิพย์
2. หนังสือพิมพ์คม ชัก ลึก - 2006/11/20
เรื่องโดย พิสิษฐ์ จันทร์ศรี
3. http://www.phuttawong.net/

- ผู้ประมูลได้ หากโอนเงินแล้วกรุณาแจ้งทางโทรศัพท์หรือทางเมลบล็อก G-Pra
- กรณีผู้ประมูลได้เปลี่ยนแปลงที่อยู่ กรุณาแจ้งที่อยู่ใหม่ด้วยน่ะคับ

*** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาแวะชมหรือร่วมประมูลรายการนี้ ยังมีรายการอื่นที่น่าสนใจอีก สามารถดูได้โดยคลิกที่รูป ฆ้อน เลยคับ ***
ราคาเปิดประมูล13,999 บาท
ราคาปัจจุบัน18,999 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 30 ต.ค. 2556 - 23:10:11 น.
วันปิดประมูล - 09 พ.ย. 2556 - 23:14:00 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลwipura (568)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 30 ต.ค. 2556 - 23:11:05 น.



บัตรรับรอง (ด้านหน้า)


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 30 ต.ค. 2556 - 23:11:27 น.



บัตรรับรอง (ด้านหลัง)


 
ราคาปัจจุบัน :     18,999 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    chanthakhorop (43)

 

Copyright ©G-PRA.COM